การเชื่อมั่นในความดี คือสิ่งที่เราทุกคนต้องมี มาร่วมค้นหา “คนทำความดี” ที่เหมาะสมกับคำว่า “คนดี” ในเมืองน่านพร้อมกันกับเรา
ความดี ดีงาม หรือ คนดี ก็เป็นคำที่ถูกยิบยกมาพูดถึงเสมอในภาวะการณ์ต่างๆ ทั้งการนำเสนอของสื่อมวลชนเอง และเมื่อคำว่า “ความดี” หรือ “คุณธรรม จริยธรรม” มันกลายเป็น คำอธิบายที่ทั้งมีพลัง ขณะเดียวกันทำให้เกิดปัญหา มากที่สุดคำหนึ่ง เมื่อบรรทัดฐาน ทางจิตใต้สำนึกของเราแตกต่างกัน
คนดีเป็นเพียงมโนภาพ ทางเจตคติที่หวังให้มนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม ตั้งตนเป็นสัตว์ที่ประเสริฐเลิศกว่าสัตว์อื่นๆ ไม่ให้ข่มเหงรังแกพวกเดียวกัน รวมทั้งสัตว์อื่นๆ จากความถือตนว่าตัวตนเป็นศูนย์กลางของจักวาล ก่อเกิดปัญหามากมาย จากการที่กลุ่มคนหรือบุคคล ที่สามารถชี้นำสังคมได้ ไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่าสิ่งไหนคือความดี ทำตนแบบไหนถึงชื่อว่า “เป็นคนดี” ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูจากสังคม เกิดการสร้างต้นแบบใช้เป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นกระทำตาม ผู้เขียนหลงชอบคำนี้ “น่านตื่นรู้” แต่ก็นะ ตื่นรู้หรือตื่นมารับรู้ว่าคนทำไม่ดียังได้เป็นนักการเมืองเลย
มโนภาพทางสังคมที่มีแต่คนดีไม่สามารถมีอยู่จริง
แต่จะทำอย่างไร คนทำความดีถึงจะมีที่ยืนอยู่ในสังคมได้ คนดีนั้นมีเครื่องบ่งชี้คือ “ความดี” ยังเป็นความหวังในคำสอนทุกศาสนา ประวิติศาสตร์เมืองน่านตั้งแต่บรรพกาลผ่านมา อยู่ร่มเย็นเป็นสุขเพราะนำพระพุทธศาสนาเข้าสถิตคู่ อัตลักษณ์นครรัฐน่าน มาแต่ครั้งอาณาจักรสุโขทัย ผ่านกาลสมัย จากเมืองวรนคร,ภูเพียงแช่แห้ง,นันทบุรี,นครน่าน,จวบจนปัจจุบันคือจังหวัดน่าน คนทำความดี ก็ปรากฏมีมากมาย ปัจจุบันสังคมต่างค้นหา คนดี ด้วยจิตสำนึกสรรสร้างเมืองน่าน ตามมโนภาพที่อุดมด้วยผู้คนดีงาม ให้มากมายเหมือนสายน้ำน่านคอยไหลเติมเต็มให้ทุกชีวิตผาสุก มิเหือดแห้งในหน้าแล้ง ขณะเดียวกัน 77ข่าวเด็ดน่าน เกิดข้อสงสัยนิยามของการตัดสินว่า คนนี้คือ “คนดี” คือใช้กฎเกณฑ์อะไรเป็นตัวชี้วัด ทั้งศึกษาค้นคว้าและสอบถามถึงความหมายจากท่านผู้รู้ หลายกลุ่มสังคม ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ในฐานะเป็นผู้นำสารเผยแผ่ เพราะหากรู้ถึงความหมายที่แท้จริงจนแยกแยะออกได้ว่าอันไหนคือ ดี เด่น ดัง เราจึงสามารถชี้นำได้ว่าทำอย่างคนนี้ เพราะนั้นคือคนดี ไม่ใช่คนเด่น หรือคนดัง และแน่นอนการนำเสนอ “คนทำความดี” เพื่อค้นหา “คนดี” ย่อมไม่ใช่นโยบายสื่อแต่ละแห่ง เพราะสังคมไม่สนใจ สื่อเอง ก็เสนอสิ่งที่คนสนใจเพื่อพาตัวเองอยู่รอด จึงต้องเสนอแต่ข่าวอาชญากรรมจากนิสัยใครรู้เกินพอดีของคน เกิดการเลียนแบบทำสิ่งต่างๆ ตามข่าวอาชญากรรม ที่อธิบายถึงวิธีการทำของอาญชญากร หรืออัตวินิบาตกรรม จึงเกิดกระแสสังคมทั้งกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ สื่อสร้างสรรค์ สื่อปลอดภัย ฯลฯ หวังให้สังคม เชิดชูความดี ก็ยังค้นหาบุคคลที่สามารถชี้ชัดได้ว่านั้นคือคนดี หน่วยงานต่างๆ ก็เฝ้าจากใบประกาศยืนยันรับรองว่าคนนี้คนนั้นคนดี สังคมปัจจุบันการสื่อสารรวดเร็วการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารไม่เหมือนสิบปีที่ผ่านมา หากการชี้ชัดรับรองไม่ทำเพื่อว่านั้นคือคนดี แต่นั้นคือคนเด่น เด่นในที่นี้คือคนรวย คนฉลาดตามบทการเรียนการสอน คนดังคือคนมากบารมี เกิดอะไรกับสังคม ขนาดโดนไล่ออกจากราชการยังเป็นนักการเมืองได้เลย ไม่ต้องเป็นคนดีหรอกเรียนเก่งก็เป็นข้าราชการชั้นสูงได้เขารวยนะดูอย่างเขาช่อราชบังหลังทำสิ่งผิดกฎหมาย บริจาคเงิน เขาก็ได้ใบประกาศรับรองแล้วว่าเป็นคนดี ข้อสังเกตที่ว่า ก็รับมาจากมุมมองของแต่ละคนในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากแง่มุมที่มีเกียรติบัตรรับรอง กำหนดนิยามคนต้นแบบให้สังคนทำตนตามได้ ก็คงต้องค้นหากันต่อไป ชั่วชีวิตนี้ต้องมีสักวันที่คำตอบ
คุณความดี จากบุคคลที่สร้างสรรค์สังคมผ่านยุคสมัย สร้างสรรค์อารยธรรมสืบทอดส่งต่อมา ทั้งทราบกันดีว่าเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือทั้งสกุล ณ เชียงใหม่,ณ ลำพูน,ณ ลำปาง สืบตระกูลจากเจ้าเจ็ดตน เป็นราชวงศ์เจ้านายฝ่ายเหนือครองนครเชียงใหม่ตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
เจ้าสยามประเทศ มีพระบรมราชจักรีวงศ์ ปกครองมาตั้งแต่ พ.ศ.2325 แต่ราชวงศ์ “ทิพจักราธิวงศ์” ผู้ครองนครฝ่ายเหนือ เป็นนครเอกราชนั้นมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2275 ระหว่างปี พ.ศ.2272-2275 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าบรมโกฏิ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ล้านนาไทยเกิดการจราจล รบราฆ่าฟันกันทั่ว หาความสงบสุขมิได้ นครลำปางมีแต่พ่อเมืองควบคุมกันเอง ปล่อยให้สถานการณ์เสื่อมทรามลงเรื่อย ๆ ทางนครลำพูน ก็ฉวยโอกาสให้ท้าวมหายศ ซึ่งเป็นพม่า ครองเมือง เป็นแม่ทัพคุมไพร่พลไปตีเมืองลำปางได้
พระอธิการวัดชมพู พระสงฆ์ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวลำปาง จึงคบคิดกับพ่อเมือง กอบกู้บ้านกลับคืนมา กลุ่มผู้ที่ร่วมคิดร่วมกู้ชาติจึงพร้อมใจกันเลือก “หนานทิพจักรวเนจร” ราษฎรสามัญผู้มีสติปัญญากล้าหาญชาญชัย ทั้งเคยเป็น หมอโพนช้างป่ามาก่อน จนชาวบ้านตั้งสมญานามว่า “หนานทิพช้าง”
หนานทิพช้าง นำไพร่พลออกรบกับท้าวมหายศ ซึ่งตั้งกองทัพอยู่ที่วัดลำปางหลวง ต่อสู้กันจนที่สุดท้าวมหายศแตกพ่ายหนีไป เมื่อสิ้นสงคราม ชาวเมืองลำปาง จึงสถาปนา หนานทิพช้างขึ้นเป็น “เจ้าพระยาสุละวะฤาชัยสงคราม” เป็นผู้ครองเมืองลำปาง ปี พ.ศ.2275
เจ้าพระยาสุละวะฤาชัยสงคราม ตั้งราชวงศ์ของพระองค์ขึ้นเรียกว่าราชวงศ์ “ทิพจักราธิวงศ์” หลังครองเมืองลำปางได้ 27 ปี ก็ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ.2302
เจ้าชายแก้ว ราชบุตรก็ขึ้นครองเมืองสืบมา จนกระทั่ง พ.ศ.2307 อิทธิพลของพม่าแผ่ขยายมาครอบครองภาคเหนือทั้งหมด ทั้ง เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน
พ.ศ.2325 หลังจากพระเจ้ากาวิละ ราชบุตรเจ้าฟ้าชายแก้ว ซึ่งเป็นหลานของพระยาสุลวะฤาชัยสงคราม ร่วมกับทัพของพระเจ้าตากสินมหาราช ได้สู้รบขับไล่พม่า ออกจากผืนแผ่นดินล้านนาแล้ว ได้รับการสถาปนาแต่งตั้งเป็น พระยาวชิรปราการ ทั้งให้ย้ายจากเมืองลำปางไปเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และตั้งเจ้าคำสม น้องชายคนที่ 2 ครองนครลำปาง กับตั้งเจ้าธรรมลังกา น้องชายคนที่ 3 เป็นอุปราชเมืองเชียงใหม่ ตั้งเจ้าดวงทิพย์ น้องชายคนที่ 4 เป็นอุปราชเมืองลำปาง ตั้งเจ้าหมูหล้า น้องชายคนที่ 5 เป็นเจ้าราชวงศ์ลำปาง และตั้งเจ้าคำฝั้น น้องชายคนที่ 6 เป็นเจ้าบุรีรัตน์เชียงใหม่ ในกาลต่อมาเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 นับเป็นต้นสายสกุล ณ ลำพูน มีพระบุตรสืบสายตระกูลถึง 44 องค์ ส่งต่อสร้างคุณูปการให้สังคมมากมาย ในเมืองน่านก็มี ณ ต่างๆ มากมาย ณ น่าน ณ ลำปาง ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน และ ณ อยุธยา ส่วน ณ เชียงราย กับ ณ แพร่ ถูกปลดออกตามที่ทราบกันในประวัติศาตร์ สำหรับบทความต่อไป ขอกล่าวถึง สายตระกูล ณ ลำพูน เป็นตระกูลแรกเพราะได้ประจักษ์เอง ทั้งตัวเองก็เป็นปลายแถวของ ณ ลำปาง แต่ทวดไม่ได้เอา ณ มาด้วยตอนอพยพมาจากลำปาง ก่อนตั้งถิ่นฐานที่สุโขทัย ติดตามต่อได้ ที่นี้ เร็วๆนี้
ที่มา สำนักงานราชบัณฑิตสภา วิกิพีเดีย สาราณุกรมเสรี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: