ปภ. สรุปผลดำเนินงาน 22 หน่วยงาน ระดมกำลังบุคลากร -เครื่องมือ ค้นหาทีมฟุตบอลเยาวชน “หมูป่าอะคาเดมี” พลัดหลงในถ้ำหลวง จ.เชียงราย ถึงขณะนี้ยังไม่พบผู้สูญหาย ขณะที่่ กรมทรัพย์ฯ นำเครื่องเจาะถึงถ้ำแล้ว แต่เมื่อเครื่องทำงาน ได้เกิดพายุลมพัดแรงและฝนตกทันที
วันที่ 28 มิ.ย.61 นายสุวิทย์ โควสุวรรณ ผอ.ส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ได้ติดตามและรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เกี่ยวกับการเจาะผนังถ้ำที่คาดว่า อยู่ใกล้จุดพัทยาบีชนั้น ทางกองอำนวยการช่วยเหลือในพื้นที่ได้แจ้งว่า เริ่มดำเนินการแล้ว
โดยนำโดรนขึ้นบินสำรวจว่า จะเริ่มตรงไหนอย่างไร และคาดว่า จะสามารถดำเนินการเจาะได้ในช่วงเย็น ซึ่งจุดที่จะดำเนินการเป็นโพรง 3 แห่ง อยู่ใกล้ดอยผาหมี ซึ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร ได้ทำการสำรวจพบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา
ล่าสุด เจ้าหน้าที่นำรถเจาะขนาดใหญ่มาถึงถ้ำหลวงแล้ว เพื่อเตรียมเจาะถ้ำช่วยเหลือ โดยเจ้าหน้าที่ต้องวางแผน เพื่อเตรียมเจาะในจุดแรกบริเวณโถงพัทยาบีชก่อน ซึ่งคาดเป็นจุดที่ 13 ชีวิต อยู่ในบริเวณนั้น แต่ทั้งนี้ ทันทีที่รถเจาะผนังถ้ำยกบูมขึ้นเพื่อทำการเจาะ ปรากฎว่า เกิดลมพายุพัดแรง และฝนตกหนักทันที
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ล่าสุด 1) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดโรงครัวพระราชทาน 2 แห่ง บริเวณหน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวถ้ำหลวงฯ และวัดบ้านจ้อง เพื่อประกอบเลี้ยง และพระราชทานเสื้อกันฝน 2,000 ตัว มอบให้แก่ผู้ปฎิบัติงานในพื้นที่ 2) สมเด็ดพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานเงิน 500,000 บาท ให้ผุ้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อนำไปซื้ออาหาร ยา และสิ่งของที่จำเป็นในการปฎิบัติงานในการค้นหาผู้สูญหาย
ส่วนการให้ความช่วยเหลือในขณะนี้
ผวจ.เชียงราย ได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการส่วนหน้าเพื่อบัญชาการในพื้นที่ ,
กองทัพเรือ ส่งนักทำลายใต้น้ำจู่โจม (SEAL) ประกอบกำลัง หน่วยรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง (นรข.), กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ นำกำลัง 66 นาย เข้าค้นหาผู้สูญหาย
สตช. โดย ตชด.32 และ ตชด.37 ส่งเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจช่องทางเข้าจากด้านบน โดยได้คำปรึกษาแนะนำจากนักสำรวจถ้ำชาวอังกฤษ ในการสำรวจโพรงเหนือถ้ำ
กองทัพบก สนับสนุนอากาศยาน 4 ลำ พร้อมกำลังพบ 800 นาย
กทม. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำแรงดันสูง 20 เครื่อง
กรมชลประทาน ส่งทีมเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 10 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำขนาด 8,10,12 นิ้ว สูบน้ำในถ้ำบริเวณหนองพุ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเครื่องสูบน้ำ 2 เครื่อง กรมอุทยานฯ ส่งกู้ภัยเดินเท้าสำรวจปล่องถ้ำ ระยะทาง 4 กม.
Gisda สนับสนุนภาพถ่ายดาวเทียม
กสทช. ประสานบริษัทให้บริการด้านการสื่อสาร ขยายช่องสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ และวางระบบสื่อสารในพื้นที่
แขวงทางหลวงเชียงราย ที่ 1 ปรับพื้นที่เส้นทางเข้าออกเพื่อให้ความช่วยเหลือ
ทีมกู้ภัยอุทยานภาคเหนือตอนล่าง จ.พิษณุโลก สนับสนุนเจ้าหน้าที่ 13 ราย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย มีคำสั่งให้ ทีมค้นหาและกู้ภัย สนับสนุนรถไฟฟ้าส่องสว่าง
กฟภ. ติดตั้งระบบไฟฟ้าสนับสนุนการปฎิบัติการค้นหา
ทีมน้ำดำน้ำคณะของ นรินทร ณ บางช้าง 6 นาย พร้อมอุปกรณ์ร่วมปฎิบัติงาน
ทีมกู้ภัยลาว 3 นาย ผู้เชี่ยวชาญด้านดำน้ำจากเยอรมัน 4 นาย ผู้เชี่ยวชาญสำรวจชาวอังกฤษ 3 นาย ฟิลิปปินส์ (ไม่ทราบจำนวน) หน่วยรบพิเศษกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา 32 นาย ร่วมให้ความช่วยเหลือค้นหาผู้สูญหายอย่างต่อเนื่อง
ทีม ปตท. นำโดรนตรวจจับความร้อน 3 ตัว บินสำรวจเหนือถ้ำหลวง สามารถถ่ายภาพเป็นแผนที่ 3 มิติ
รพ.ค่ายพระยาเม็งราย จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ร่วมกับ รพ.ศูนย์เชียงราย
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สนับสนุนหุ่นยนต์ดำน้ำ ROV 1 เครื่อง, โดรนติดกล้องตรวจจับความร้อนสำหรับบินสำรวจ 2 ลำ พร้อมเจ้าหน้าที่ 13 คน
อาสาสมัคร มูลนิธิ ร่วมให้ความช่วยเหลือค้นหาผู้สูญหาย
ศูนย์บัญชาการณ์เหตุการณ์ ปรับแผนให้มีการสุบน้ำจากถ้ำโดยตรง อยู่ระหว่างนำท่อน้ำขนาดใหญ่เข้าไปด้านในถ้ำ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: