เอกชนระนอง ไม่ง้อสหรัฐฯตัดสิทธิ GSP เร่งหาตลาดค้าใหม่ ลุยท่องเที่ยว
ข่าวน่าสนใจ:
- นนทบุรี หนุ่ม 16 ขับเบนช์ เสียหลักเหินขึ้นไปคาอยู่บนรถ 6 ล้อรอดตายปาฏิหาริย์
- ชมรมโฮปฯ ร่วมกับชุมชน จัดกิจกรรม ซานตาโฮป แจกของขวัญให้กับเด็กในชุมชนกว่าพันชิ้น
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
ระนอง—ผู้ประกอบการระนอง เผยหากสหรัฐตัดสิทธิ GSP คาดส่งผลกระทบแต่ไม่วิตกเพราะทราบกันมานาน ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ปรับตัวด้วยการขยายตลาดใหม่ในยุโรป และจีนทดแทน พร้อมโยกฐานผลิตเข้าปักฐานประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดต้นทุนการผลิตสู้การแข่งขัน
นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ภาคเอกชนระนองคงได้รับผลกระทบหากสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิ GSP โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการประมง และกิจการต่อเนื่องจากประมง ประเภทโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ สัตว์น้ำแช่แข็ง ซึ่งส่วนใหญ่ตลาดใหญ่คือสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่สิ่งใหม่และที่ผ่านมาผลกระทบจากการกีดกันและการกดดันทางการค้าต่อกลุ่มประมงมีมาอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดคือเรื่องของบริหารจัดการแรงงานบนเรือประมงที่ถูกสหรัฐอเมริกากดดันอย่างหนักโดยเอาปัญหาการค้ามนุษย์มาเป็นตัวบีบให้มีการจัดระเบียบการทำประมงใหม่ ซึ่งถือว่าหนักหนาสาหัสที่สุดของชาวประมง แต่ตอนนี้ทุกคนต่างก็ผ่านมาได้ ส่วนปัญหา GSP เป็นเรื่องที่ทราบกันมาแล้วว่าสักวันหนึ่งไทยจะถูกตัดสิทธิเพราะเป็นไปตามขั้นตอนการพัฒนาประเทศหากเจริญขึ้น
สหรัฐอเมริกาก็จะเลิกการสนับสนุนทำให้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการในกิจการต่อเนื่องจากประมงได้ตื่นตัวมากว่า 10 ปี ในการหาตลาดการค้ากลุ่มใหม่ที่ไม่มี GSP เข้ามาเกี่ยวข้องเช่นยุโรป จีน ญี่ปุ่น ทำให้ขณะนี้ถือว่ารับมือการสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อีกประการสำคัญในช่วงที่ผ่านมาทางจังหวัดระนองประกาศทิศทางการการพัฒนาจังหวัดชัดเจนว่ายุคประมงกำลังจะเสื่อมถอยจากปัญหาทรัพยากรที่ลดลง แรงงานที่หายากมากขึ้น การปรับเปลี่ยนของประเทศเพื่อนบ้านในการอนุญาตการทำประมง และได้หันมาเดินหน้ายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและเมืองศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลแทน
นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ทางภาคเอกชนใน จ.ระนอง กำลังเป็นห่วงและกังวลมากที่สุด ไม่ต่างจากปัญหา GSP ซึ่งเป็นปัญหาระดับใหญ่ แต่ปัญหาใกช้ตัวคือปัญหาขาดแคลนแรงงาน และการเคลื่อนย้ายของแรงงาน ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจะมีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในไทยมากแต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ประกอบกับยิ่งขณะนี้มีปัญหาผลกระทบจากการประกาศใช้กฏหมายควบคุมแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ๆ อาจจะเร่งเร้าให้วิกฤติปัญหาแรงงานรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งแรงงานที่เข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านเริ่มพัฒนาฝีมือแรงงานตนเอง และบางส่วนเริ่มทยอยกลับประเทศจนทำให้แรงงานประเภทไร้ฝีมือเริ่มขาดแคลนอย่างเห็นได้ชัด
ทางผู้ประกอบการธุรกิจการค้า ,กลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมใน จ.ระนอง และต่างจังหวัด กำลังวิตกต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะจากการศึกษาข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าโครงสร้างประชากรของไทยที่พบว่าวันเรียน,วัยทำงาน และวัยเกษียณที่ไม่สมดุลกัน จากโครงสร้างที่พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรในวัยทำงานมากถึงร้อยละ 55 ในขณะที่วัยเรียนร้อยละ 28 และวัยเกษีณร้อยละ 17 จะเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาในอนาคตได้เป็นอย่างดีกว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้า หลังจากกลุ่มประชากรวัยทำงานซึ่งมีอายุระหว่าง 20-54 ปี เข้าสู่วัยเกษียณ จะมีประชากรที่อยู่ในวัยเรียนในปัจจุบันมีเพียงร้อย 28 เข้ามาทดแทน ทำให้ประชากรวัยทำงานที่เคยมีอยู่หายไปถึงร้อยละ 22 ซึ่งจะส่งผลต่อปัญหาขาดแคลนแรงงานในระดับที่รุนแรง ซึ่งปัจจุบันปัญหาดังกล่าวก็เริ่มปรากฏให้เห็นที่ไทยต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านกว่า 10 ล้านคนเพื่อเข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน แต่พบว่าก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: