ท่ามกลางความวุ่นวายในเมืองกรุงที่ทุกอย่างเร่งรีบไปซะทุกสิ่ง แต่ในย่านจรัญสนิทวงศ์ยังคงเหลือพื้นที่เล็กๆ อนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทย รวมถึงความสงบที่ไม่ต้องเดินทางไปไหนไกลเลย และที่นี่ก็คือชุมชนคลองบางหลวง ซึ่งคนในละแวกนี้ยังคงอนุรักษ์วิถีการดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิม
บ้านเรือนที่ปลูกติดริมน้ำ สลับกับศิลปะในแบบจิตกรรม หรือการแสดง เป็นสถานที่ผ่อนคลายชั้นดีให้กับเหล่านักท่องเที่ยว ที่ไม่ต้องการเดินทางไปไหนไกลในวันหยุด และไฮไลต์สำคัญของชุมชนคลองบางหลวงแห่งนี้ก็คือ บ้านศิลปิน ซึ่งจะมีการแสดงหุ่นละครเล็กของคณะ”สิปธรรม คำนาย”
ทำการแสดง และเปิดสอนฟรี ทุกวันพุธ, ศุกร์, และอาทิตย์ ให้กับผู้สนใจอีกด้วย บ้านศิลปินจะตั้งอยู่สุดทางเดินของชุมชน ตัวบ้านเป็นเรือนไม้เก่าสองชั้นติดน้ำ สามารถนั่งพักผ่อนหรือถ่ายรูปสุดชิคกันได้อีกด้วย เดิมที่บ้านศิลปินแห่งนี้เป็นบ้านโบราณของตระกูล”รักสำหรวจ” ก่อนที่สมาชิกจะทยอยย้ายออกไปจนหมด
และกลุ่มศิลปินก็ได้เข้ามาซื้อบ้านหลังนี้และซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการแสดงหุ่นละครเล็กให้กับนักท่องเที่ยวได้ชมกันฟรี จนถึงวันนี้บ้านศิลปิน ก็เปิดให้ความสุขกับผู้มาเยี่ยมชมกว่า 9 ปี แล้ว “ครูจิ๋ว”นพดล หงษ์สีสกุล หนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะหุ่นละครเล็ก”สิปธรรม คำนาย” เล่าให้เราฟังว่า ย้อนไปราวๆ ร้อยกว่าปี
ข่าวน่าสนใจ:
- บุรีรัมย์ โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ จัดโครงการ “พัฒนาวิชาการ ส่งเสริมคุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี ระดับปฐมวัย”
- เครื่องกั้นรถไฟคลองแขวงกลั่นพังบ่อย ล่าสุดลงปิดขวางถนนนานข้ามคืน
- "เลยดั้น" แค่มุมภาพเดียว กลายเป็นไวรัล ดึงดูด นทท.แห่เช็คอินถ่ายภาพ อ.น้ำหนาวเตรียมดันเป็นซอฟพาวเวอร์
- ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา>ชาวพุทธ+ทพ.48 ร่วมทอดผ้าป่า
พ่อครูแกร ผู้ริเริ่มหุ่นละครเล็กจะหวงหุ่นเป็นอย่างมาก ไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้หุ่น แม้แต่ครอบครัวหรือลูกหลาน ก่อนที่หุ่นละครเล็กจะหายไปจากสายตาชาวไทยกว่า 50 ปี ในช่วงภาวะสงคราม หลังจากนั้นจึงถูกปัดฝุ่นนำกลับมาสู่สายตาชาวไทยอีกครั้ง โดยคณะ”โจหลุยส์” ซึ่ง”ครูจิ๋ว”ก็เริ่มต้นจากการเป็นลูกศิษย์คณะ”โจหลุยส์” มาก่อน
สำหรับผู้ที่จะเชิดหุ่นละครเล็กนั้น จะต้องมีพื้นฐานการเป็นโขนมาก่อนอย่างน้อย 3 ปี และใช้คนเชิดหุ่น 3 คน ต่อ 1 ตัว ซึ่งจะต้องมีความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมาก “ครูจิ๋ว”ยังเล่าให้ฟังอีกว่าทุกครั้งที่ทำการแสดงต้องโยนเรื่องส่วนตัวทิ้งไปทั้งหมด ถึงแม้จะมีปัญหากันเองกับเพื่อนที่ร่วมเชิดก็ตาม
แต่เมื่อถึงการแสดงก็ต้องหลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้หุ่นละครเล็กที่เชิดดูมีชีวิตชีวาเปรียบเสมือนคนขึ้นมาจริงๆ ทั้งนี้ที่บ้านศิลปินได้ผลิตลูกศิษย์มาหลายต่อหลายคน บางคนมาเรียนตั้งแต่ตัวเล็กๆ จนจบมหาวิทยาลัย และกลับมาอนุรักษ์หุ่นละครเล็ก สืบต่อเจตนารมย์ของเหล่าอาจารย์
ความร่วมสมัยที่ค่อยๆเข้ามากลืนกินวัฒนธรรมดั้งเดิม ทำให้คณะหุ่นละครเล็ก”สิปธรรม คำนาย” เกิดความกังวลว่าต่อไปคนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักหุ่นละครเล็ก จึงได้มีการอาสาเข้าไปสอนฟรีตามสถานที่ต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัย หรือที่บ้านศิลปินเอง เพื่อหวังว่าคนรุ่นใหม่จะหันมาให้ความสนใจหุ่นละครเล็ก และรักษามันไว้ให้คนรุ่นต่อไปได้ชื่นชมความงดงามสืบต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: