ระนอง มาแปลก จัดงานแต่งงานบาบ๋า ย่าหยา 15 คู่ สืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น
ณ บ้านร้อยปีเทียนสือ อำเภอเมืองจังหวัดระนอง นายราชัน มีน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานในงานแถลงข่าวการจัดงานแต่งงานแบบบาบ๋า ย่าหยา ภายใต้โครงการส่งเสริมและยกระดับการท่องเที่ยวด้านประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดระนอง โดยมีนางพวงผกา เชาวน์ไวย วัฒนธรรมจังหวัดระนอง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดระนอง พ.ต.ท พงษ์นิรันดร์ ศรีกันหา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระนอง และอาจารย์แก้วตา เต็กเค่ง ร่วมแถลงข่าว
ข่าวน่าสนใจ:
- โครงการคุ้มครองเด็กเพื่อความปลอดภัยจากสื่อออนไลน์
- สุดยอดงานกฐินบุญต่อชีวิตคน พระอาจารย์เขียวทอดกฐินสามัคคีจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินและอุปกรณ์ทางการแพทย์มุลค่ากว่า5ล้านบาท
- "ทีเส็บ" และภาคีเครือข่าย ชวนคนไทยร่วมพลิกฟื้นเศรษฐกิจเชียงรายหลังวิกฤตน้ำท่วม
- นักแสดง"Endpresso ปณิธานหวานน้อย” ร่วมกิจกรรมที่สุราษฎร์ฯ
นายราชัน มีน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนองกล่าวว่า การนำทุนทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจังหวัดระนองมีบริบทที่ใกล้เคียงและเป็นวัฒนธรรมร่วมกับกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน มายกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวและระบบบริการพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ได้มาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยได้นำเอาทุนทางศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สืบเนื่องมานับตั้งแต่ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) เจ้าเมืองระนอง ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน ได้นำเอาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ อาหารการกิน สถาปัตยกรรม การแต่งกาย หรือประเพณีการแต่งงานแบบบาบ๋า ย่าหยา
ที่มีความสัมพันธ์กันมาแถบจังหวัดฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต พังงา ระนอง ตรัง เป็นต้น มาเป็นทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมและยกระดับการท่องเที่ยวด้านประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดระนอง ซึ่งถือเป็นการฟื้นฟูประเพณีเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดระนอง สร้างแรงบันดาลใจให้หนุ่มสาวรุ่นใหม่เกิดความสนใจประเพณีการแต่งงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ต่อยอด และยกระดับงานประเพณีที่สำคัญของชาวจีนไว้ ในดินแดนกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจของคนหนุ่มสาวและพี่น้องชาวจังหวัดระนอง ได้สัมผัสกลิ่นอายแห่งวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ในกิจกรรมการแต่งแบบบาบ๋า ย่าหยา
ทั้งนี้ กิจกรรมการการจัดงานแต่งงานแบบบาบำ ย่าหย่า (สาธิต จำลอง) ซึ่งกำหนดดำเนินการในวันที่ 9 สิงหาคม 2567 จำนวนคู่บ่าวสาว 15 คู่ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยมิติทางวัฒนธรรม สร้างภาพลักษณ์ และพัฒนาเพื่อรองรับงานด้านวัฒนธรรม นำสู่การยกระดับงานวัฒนธรรมให้ก้าวข้ามไปอีกขั้น อีกทั้งเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมร่วมในเรื่องของการแต่งกาย วิถีชีวิต การประกอบอาชีพตั้งแต่สมัยก่อน คือคนจีนที่อพยพมาอยู่ประเทศไทยของจังหวัดทางภาคใต้ฝั่งอันดามัน ภูเก็ต พังงา กระบี่ และระนอง จะประกอบอาชีพ ทำเหมืองแร่ ค้าขาย จนกระทั่งในเรื่องของวัฒนธรรมเกี่ยวกับการแต่งงานของคนไทยเชื้อสายจีนสมัยก่อน
การยกระดับการจัดงานประเพณีการแต่งงานแบบ บาบ๋า ยาหยา ตามที่รัฐบาลมีนโนบายในการนำ Soft Power โดยเฉพาะในส่วนของ 5F Food-อาหาร / Film-ภาพยนตร์ / Fashion-เสื้อผ้า,เครื่องแต่งกาย / Fighting-มวย / Festival-เทศกาลประเพณี มาขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันในระดับชาติ หรือนานาชาติได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: