ปปง.มีมติสั่งยึดทรัพย์ 88 ล้านบาท อดีตข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กรณียักยอกเงินช่วยเหลือคนยากไร้
พล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการ(ปปง.) เปิดเผยมติคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า คณะกรรมการธุรกรรมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ ปปง. ตรวจสอบ ธุรกรรมและทรัพย์สินของกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมทุจริต ยักยอกเงินช่วยเหลือคนยากไร้ มีความเกี่ยวข้องกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)
ขณะนี้ ปปง.ดำเนินการตรวจสอบเเละพบว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ 3 ราย ได้แก่ นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายธีรพงษ์ ศรีสุคนธ์ อดีตผู้ตรวจราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ นายณรงค์ คงคำ อดีตรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการยักยอกเงินช่วยเหลือคนยากไร้
คณะกรรมการธุรกรรมมีมติให้ยึดและอายัดทรัพย์สินที่ เกี่ยวกับการกระทำความผิดของนายพุฒิพัฒน์ นายณรงค์ และนายธีรพงษ์ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าว ประมาณ 12 ราย เช่น ที่ดิน ห้องชุด รถยนต์หรู เงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร และหลักทรัพย์ต่างๆ รวม 41 รายการ มูลค่ากว่า 88 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ข่าวน่าสนใจ:
- แชร์สนั่น! ซอไม้ไผ่ สุดยอดนวัตกรรมดนตรีวัยรุ่นยุคใหม่ เท่อย่างไทยสู่สากล
- ทนายเกรียง พา สาวนักแข่งรถจักรยานยนต์ทีมชาติไทย แจ้งความดำเนินคดีกับนายกสมาคม ข้อหาหมิ่นประมาท และ พรบ.คอม
- ขอนแก่น พร้อมจัด " Khonkaen Countdown 2025 Rise Beyond" ขอนแก่น พุ่งทะยานสู่อนาคต อย่างยิ่งใหญ่ คาดเงินสะพัด 50 ล้านบาท
- ตรัง สถาบันพระบรมราชชนกเตรียมผลิต 9 หมอรุ่นใหม่ นวัตกรรมสุขภาพไทยสู่ระดับโลก
พล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ เผยว่า จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่มคนดังกล่าวมีพฤติกรรมกระทำความผิดทางอาญาฐานฟอกเงิน ซึ่งปปง. ดำเนินการกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญา ความผิดฐานฟอกเงินกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้มีการเตือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการทุจริตในหน้าที่ว่า นอกจากจะถูกยึดทรัพย์สินแล้ว
หากใครมีพฤติการณ์ในการรับหรือโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการทุจริตก็อาจต้องถูกดำเนินคดีอาญาฐานฟอกเงิน ซึ่งมีโทษ จำคุก 10 ปีต่อการโอนหรือรับโอน 1 ครั้ง กล่าวโดยสรุปคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต นอกจากจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้ว ตัวผู้กระทำความผิด ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ ที่รับโอนทรัพย์สินจากผู้กระทำความผิดทุกคนก็อาจต้องถูกลงโทษจำคุกในความผิดฐานฟอกเงินด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: