สามารถ แก้วมีชัย ลาออกจากกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย สะท้อนสนิมภายใน…! ;นายหัวไทร
แม้หญิงหน่อย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย จะออกกำลังเต็มเหนี่ยวหาเสียงเลือกตั้งซ่อมเขต 7 ขอนแก่น เพื่อให้ได้ชัยชนะเหนือพรรคพลังประชารัฐ และหวังปูพรมไปสู้สนามเลือกตั้งท้องถิ่น
แต่เบื้องหลังของพรรคเพื่อไทยมีเสียงกระซิบนินทากันหนาหูว่าเหมือนนายใหญ่จะลอยแพ ไม่ส่งท่อน้ำเลี้ยง เหมือนกับว่าส่งมาก็ไม่ได้อะไร เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้อยู่ในอำนาจรัฐ ส.ส.พรรคเพื่อไทยดูเงียบๆเหงาๆผิดไปจากแต่ก่อนที่มีคนเดินเข้าออกคึกคัก ทีมงานเคยเข้าไปในพรรคดูเงียบเหงาไปมาก
ข่าวน่าสนใจ:
- มทบ.32 เสริมกำลังเตรียมป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5
- นนทบุรี กระบะเลี้ยวตัดหน้า จยย.พุ่งชน ร่างหนุ่มชาวลาวลอยก่อนตกกระแทกพื้นดับ
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
ล่าสุดสามารถ แก้วมีชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นหนังสือต่อ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เพื่อขอลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการบรหารพรรคเพื่อไทยและรองหัวหน้าพรรคแล้ว
หนังสือลาออก ระบุเหตุผลว่า เนื่องจากมีเหตุผลความจำเป็นบางประการ ที่เห็นว่าการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยและรองหัวหน้าพรรคของผม คงไม่สามารถทำงานให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพได้ ผมจึงขอลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
สำหรับสามารถ แก้วมีชัย เคยทำงานที่การเคหะแห่งชาติ ก่อนจะลาออกไปเป็นนักธุรกิจก่อนจะเข้ามาทำงานการเมืองท้องถิ่น เป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเชียงราย และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ต่อมาจึงได้เข้าร่วมกลุ่มของนายยงยุทธ ติยะไพรัช และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาก็ได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทยพร้อมกันกับสมาชิกจากพรรคพลังประชาชนเดิม
สามารถ แก้วมีชัย เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โฆษกคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 จึงได้รับการเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 แทนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
สำหรับ นายสามารถ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2544 , 2548 , สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 , และเคยดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม,ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
จะเห็นว่าสถานการณ์ในแต่ละพรรคการเมือง ยังมีคนเดินเข้าและเดินออก แต่อยู่ที่ว่าคนเดินเข้าเดินออกคือใคร มีผลกระทบต่อพรรคการเมืองต้นสังกัดนั้นหรือเปล่า
อย่างนายแพทย์วรงค์ เดิชกิจวิกรม หรือพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ย่อมจะมีความหมาย เพราะเป็นบุคคลระดับคีย์แมนของพรรค เช่นเดียวกันกับสามารถ แก้วมีชัย ลาออกจากกรรมการบริหารคพรรคนเพื่อไทย ก็ย่อมมีความหมาย
ด้วยความเคารพ
นายหัวไทร
14 ธันวาคม 2562
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: