รมว.แรงงาน มอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติ ภายใต้โครงการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีคนต่างด้าวลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต หลังครบกำหนดผ่อนผัน ร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สืบสวนจับกุมการกระทำผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนา มอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติ ภายใต้โครงการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีคนต่างด้าวลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 มิ.ย. 61 ณ ห้องจูปิเตอร์ 6-7 อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์การประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 61 และวันที่ 27 มี.ค. 61 เห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง ตรวจลงตรา (Visa) ขออนุญาตทำงานและจัดทำทะเบียนประวัติภายในวันที่ 30 มิ.ย. 61
ดังนั้น เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการการทำงานของคนงานต่างด้าว ให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรม กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สั่งการให้ข้าราชการตำรวจทุกจังหวัด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง รวมทั้งกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จัดชุดปฏิบัติการ รวม 113 ชุด ชุดละ 5 นาย รวม 565 นาย เพื่อสืบสวนจับกุม
ข่าวน่าสนใจ:
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- ขอนแก่น พร้อมจัด " Khonkaen Countdown 2025 Rise Beyond" ขอนแก่น พุ่งทะยานสู่อนาคต อย่างยิ่งใหญ่ คาดเงินสะพัด 50 ล้านบาท
- นายก อบจ.ระยอง ประกาศลาออกก่อนครบวาระ 1 วัน พรัอมลงชิงชัยตำแหน่งนายก อบจ.ระยอง อีกหนึ่งสมัย
- เพชรบูรณ์ - "ยุพราช"ชี้! นักการเมืองไม่จำเป็นต้องรวย แค่เคียงข้าง ปชช.ไม่ทุจริตโกงบ้านเมืองก็พอ
การกระทำผิดตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2561 มาตรา 8 และมาตรา 9 โดยมีเป้าหมายในภาพรวมทั้งประเทศ ในการจับกุมนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อคงความศักดิ์ของกฎหมาย นอกจากนี้ กระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้จัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ บูรณาการกำลังพลร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวว่า ขอให้นายจ้างที่รับแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เข้าทำงาน แต่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง และตรวจลงตรา (Visa) ขออนุญาตทำงานและจัดทำทะเบียนประวัติ
ให้รีบดำเนินการพาลูกจ้างเข้าสู่กระบวนการโดยด่วน พร้อมเน้นย้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 61 เป็นต้นไป
กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะดำเนินการกวาดล้างแรงงานต่างด้าว
ที่ไม่ได้มาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติภายในระยะเวลาตามที่กำหนด โดยในระยะแรกจะเริ่มปฏิบัติการอย่างเข้มข้นภายในระยะ 2 สัปดาห์ หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 61 เป็นต้นไป
พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวต่อว่า การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมาย และนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว รวมทั้งเป็นการยกระดับการทำงานในเรื่องดังกล่าวให้มีมาตรฐานสากลต่อไป
และขอเน้นย้ำ ในการทำงานต้องตระหนักว่าแรงงานต่างด้าวเหล่านี้เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในภาคการผลิตของประเทศ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องมีมุมมองในเรื่องของการให้ความดูแล และคุ้มครอง มิใช่การจ้องจับผิด แต่ควรใช้มาตรการเสริมสร้างความเข้าใจควบคู่ไปด้วย
“1 ก.ค.นี้ หากพบคนต่างด้าวทำงาน โดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือที่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับ 5,000 – 50,000 บาท พร้อมส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และห้ามขออนุญาตทำงานภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับโทษ และสำหรับนายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับ 10,000 – 100,000 บาท”
“คนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี หากแรงงานต่างด้าวมีความประสงค์จะทำงานในประเทศไทย จะต้องเข้ามาในรูปแบบการนำเข้าตามระบบ MOU เท่านั้น” พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวทิ้งท้าย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: