มนุษย์ไฟฟ้า 3 จ.ภาคใต้ รวมพลัง ประชุมร่วมหารือ ก่อนเดินหน้าทวงถามความชัดเจนจาก ผู้ว่า กฟภ. ดีเดย์ 12 มิ.ย.นี้ หลังนัดรวมพลังเชิงสัญลักษณ์ด้วยการแต่งชุดดำไปก่อนหน้านี้ ปธ.สหภาพแรงงานฯ ชี้หากผลเจรจาไม่เป็นผลจะนัดรวมตัวแสดงพลังต่อต้านอีกครั้ง
วันที่ 6 มิ.ย.61 นายสมชาย อักษรภักดิ์ ประธานสหภาพแรงงาน กฟภ. ภาคใต้เขต 3 เปิดเผย 77 ข่าวเด็ดว่า การประชุมอนุกรรมการสหภาพฯ ได้เชิญ สมาพันธุ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) ภาคใต้ 7 จังหวัด มาร่วมประชุมกันที่ จ.พัทลุง โดยนำปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกภาคส่วน เกี่ยวกับ CAT ,TOT และการรถไฟแห่งประเทศไทย มาหารือเพื่อร่วมกันแก้ไขในนาม สรส. ว่า จะเริ่มต้นกันอย่างไร โดยมีการเชิญชวนพลังชาวบ้านเข้าร่วม ถึงขั้นเป็นจุดใหญ่ทั่วประเทศ
หลังจากนี้ ในวันที่ 12 มิ.ย.61 จะมีการนัดประชุมด่วนผู้บริหารการไฟฟ้าฯ ในตอนเช้า ส่วนตอนบ่าย สหภาพฯ ได้ขอเข้าพบผู้บริหารการไฟฟ้าฯ ในตอน 16.00 น. เพื่อพูดคุยสอบถามแนวคิดของผู้บริหารฯ ว่า เป็นเช่นไร และเอ็มโอยู ที่ลงนามในสัญญาร่วมกันเดือน มิ.ย.นี้ เป็นอย่างไร ซึ่งหากการพูดคุยไม่ชัดเจน ทางสหภาพฯ จะดำเนินการเคลื่อนไหวต่อไป
เบื้องต้น สหภาพฯ ได้ประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวผ่านสื่อโซเชียล ไลน์ และเฟซบุ๊ก ให้พนักงานการไฟฟ้ากว่า 3 หมื่นคนรับทราบโดยการแชร์ต่อๆ กันไป เพื่อให้ทราบความเป็นมาในการจัดตั้งบริษัท RPS เพื่ออะไร ซึ่งก่อนหน้านี้คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่มาวันนี้ไม่ใช่อีกต่อไป เพราะหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จจะกลายเป็นแนวทางในการจัดตั้งในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป และหากถึงเวลาต้องเคลื่อนไหว จะมีการระดมพนักงานทั้งหมด เหมือนที่เคยนัดกันแต่งชุดดำเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา
โดยมีแนวโน้มจะจัดประชุมใหญ่สามัญ สหภาพแรงงานภูมิภาค ซึ่งมีสมาชิกกว่า 3 หมื่นคน และเชิญชวนสมาชิกทั่วประเทศเข้าร่วมเพื่อหารือแนวทาง หรือการจัดประชุมในพื้นที่เกิดเหตุ 3 จังหวัด เพื่อหาแนวทางร่วมกัน และแสดงพลังให้ทางรัฐบาลได้เห็นว่าคนการไฟฟ้าฯ ไม่ต้องการ บริษัท RPS ที่ตั้งขึ้นมา โดยไม่ได้ทำเพื่อประชาชนที่แท้จริง มีการนำสาธารณูปโภคของรัฐบาล และทรัพย์สินของผู้ใช้ไฟ ซึ่งเป็นของพนักงานการไฟฟ้าทุกคนไปเป็นของเอกชน
ทั้งนี้ พนักงานทุกคนต้องการปกป้องสิ่งเหล่านี้ โดยมองว่า ทุกวันนี้เรามีไฟฟ้าให้ทุกครัวเรือนใช้ฟรี 50 หน่วยแรก และไฟส่องทางตามท้องถนน ซึ่งเป็นของรัฐ หากไปอยู่ในรูปแบบของบริษัทแล้ว สิ่งเหล่านี้จะยังมีอยู่หรือไม่ แล้วค่าไฟฟ้าที่ปรับขึ้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ทุกวันนี้อยู่แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ซื้อไฟฟ้าจากเอกชนมาหน่วยละ 6 บาท แต่มาขายขาดทุนให้ประชาชนในราคา 3 บาท และการขึ้นค่าเอฟทีก็เป็นไปตามรัฐบาลกำหนด
การเคลื่อนไหวในครั้งนี้ เป็นการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ ไม่ได้สร้างความรุนแรง เพราะเข้าใจกฎหมาย ม. 44 ของรัฐบาล แต่เราใช้สิทธิตามกฎหมาย มาตรา 43 ในเรื่องการปกป้ององค์กร หลังจากนี้ จะมีการขยายผลต่อเนื่องและรอสัญญาณผลประชุมผู้บริหารระดับสูง ในวันที่ 12 มิ.ย. ของผู้ว่าการฯ ว่าจะออกมาอย่างไร
ส่วนข้อความชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรจาก กฟภ.ที่ผู้สื่อข่าวได้รับมานั้น นายสมชาย กล่าวว่า จากข้อมูลที่ตนได้รับมา มีความขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง อาทิ ข้อมูลจีดีพี และผู้ใช้ไฟฟ้า 5 แสนราย ต้องไปอยู่กับบริษัท RPS , สิทธิ์ในการใช้สายส่งของ กฟภ. ภายใต้สัญญาระยะยาว ฯลฯ โดยคิดว่าการที่ กฟภ.เห็นชอบก่อนหน้านี้ ระยะเวลาผ่านมาทำให้มีตัวแปรเปลี่ยนไป ต้องมาดูความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจริง หลังมีกระแสคัดค้าน อยากให้รัฐบาลมองตัวอย่างในหลายประเทศที่มีการแปรรูปว่า เกิดผลเสียอย่างไรด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง //
มนุษย์ไฟฟ้า 3 จชต. “ช๊อค” หลังรัฐบาล เตรียมแปรรูป กฟภ.ใน 3 จชต. เป็นบริษัท ดูแลกิจการพลังงานในพื้นที่
เตรียมเดินหน้าคัดค้าน แปรรูปไฟฟ้าเป็นบริษัท งานนี้ใครได้ ใครเสีย??
มนุษย์ไฟฟ้ายะลา แสดงพลังคัดค้านการแปรรูปเป็นบริษัท ยันสู้โครงการอัปยศเต็มที่
ชมคลิป live สด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: