กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ลงนามความร่วมมือการใช้ข้อมูลบริการทางการแพทย์และสุขภาพ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่กทม.ให้ไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางการดำเนินงานของประเทศ
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยพลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร, นายแพทย์ อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้ลงนามความร่วมมือการใช้ข้อมูลบริการทางการแพทย์และสุขภาพ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ กทม. เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางของประเทศในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค
นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า ข้อตกลงนี้จะทำให้เกิดความร่วมมือในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลพื้นฐานข้อมูลบริการทางการแพทย์และสุขภาพระหว่างหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่กทม.และจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศตามโครงสร้างมาตรฐานระบบข้อมูลบริการทางการแพทย์และสุขภาพ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เพื่อให้เกิดระบบในการจัดการข้อมูลและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข จะเป็นผู้สนับสนุนด้านวิชาการ และระบบสารสนเทศ จัดทำคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพของกทม. รวมถึงให้บริการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ผ่านบริการ Smart Health ID ด้านสำนักระบาดวิทยา
ข่าวน่าสนใจ:
- "รัฐสภา" ร่วมสนับสนุนการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน “พระจักราวตาร”
- ครัวคุณต๋อยยกทัพ บุกขอนแก่น จับมือศูนย์การค้าเซ็นทรัล ขอนแก่น ขนร้านอาหารชื่อดังนับร้อย มาเสิร์ฟสายกิน 11 วันเต็ม 14 - 24 พ.ย.นี้
- วธ.จัด“ลอยกระทงวิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” น้อง“หมูเด้ง” Thai Cuteness ร่วมสร้างสีสัน
- รมว.ท่องเที่ยว ชวนลอยกระทง "สีสันแห่งสายน้ำฯ" สร้างสรรค์และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
กรมควบคุมโรคจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ และระเบียบวิธีการเฝ้าระวังและการรายงานสถานการณ์โรคและแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูล คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจะเป็นผู้สนับสนุนด้านวิชาการ และจัดทำฐานข้อมูลเฝ้าระวังโรคของประเทศเพื่อพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากรในการใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยาเพื่อติดตามสถานการณ์
ในส่วนของ กทม.มีหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของโรงพยาบาลในสังกัด เพื่อนำเข้าคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ ผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของโรงพยาบาล ส่วนคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จะเป็นต้นแบบการพัฒนาระบบส่งออกข้อมูลจากระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลเพื่อนำคลังข้อมูลทางด้านการแพทย์และสุขภาพไปใช้ประโยชน์จากและร่วมกับอนามัย และสำนักการแพทย์ ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพี่อติดตามสถานการณ์โรค
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: