สวนดุสิตโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อ “พรรคการเมืองเก่า” กับ “พรรคการเมืองใหม่” พบว่าคนไทยสนใจ “พรรคอนาคตใหม่” มากกว่า “พรรคประชาธิปัตย์”
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต่อ “พรรคการเมืองเก่า” กับ “พรรคการเมืองใหม่” เนื่องจากกระแสการเมืองมีความร้อนแรงมากขึ้นในช่วงนี้ โดยเฉพาะเรื่องการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ ที่เริ่มมีการเคลื่อนไหว ทั้งการดูดตัวผู้สมัครเข้าสู่พรรค การเตรียมตัวของพรรคการเมืองเก่า รวมถึงการเปิดตัวพรรคใหม่ โดยสรุปผลได้ ดังนี้
“3 อันดับพรรคการเมืองเก่า” ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ณ วันนี้
อันดับ 1 : ร้อยละ 55.59 ระบุว่า พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 : ร้อยละ 39.89 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 3 : ร้อยละ 4.52 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทย
“3 อันดับพรรคการเมืองใหม่” ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ณ วันนี้
อันดับ 1 : ร้อยละ 57.51 ระบุว่า พรรคอนาคตใหม่
อันดับ 2 : ร้อยละ 24.35 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 2 : ร้อยละ 18.14 ระบุว่า พรรคพลังชาติไทย
ข่าวน่าสนใจ:
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- “ปลายฝน ต้นหนาว เคาท์ดาวน์ มิวสิคเฟส สุราษฎร์ธานี” ไฮไลท์ประกวดควายไทยมูลค่ากว่า 10 ล้าน
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
- "กรุงเทพฯ ดีต่อใจ" ชวน ฮีลกาย..ฮีลใจ รับปีใหม่ 3-5 ม.ค.68
ความสนใจในภาพรวมทั้ง “พรรคการเมืองเก่า” และ “พรรคการเมืองใหม่” 5 อันดับพรรคการเมืองที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ณ วันนี้
อันดับ 1 : ร้อยละ 55.02 พรรคเพื่อไทย เพราะ ชื่นชอบ เป็นพรรคใหญ่ อยากให้เข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ช่วยเหลือประชาชน มีนักการเมืองเก่ง มีชื่อเสียง ฯลฯ
อันดับ 2 : ร้อยละ 34.18 พรรคอนาคตใหม่ เพราะ เป็นพรรคใหม่ มีคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน มีนโยบายน่าสนใจ อยากเปิดโอกาสให้เข้ามาทำงาน ฯลฯ
อันดับ 3 : ร้อยละ 33.88 พรรคประชาธิปัตย์ เพราะ เป็นพรรคเก่าแก่ ก่อตั้งมานาน มีประสบการณ์ ชื่นชอบการทำงาน มีผู้สมัครที่น่าสนใจ เลือกพรรคนี้มาโดยตลอด ฯลฯ
อันดับ 4 : ร้อยละ 17.39 พรรคพลังประชารัฐ เพราะ มีกระแสต่อเนื่อง เกี่ยวข้องกับรัฐบาลปัจจุบัน เป็นพรรคใหม่ มีนักการเมืองเข้ามาร่วมหลากหลาย ฯลฯ
อันดับ 5 : ร้อยละ 12.59 พรรคภูมิใจไทย เพราะ ชอบการบริหารงานที่ผ่านมา เป็นพรรคเล็กที่มีบทบาทสำคัญ อยากรู้ความเคลื่อนไหว ฯลฯ
ส่วนกรณีผู้สมัคร ส.ส. ที่สังกัด “พรรคการเมืองเก่า” กับ “พรรคการเมืองใหม่” มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนหรือไม่
อันดับ 1 : ร้อยละ 54.33 ระบุว่า มีผล เพราะ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ชอบคนแต่ไม่ชอบพรรค นโยบายแต่ละพรรคแตกต่างกัน นอกจากจะดูที่ตัวบุคคลแล้วก็ดูว่าสังกัดพรรคที่ชอบด้วยหรือไม่ การเลือกสังกัดพรรคส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ฯลฯ
อันดับ 2 : ร้อยละ 45.67 ระบุว่า ไม่มีผล เพราะ ดูที่ตัวบุคคล ประวัติ ประสบการณ์ ผลงานที่ผ่านมา ชอบเป็นการส่วนตัว ไม่พิจารณาว่าสังกัดพรรคใด หากเป็นคนดีอยู่พรรคใดก็ทำงานได้ ฯลฯ
สำหรับในการเลือก ส.ส. ระหว่าง “ตัวผู้สมัคร” กับ “พรรคที่สังกัด” ประชาชนให้ความสำคัญอะไรมากกว่ากัน
อันดับ 1 : ร้อยละ 41.63 ระบุว่า พอๆ กัน เพราะ ต้องพิจารณาทั้งตัวผู้สมัครและพรรคที่สังกัดไปพร้อม ๆ กัน อยากได้ทั้งผู้สมัครและพรรคที่ดีมีคุณภาพ หากพรรคมีนโยบายที่ดี ก็จะส่งผลให้ผู้สมัครทำงานได้ดี มีผลงาน ฯลฯ
อันดับ 2 : ร้อยละ 36.92 ระบุว่า ตัวผู้สมัครมากกว่า เพราะ เน้นที่ตัวผู้สมัคร อยากได้คนดี ทำงานเป็น มีผลงาน มีความคุ้นเคยกับคนในพื้นที่ พรรคการเมืองที่ดีต้องมีผู้สมัครที่ดี ฯลฯ
อันดับ 3 : ร้อยละ 21.45 ระบุว่า พรรคที่สังกัดมากกว่า เพราะ พรรควางนโยบายของผู้สมัคร พรรคที่มีการบริหารที่ดีจะทำให้ผู้สมัครทำงานได้ดียิ่งขึ้น ผู้สมัครต้องปฏิบัติตามแนวทางของพรรค พรรคที่เข้มแข็งสามารถให้การสนับสนุนผู้สมัครได้เต็มที่ ฯลฯ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: