ระนองสั่งด่านสัตว์คุมเข้มเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกพื้นที่รับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร
ระนอง-นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่7 ส.ค.2562 เป็นต้นไป สนง.ปศุสัตว์จังหวัดระนองร่วมกับด่านกักสัตว์ระนอง ได้เข้มงวดการเคลื่อนย้ายสัตว์ ชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร และโรคอื่นๆ รวมถึงเป็นการป้องปรามให้การเคลื่อนย้ายดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบกรมปศุสัตว์โดยเข้าร่วมกับด่านตรวจความมั่นคงทางทหาร มีจุดตรวจ จปร. และจุดตรวจพะโต๊ะ เป็นเป้าหมายหลัก
ข่าวน่าสนใจ:
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
- นนทบุรี กระบะเลี้ยวตัดหน้า จยย.พุ่งชน ร่างหนุ่มชาวลาวลอยก่อนตกกระแทกพื้นดับ
- จัดกิจกรรม โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน พื้นที่ อ.คลองหาด
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
นายโชตินรินทร์กล่าวต่อว่าปัจจุบันยังไม่พบโรคดังกล่าวในประเทศไทย เพราะมีมาตรการ เช่น การเข้มงวด กับการนำเข้าเนื้อหรือผลิตภัณฑ์จากสุกร จากต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น
ส่วนสุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการ ไข้ขึ้นสูง 40.5-42°C หนาวสั่น ผิวหนังสีแดง มีจุดเลือด โดยเฉพาะบริเวณใบหู พื้นท้อง โคนขาด้านใน หายใจหอบ ระยะแรกมีอาการท้องผูก ระยะต่อมาจะท้องเสียถ่ายเหลว และอาจพบอาการทางประสาทร่วมด้วยเช่น เดินโซเซ ขาหลังเป็นอัมพาต ไม่กินอาหาร ไม่ยอมเคลื่อนไหว และไม่มีแรง โดยสามารถติดได้ทุกช่วงวัย และมีโอกาสตายภายใน 2 สัปดาห์
การติดต่อและแพร่กระจาย ติดต่อได้โดยตรง จากการสัมผัสเชื้อสุกรที่ป่วยโดยตรง ติดต่อโดยอ้อม จากการสัมผัสอุปกรณ์และภาชนะ รวมถึงเศษอาหาร หรือสุกรอาจถูกกัดโดยเห็บอ่อนที่รับเชื้อมาแล้ว ซึ่งพบมากในสุกรป่า ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือการรักษาโรคเฉพาะ และหากระบาดขึ้นแล้ว โอกาสกำจัดเชื้อให้หมดไปนั้น ทำได้ค่อนข้างยาก และมักพบการระบาดซ้ำ ดังนั้นกรมปศุสัตว์จึงเข้มงวดกับการป้องกันอย่างจริงจังโดยออก 10 มาตรการ สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ดังนี้
1. ห้ามนำเศษอาหารจากครัวเรือนใช้เลี้ยงหมู2. ห้ามนำเนื้อหมูจากแหล่งอื่นเข้าไปกินในฟาร์ม
3. ห้ามให้สัตว์พาหะ เข้ามาในเขตฟาร์ม4. ห้ามบุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมฟาร์ม5. ห้ามนำอุปกรณ์หรือของใช้ส่วนตัวเข้าฟาร์ม6. ห้ามใช้รถขนส่งภายนอกเข้าเขตฟาร์ม7. ห้ามรถลูกค้าเข้ามาซื้อหมูที่ฟาร์ม8. ห้ามรับหมูทดแทนจากพื้นที่เสี่ยงเข้าฟาร์ม9. ห้ามนำน้ำภายนอกเข้าไปใช้ในฟาร์ม
10. งดนำหมูที่ป่วยหรือตาย ออกนอกฟาร์ม
หากพบสุกรในฟาร์มป่วยผิดปกติ หรือกรณีสงสัย ทำการแจ้งกรมปศุสัตว์ทันที โทร 063-225-6888 หรือบนแอปพลิเคชั่น DLD 4.0 สำหรับผู้บริโภค เรายังสามารถบริโภคเนื้อหมูได้เป็นปกติ ไม่เป็นอันตรายใดๆ เพียงแต่ต้องผ่านการปรุงสุก ก็ช่วยให้ปลอดภัยจากเชื้อ ASF รวมถึง เชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือยีสต์ชนิดอื่นๆ ได้ด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: