จังหวัดน่าน พาชวนสงสัยหลังสัญจรบนถนนยามค่ำผ่านข้างวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร ตกลงจะให้เข้าใจหรือทำใจ แสงวิบวับ บนพระธาตุนี่คือสิ่งมหัศจรรย์ใช่หรือไม่จะได้เข้าใจตรงกัน
ข่าววันนี้ น่าน วันที่ 2 คุลาคม 2563 หลังมีผู้สงสัยสอบถามมายังผู้สื่อข่าว ว่าขับรถผ่านข้างวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มีแสงไฟกระพริบอยู่บนองค์พระธาตุ สงสัยว่าเป็นการประดับตกแต่งไฟ หรืออย่างไร
ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางลงพื้นที่ตามที่มีผู้สอบถาม ด้วยความสงสัยและไม่เข้าใจว่าเรื่องอะไร หลังเดินทางถึงถนนด้านหน้าคุ้มเจ้าหลวงตรงข้ามวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร พบสิ่งที่ผู้สอบถามมาถึงเรื่องแสงไฟกระพริบ จึงลองนั่งสังเกตระยะเวลาไฟกระพริบมีช่วงจังหวะที่เท่ากัน
จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นการประดับตกแต่งไฟเพื่ออะไรหรือยังไง หน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมหากจะทำหรือจัดทำสิ่งใด ที่มันแปลกประหลาดจากของเดิมที่เขามีอยู่ กรณุออกมาทำความเข้าใจกับพี่น้องชาวบ้านก่อน
แต่หากไม่ใช่การตกแต่งประดับไฟ ควรส่งเจ้าหน้าที่ที่ชำนาญการเข้าทำการตรวจสอบ ว่าสายไฟขัดข้อง หรือมีอุปกรณ์อะไรเสียหายก็ควรรีบแก้ไข เพราะนั้นคืออันตรายถึงตาย หรือจะรอให้เกิดอุบัติเหตุเสียก่อนหรืออย่างไร
สำหรับวัดพระธาตุช้างค้ำ เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง ตั้งอยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เยื้องสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ (สาขาน่าน) และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน ที่คอยดูแลเรื่องอารยสถาปัตย์ในเขตอำเภอเมืองน่าน ที่เคยแจ้งกับบางหน่วยงานหากทำการก่อสร้างใหม่
หรือทำสิ่งใดผิดจากสิ่งที่มีอยู่เดิมต้องไปขอมติจากคณะรัฐมนตรี ไฟกระพริบนี่หากเป็นการประดับตกแต่งต้องแจ้งไปขอมติคณะรัฐมนตรีด้วยหรือไม่ หากไม่ใช่ตอนค่ำหรือกลางคืนออกมาดูออกมามองวิถีชีวิตผู้คนยามค่ำคืนคงพบเห็นสิ่งผิดปกตินี้ที่เกิดขึ้นมาไม่ต่ำกว่า 2 เดือนมาแล้ว
สำหรับประวัติความเป็นมา วัดพระธาตุช้างค้ำ พญาภูเข่ง เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรงสร้างตามสถาปัตยกรรม ทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว
มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลางทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็กอยู่ด้านซ้ายและด้านขวามีทางขึ้นเป็นประตูเล็กๆ ตรงข้ามพระประธานด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้างทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้าและด้านหลังหน้าบันตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน
แล้วประดับที่ขอบเสาด้านหน้าทุกต้นตามลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวางมีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ขนาด 2 คนโอบรอบจำหลักลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลายกนกระย้าย้อยเหมือนลวดลายที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์
ภายในวัดประดิษฐานเจดีย์ช้างค้ำซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัยอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้นเพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลาคือพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนีซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซนติเมตร
ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ.2442 ด้วยทองคำน้ำหนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคาเป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธเดือน 6 เหนือ พ.ศ.1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎกใหญ่ที่สุดในประเทศ
พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีลิกธาตุไว้ภายในนับเป็นปูชนียสถานสำคัญเป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกาคือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์สร้างด้วยอิฐถือปูนมีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น
กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสองมีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือกรวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัวโผล่ส่วนหัวลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐานเหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชัน
และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆังทำเป็นฐานเขียงรองรับมาลัยลูกแก้วลดหลั่นกันไปเป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ และยามค่ำคืนยังมีไฟกระพริบเพิ่มความสวยงามได้เป็นอย่างมาก
77ข่าวเด็ด ประจำจังหวัดน่าน รายงาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: