“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” โดยพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการ “วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง” มากกว่า GrabBike
“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” เกี่ยวกับการใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการสำรวจพบว่า
เมื่อถามถึงปัญหาที่พบมากที่สุดในการใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ
– ร้อยละ 43.69 ระบุว่า ความปลอดภัย (เช่น การขับรถเร็ว การขับขี่บนทางเท้า การขับรถย้อนศร และการข่มขู่ผู้โดยสาร)
– ร้อยละ 32.67 ระบุว่า การคิดราคาเกินจริง
– ร้อยละ 11.50 ระบุว่า ไม่เคยพบเจอปัญหาเลย
– ร้อยละ 5.51 ระบุว่า การปฏิเสธผู้โดยสารหรือการปล่อยผู้โดยสารลงกลางทาง
– ร้อยละ 4.79 ระบุว่า ผู้ขับขี่มีพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ เข้าข่ายอนาจารด้วยวาจาและการกระทำ
– ร้อยละ 1.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
– ร้อยละ 0.48 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ จำนวนวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างไม่เพียงพอต่อผู้ใช้บริการ
ความพึงพอใจต่อการเลือกใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ ระหว่าง “Grab Bike” กับ “วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง”
– ร้อยละ 65.58 ระบุว่า เลือกใช้บริการ “วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง” เนื่องจากสะดวกในการใช้บริการ (มีอยู่ทั่วไปในทุกชุมชน) ไม่จำเป็นต้องมี App Grab Bike และเป็นผู้ให้บริการหลักในพื้นที่นั้น ๆ (ผู้ให้บริการมีวินประจำ) มีความรู้จัก คุ้นเคย กับผู้ให้บริการ
– ร้อยละ 34.03 ระบุว่า เลือกใช้บริการ “Grab Bike” เนื่องจากสะดวกในการเรียกใช้บริการ (ผ่านแอปพลิเคชัน) ราคาตามระยะทางจริงที่คำนวณให้ทราบก่อนใช้บริการ และมีมารยาทในการขับขี่ที่ดี
– ร้อยละ 0.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ข่าวน่าสนใจ:
หาก Grab Bike ไม่สามารถขึ้นทะเบียนในการเป็นรถสาธารณะได้อย่างถูกต้อง จะใช้บริการหรือไม่พบว่า
– ร้อยละ 52.40 ระบุว่า ไม่ใช้บริการ เพราะ ชื่นชอบการใช้บริการวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างมากกว่า เนื่องจากสะดวก เรียกใช้ง่าย และไม่จำเป็นต้องเรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน
– ร้อยละ 43.77 ระบุว่า ใช้บริการ เพราะ สะดวกในการเรียกใช้บริการ มีมาตรฐาน ในการให้บริการ ทำให้เรียกใช้บริการด้วยความมั่นใจ และมีการกำหนดค่าโดยสารที่แน่นอนซึ่งถูกกว่าค่าโดยสารวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
– ร้อยละ 3.83 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
แนวทางที่จะทำให้ใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุด
– ร้อยละ 46.65 ระบุว่า มีการอบรมเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ ให้กับมอเตอร์ไซค์สาธารณะที่ให้บริการประชาชนทุกชนิด
– ร้อยละ 41.77 ระบุว่า มีการบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษที่เคร่งครัดกับมอเตอร์ไซค์สาธารณะที่กระทำความผิดทุกรูปแบบ
– ร้อยละ 36.10 ระบุว่า มีการกำหนดมาตรฐานราคาในการใช้บริการที่แน่นอน (ราคาตามระยะทางจริง)
– ร้อยละ 30.11 ระบุว่า อนุญาตให้ Grab Bike จดทะเบียนได้อย่างถูกต้อง
– ร้อยละ 28.51 ระบุว่า ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะอย่างชัดเจน
– ร้อยละ 25.24 ระบุว่า ควรมีหน่วยงานสุ่มตรวจคุณภาพการให้บริการมอเตอร์ไซค์สาธารณะอย่างสม่ำเสมอ
– ร้อยละ 2.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: