จังหวัดน่าน เทศกาลโลกของกว่างนักสู้แห่งขุนเขา ประจำปี 2563 เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี อันดีของของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 17 ตุลาคม 2563 ที่สนาม สถานีขนส่งรถโดยสารเทศบาลอำเภอปัว ชาวชุมชนในพื้นที่หมู่บ้านและชุมชนต่างๆ ในพื้นที่อำเภอปัว ได้จัดขบวนแห่ริ้วขบวนที่สวยงาม เพื่อแสดงออกถึงวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของท้องถิ่น ในงานเทศกาลโลกของกว่าง นักสู้แห่งขุนเขา ประจำปี 2563
เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของชาวอำเภอปัว และจังหวัดน่าน อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี อันดีของของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป ซึ่งชมรมการท่องเที่ยวอำเภอปัว ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมและผู้ประกอยการท่องเที่ยว ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13–21ตุลาคม 2563 โดยมีนายอำเภอปัว เดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน
ข่าวน่าสนใจ:
- ททท.แถลงข่าวกิจกรรม Event Marketing ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา “แข่งขันวิ่งเทรลไตรบูรพาซีรีย์ 4 สนาม 3 จังหวัดภาคตะวันออก
- "มิชลินไกด์" เผย 20 ร้านใหม่ และ156 ร้านที่ได้รับรางวัล"บิบ กูร์มองด์" 2568
- หอการค้าไทยมอบ “ผู้ว่าสำเภาทอง” กระตุ้นเศรษฐกิจการค้าท่องเที่ยว พร้อมพัฒนาตลาดอินโดจีนที่ถูกแช่แข็งนาน เกือบ 6 ปี
- UNDP และ ม.อ๊อกซ์ฟอร์ด เผยวิจัยใหม่ แนะแนวทางยุติความยากจนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กว่าง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งบางท้องถิ่นเรียกว่า แมงคาม เนื่องจากธรรมชาติมันชอบคามกัน (คาม เป็นการต่อสู้ของกว่าง โดยเอาเขาประสานกัน คีบและดันกันไปมา) หรืออาจเนื่องมาจากมักพบแมลงชนิดนี้ อาศัยหากินอยู่ตามต้นคาม ที่มีขนาดประมาณเท่าหัวแม่มือหรือมีขนาดใหญ่กว่านั้นเล็กน้อย
มีขา 6 ขา และมีเขาทั้งชนิดที่มี สองเขา สามเขา หรือห้าเขา ที่ใช้เป็นอาวุธต่อสู้กันจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมแพ้และหลีกทางหนีไป ซึ่งบางครั้งตัวที่มีขนาดเท่าๆ กันใช้เวลาในการต่อสู้กันนานหลายชั่วโมง มันจึงได้รับฉายาว่า “นักสู้แห่งขุนเขา” กว่างมีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี
โดยเริ่มจากไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนอยู่ในดินตามโพรงไม้ ตอไม้ผุๆ หรือกองขี้เลื่อย เรียกว่า(แมงกั่นตู่) จากนั้นจะเป็นดักแด้ แล้วลอกคราบเป็นแมลงกว่างและออกจากดินบินออกมา หาคู่ผสมพันธุ์ วางไข่ในราวเดือน สิงหาคม-พฤศจิกายน แล้วตายไป
กว่างตัวผู้จะมีเขาสองเขา 5 เขา โดยใช้เขาล่างงัดและหนีบศัตรูเพื่อแย่งตัวเมียในการผสมพันธุ์ และขนาดของกว่างก็มีหลายสายพันธุ์ และมีหลายขนาด ตัวเล็กเขาสั้นเรียกว่า กว่างกิ ตัวปานกลางเขายาวปานกลาง เรียกว่า กว่างแซม ตัวใหญ่เขายาวเรียกว่า กว่างโซ้ง ส่วนตัวเมียไม่มีเขาเรียกว่า อีโม๊ะ หรือ อีหลุ้ม
ส่วนอาหารของกว่างตามธรรมชาติได้แก่เปลือกไม้ยางไม้ที่มีรสหวานเช่น ต้นคาม ต้นมะค่า เถารกฟ้าส่วนอาหารที่คนนิยมนำมาเลี้ยงกว่าง เช่น อ้อย กล้วย แตงไทย และเถาวัลย์ เป็นต้น
โดยแต่ละวันจัดให้มีการประลองกว่าง ที่ชาวภาคเหนือได้ถือเป็นการเล่น เพื่อผ่อนคลายหลังจากรอเวลาที่ต้นข้าวถึงเวลาจะเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นประเพณีอันเก่าแก่ของคนภาคเหนือ อีกทั้งเพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและดำรงรักษาให้คงอยู่ ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอปัว และของจังหวัดน่าน อีกด้วย
การเปิดงานเทศกาลโลกของกว่าง “นักสู้แห่งขุนเขา” ประจำปี 2563 ภายในงานได้จัด กิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจหลากหลายอย่าง อาทิ จัดให้มีการประกวดขบวนแห่จากหมู่บ้านต่างๆ การละเล่นพื้นบ้านและวิถีชีวิตของชนเผ่า การประลองชนกว่าง การประกวดกว่างสวยงาม การประกวดธิดากว่าง การแสดงนิทรรศการโลกของกว่าง และวงจรชีวิตของกว่าง
ตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน ได้นำสินค้าออกมาวางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องเงินราคาถูกของชาวชนเผ่าชาวไทยภูเขา และผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ้าทอมือพื้นเมืองนำมาจำหน่ายในงานด้วย ทั้งนี้หลังเสร็จสิ้นงานจะมีการปล่อยกว่าง กลับคืนสู่ป่าเพื่อเป็นการให้กว่างได้ขยายพันธุ์ต่อไป
77ข่าวเด็ด ประจำจังหวัดน่าน รายงาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: