สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST) จัดประชุมประจำปีรายงานความคืบหน้าการเพิ่มชนิดนกในประเทศไทยอีก 11 สายพันธ์ุ
ที่คณะสัตว์แพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(บางเขน) สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST) จัดประชุมสมาชิกประจำปี 61 เพื่อแจ้งความคืบหน้าของการเพิ่มจำนวนชนิดนกในประเทศไทย ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมครั้งแรกในรอบ 4 ปีของสมาคมอนุรักษ์นกฯ อีกด้วย
จากการเก็บสถิติก่อนหน้านี้พบว่าในประเทศไทยมีจำนวนชนิดนกมากถึง 982 ชนิด และย้อนไปในปี 2543 มีการประมาณว่านกประจำถิ่น 159 ชนิดและนกอพยพ 23 ชนิดกำลังถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถางป่า การลักลอบตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย การล่าสัตว์และการเสื่อมสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย
โดยเฉพาะในที่ราบลุ่ม ชนิดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้กลายไปเป็นพื้นที่ทางการเกษตรและชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าที่ซึ่งมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตรและการค้าทำให้พื้นที่ป่าสูญหายไปหรือกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม
นกในประเทศไทยเป็นนกชนิดหลักๆของเขตนิเวศอินโดมาลายาซึ่งสัมพันธ์กับอนุทวีปอินเดียในทางตะวันตก และโดยเฉพาะพื้นที่คาบสุมทรทางตอนใต้ถึงเขตชีวภาพซุนดาในทางตะวันออกเฉียงใต้ ภูเขาทางเหนือคือที่ราบสูงทิเบตที่ทอดตัวขวางไว้ซึ่งมีนกภูเขาหลายชนิดและในฤดูหนาวจะมีนกอพยพมาจากทางตะวันออกของเขตนิเวศพาลีอาร์กติกและเทือกเขาหิมาลัย
จากการอพยพของนกหลากหลายชนิดตามฤดูกาลทำให้ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ได้ค้นพบชนิดนกอีก 11 ชนิดที่เข้ามาอาศัยยังพืนที่ประเทศไทย และได้มีการประกาศเพิ่มชนิดของนกทั้ง 11 ชนิดให้อยู่ในความดูแลของประเทศไทยซึ่งเป็นการปรับปรุงชนิดนกครั้งล่าสุดอีกด้วย
โดยไฮไลต์สำคัญของจำนวนชนิดนกทั้ง 11 ชนิด สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติฯ ได้กล่าวว่ารู้สึกยินดีที่มีนกหายาก 2 ชนิด จาก 11 ชนิดที่ได้ประกาศให้เป็นชนิดนกใหม่ในไทยซึ่งนกทั้ง 2 ชนิดนั้นมีความสวยงามและหายากโดยไม่คาดคิดว่าจะพบในประเทศไทยซึ่งได้แก่
1.นกชายเลนอกลาย (Pectoral Sandpiper) ซึ่งนกชนิดนี้มีการคาดการ์ว่าจะพบในประเทศไทยอยู่หลายครั้งเนื่องจากเป็นนกที่จะชอบอพยพหนีหนาวจากประเทศออสเตรเลียมายังประเทศมาเลเซีย แต่ก็ไม่เคยพบร่องรอยของนกชนิดนี้ในประเทศไทยอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตามทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติฯก็ได้รับแจ้งอยู่เรื่อยๆว่าพบนกชนิดนี้ในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่อ้างอิงได้แน่นอนว่าเป็นนกชายเลนอกลายจริงๆ สำหรับจุดเด่นของนกชนิดนี้อยู่ที่ลายตรงหน้าอกซึ่งจะมีลอยอย่างชัดเจน และที่ปากจะมีสีเหลืองเข้ม ทำให้สามารถสังเกตได้ง่ายว่าเป็นนกชายเลนอกลาย
โดยพื้นที่อาศัยหลักของนกชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 พื้นที่ด้วยกัน ซึ่งจะอยู่ในทวีปอเมริกา และเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวพวกมันจะอพยพกันไปยังทวีปิเมริกาใต้ ส่วนฝูงที่อาศัยอยู่ในประเทศรัสเซีย เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวจะพากันอพยพไปยังประเทศออสเตรเลีย โดยบินผ่านเวียดนาม และฟิลิปปินส์ และมีโผล่เข้ามายังประเทศไทยบ้างบางครั้ง
2.นกนางนวลปลายปากเหลือง (Sabine’s Gull) โดยปกติแล้วนกชนิดนี้จะหากินอริเวณกลางทะเลหรือมหาสมุทร ซึ่งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติฯ ก็ได้มีการรับแจ้งว่าได้พบนกนางนวลปลายปากเหลืองบินเข้ามาในเขตทะเลอ่าวไทย จึงพยายามเฝ้าติดตามอยู่เรื่อยๆและพบว่ามีอยู่จริง
สำหรับจุดเด่นของนกชนิดนี้คือจะมีหางสีขาวในช่วงโตเต็มวัย และมีปลายปากเป็นสีเหลืองสวยงาม ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้แยกออกจากนกนางนวลชนิดอื่นได้อย่างชัดเจน โดยทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติฯก็ได้ชุดจุดเด่นทั้ง 2 ข้อของนกชนิดนี้มาตั้งชื่อเป็นภาษาไทยให้กับมัน
ทั้งนี้นกนางนวลปลายปากเหลืองจะพบได้ทั่วไปในเขตพื้นที่ทวีปยุโรป หรือในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก ซึ่งทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติไม่คาดคิดว่าจะมีการอพยพบินเข้ามายังเขตอ่าวไทยของประเทศไทย จึงมีความยินดีอย่างมากที่ได้พบนกหายากทั้ง 2 ชนิดนี้ในประเทศและได้ประกาศให้เป็นชนิดนกในไทยทันที
ส่วนชนิดที่ 3 และ 4 คือนกคัดคูเหยี่ยวภูเขา (Dark Hawk Cuckoo) และนกขมิ้นอกแดง (Black-and-crimson Oriole) ซึ่งนกทั้งสองสายพันธ์นี้สามารถพบได้ทั่วไปตามบริเวณภูเขาของประเทศไทยอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมายังไม่ถูกประกาศให้เป็นนกสายพันธ์ุไทย เพิ่งจะมีประกาศพร้อมกับนกชายเลนอกลาย และนกนางนวลปลายปากเหลือ
5.นกปรอดเล็กตะนาวศรี (Baker’s Bulbul) เดิมทีนกชนิดนี้ถูกจัดให้เป็นนกชนิดย่อยของนกปรอดเล็กตาขาวด้วยความคล้ายคลึงกัน และถูกแยกออกจากกันในเวลาต่อมา โดยนกชนิดนี้สามารถพบได้ในพื้นที่แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ยาวไปจนถึงภาคใต้ ที่ จ.สงขลา แต่ที่มาเลเซียยังไม่มีรายงานว่าพบนกชนิดนี้
สำหรับตระกูลของนกประหลอดมีด้วยกันอยู่ 4 ประเภทซึ่งสามารถแบ่งได้ตามภูมิภาคต่างๆในประเทศไทยทั้งภาคตะวันตก ตะวันออก เหนือ และใต้ เพราะแต่ละประเภทจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งยังไม่มีรายงานว่าเกิดการอาศัยข้ามถิ่นเดิมของแต่ละสายพันธ์ุทำให้สามารถจำแนกประเภทได้ง่าย
6.นกปรอดก้นแดง (Red-vented Bulbul) เป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่เพิ่งจะถูกค้นพบในประเทศไทยเมื่อ 3 ปีที่เเล้วโดยสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติฯ ได้รับแจ้งว่านหปรอดก้นแดงอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งปกติแล้วมันจะอาศัยอยู่ตามรอยต่อของประเทศไทยและพม่ามาโดยตลอด
ตั้งแต่พื่นที่โซนภาคใต้ของประเทศไทยและพื้นที่รัฐฉานในพม่า และไม่นานมานี้เพิ่งอพยพย้ายถิ่นถานเข้ามายังสังขละบุรี และได้ถูกตรวจพบ ทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติฯ จึงได้ประกาศให้นกปรอดก้นแดงเป็นนกสายพันธ์ใหม่ของประเทศไทยอีก 1 ชนิด
7.นกปรอดอิรวดี (Ayeyarwady Bulbul) นกชนิดนี้เป็นนกที่เพิ่งถูกประกาศให้เป็นสายพันธ์ุใหม่เพราะเพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา จุดเด่นของมันอยู่ที่ม่านตาซึ่งจะมีสีแดงเข้ม โดยเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมาได้มีการพบเจ้านกชนิดนี้ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก และที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ก็เริ่มมีให้เห็นบ้างแล้วเช่นกัน เป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ตามที่ราบทั่วไปไม่ค่อยชอบอยู่ในป่า
8.นกพงขอบหางขาว (Booted Warbler) นกชนิดนี้แทบจะไม่มีจุดเด่นอะไรเลยบนลำตัวที่สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อภาษาไทยได้ แต่จากการที่มันกลางปีก เราจะสามารถเห็นขอบขาวที่ปลายหางของมันได้บ้างจึงทำให้ถูกนำเอามาตั้งเป็นชื่อภาษาไทยในเวลาต่อมา
การพบนกพงขอบหางขาวครั้งแรกในประเทศไทยคือเดือน ม.ค ที่ผ่านมา มีรายงานว่าพบนกชนิดนี้ที่ ต.คลองตำหรุ จ.ชลบุรี ปกติแล้วไม่ค่อยได้พบในประเทศไทยมากนักเพราะการอพยพของพวกมันจะมุ่งหน้าไปยังประเทศสิงคโปร์ และพม่า แต่ก็มีโผล่เข้ามายังประเทศไทยอยู่บ้างเป็นระยะ
9.นกเดินดงหิมาลัย (Himalayan Forest Thrush) นกชนิดนี้เพิ่งถูกพบในประเทศไทยช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ที่ดอยลาง จ.เชียงใหม่ เป็นนกที่ไม่เคยอยู่ในตำรามาก่อนเลย แต่เพิ่งถูกบรรยายขึ้นมาโดยนักปักษีวิทยาชาวอินเดีย จึงทำให้เป็นที่รู้จักในเวลาต่อมา ซึ่งเม.ย.ที่ผ่านมา มันเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแค่ช่วงสั้นๆ ตั้งแต่วันที่ 12-20 เม.ย.ที่ผ่านมาเท่านั้น ก่อนจะอพยพไปที่อื่นต่อ
10.นกนางแอ่นทรายสีจาง (Pale Sand Martin) เป็นนกที่ยากในการจำแนกประเภทเป็นอย่างมากเพราะมันมีลักษณะคล้ายกับนกนางแอ่นสายคอดำ สำหรับจุดพิเศษของเจ้านกชนิดนี้ที่ทำให้แตกต่างจากนกนางแอ่นสายคอดำคือมันจะมีขนบริเวณขาของมัน
ทั้งนี้นกนางแอ่นทรายสีจางถูกพบในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจากหลักฐานที่ทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติฯ รวบรวมมาได้น่าจะยืนยันได้ว่านกชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย โดยปกติแล้วพื้นที่วางไข่ของนกชนิดนี้จะอยู่ในประเทศจีนตอยใต้ ทำให้สามารถบินเข้ามายังประเทศไทยได้โดยง่าย
11.นกจาบปีกอ่อน (Pine Bunting) สำหรับเจ้านกชนิดนี้ไม่ได้มีความพิเศษอะไรมากนักเหมือนกับนกสายพันธ์ุอื่นเพียงแต่ว่าถูกพบในจังหวัดลพบุรี อยู่เป็นประจำ และยังไม่เคยถูกประกาศให้เป็นชนิดนกในประเทศไทย แต่ด้วยการอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี อย่างต่อเนื่องจึงถูกประกาศให้เป็นชนิดนกในประเทศไทยอีกหนึ่งชนิด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: