สกว.ดันท่องเที่ยวชุมชนสไตล์วิถีชาวนา นำร่อง จ.อุบลราชธานี กับ 4 ชุมชนบ้านชีทวน บ้านหัวดอน บ้านหนองบ่อ และบ้านท่าศาลา ชูจุดเด็นของแต่ละชุมชนใช้เรียกนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้เสริมให้แก่ชาวบ้านอย่างยั่งยืน
หลายปีที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐมีนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยววิถีเกษตร เพื่อเป็นการยกระดับให้พื้นที่ชุมชนที่มีจุดเด่นเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และเป็นการช่วยให้ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการประจายเศรษฐกิจใผ้มีความเติบโตในวงกว้าง ด้วยการส่งเสริมให้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านการเปิดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยว
ที่นำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ยังช่วยรักษาฐานทรัพยากรให้คงอยู่ รวมถึงการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนาคนพัฒนาทักษะและเพิ่มเติมความรู้ใหม่ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย ขณะเดียวกันยังเป็นการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติได้เรียนรู้เเละเห็นคุณค่ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น
ข่าวน่าสนใจ:
ซึ่งจะทำให้เกิดการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ด้านต่างๆระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน การท่องเที่ยวชุมชนเขิงอนุรักษ์จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคให้เติบโตทัดเทียมกับเศรษฐกิจในเมือง
ขณะที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ดำเนินงานสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นได้ใช้กระบวนการวิจัย ค้นหาองค์ความรู้ และต้นทุนทางสังคม ทั้งในเชิงประเพณี วัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับการทำนาแก่ชุมชนวิจัยนำร่อง “การท่องเที่ยววิถีชาวนา” 10 จังหวัด ซึ่งปัจจุบันหลายชุมชนโดยเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี
ได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ด้านเกษตรกรที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงการทำงาน เช่น การทอผ้า การแปรรูปอาหาร การแสดงพื้นบ้าน ตลอดจนพิธีกรรมทางศาสนาที่เชื่อมโยงกับมิติชุมชน จนสามารถออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และพร้อมที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการให้เหล่านักท่องเที่ยวได้แวะมาเยี่ยมชม
สกว. จึงร่วมกับชาวบ้าน 6 พื้นที่ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก้ชุมชนหัวดอน ชุมชนบ้านชีทวน ชุมชนบ้านท่าศาลา ชุมชนบ้านหนองบ่อ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอีสาน พัฒนาพื้นที่ชุมชนทั้ง 4 ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่น่าสนใจในอนาคตอันใกล้
โดยแลนมาร์คที่สำคัญของทั้ง 4 ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้คงจะหนีไม่พ้น “ขัวน้อย” สะพานสำคัญของชาวบ้านชีทวน จังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางทุ่งนาสีเขียวขจี ที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับเหล่านักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมได้ไม่น้อย เพราะหากได้ไปเยือน”ขัวน้อย” ไม่ว่านักท่องเที่ยวจะยืนถ่ายรูปมุมไหนของสะพานก็เกิดความสวยงามในรูปภาพได้เป็นอย่างดี
มิหนำซ้ำยังมีร้านกาแฟของชาวบ้านที่ปลูกเป็นเพลิงไม้เรียกให้นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนขัวน้อย ได้ใช้บริการลิ้มรสกาแฟพร้อมๆกับเสพบรรยากาศของธรรมชาติที่อยู่ตรงหน้ากันเลยทีเดียว แต่”ขัวน้อย”ยังไม่ใช่ความงามทั้งหมดในชุมชนเล็กๆของจังหวัดอุบลราชธานีแห่งนี้แน่นอน เพราะหากได้สำรวจชุมชนแถบนี้มากขึ้น ภาพของท้องนาสีเขียวกลับจะยิ่งงดงามขึ้นไปทุกขณะ
เพราะชุมชนแถบนี้ยังมีอีกหลายมุมที่รอให้นักท่องเที่ยวมาค้นหา และเเวะเวียนไปเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ แต่ที่ผ่านมาการท่องเที่ยวของชุมชนที่อยู่รายรอบ”ขัวน้อย” คือบ้านชีทวน บ้านหัวดอน บ้านหนองบ่อ และบ้านท่าศาลา ยังขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชน ขาดการวางแผนเพื่อจัดการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ
แต่เมื่อรัฐบาลมีแนวคิดใช้การท่องเที่ยวเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาและกลุ่มเกษตรกรผ่านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ทำให้คนในชุมชนต้องมาร่วมคิด วางแผน และร่วมปฏิบัติการ เพื่อผลสัมฤทธิ์สูงสุดคือการยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืนแก่เกษตรกร หลังจากการระดมสมองของชาวบ้านหัวดอน ข้านชีทวน บ้านท่าศาลา บ้านหนองบ่อ และหน่วยงานรัฐที่ให้การสนับสนุน
ทำการศึกษาศักยภาพของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมชาวนา วิถีข้าว ปลา น้ำ นา ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง โดยการวิจัยพบว่าศักยภาพหลายประการไม่ว่าฐานทุนทางวัฒนธรรม เช่นรูปแบบการทำนา การแปรรูป ความสวยงามของท้องทุ่งและองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวัดวาอารามโบราณสถานคู่บ้านคู่เมือง
โดยสิ่งที่โดดเด่นจะนำไปสู่การจัดการอย่างยั่งยืนภายในชุมชนคือกลไก หรือกลุ่มแกนนำชาวบ้านที่เข้มแข็ง ซึ่งบางชุมชนเช่นบ้านหัวดอน บ้านหนองบ่อผ่านการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาแล้วเช่นกัน จึงนำไปสู่เส้นทางการท่องเที่ยวข้าว ปลา นา น้ำ วิถีท่องเที่ยวชาวนาจังหวัดอุบลราชธานีที่รวมไฮไลท์ของชุมชนทั้ง 4 อย่างลงตัว ดังนี้
1.กินข้าวหอมทุ่งที่หัวดอน
คำว่า”ข้าวหอมทุ่ง”มีที่มาจากเมื่อข้าวโตเต็มวัย จะส่งกลิ่นหอมไปทั่วท้องนา นี่คือสัมผัสแรกจากปลายจมูกที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ
ชาวบ้านหัวดอนส่วนใหญ่เล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนพวกเขาทำนา เก็บเกี่ยวและขายให้พ่อค้าคนกลาง พอได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยทำให้รู้ว่าจริงๆแล้วตัวเกษตรกรเองทำได้มากกว่านั้น ตอนนั้นเราคิดว่าเป็นแค่คนปลูกข้าวข้ายได้เงินมาก็จบ ไม่เคยคิดว่าถ้าขายไม่ได้จะทำอย่างไร รู้แค่ว่าต้องลดราคาลงเพื่อให้ขายได้เท่านั้น
เเต่ตอนนี้เริ่มรู้เเล้วว่าจะจัดการทรัพยากรอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด จึงได้ร่วมกับนางสาววรินดา สุทธิพรม นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ทำงานวิจัยร่วมกัน มีโจทย์คือจะทำอย่างไรให้ข้าวหอมทุ่งมีราคามากขึ้นพบ 2 แนวทาง คือ 1.ปรับปรุงกรรมวิธีการปลูก โดยเปลี่ยนจากใช้สารเคมีเป็นนาปลอดภัย
ส่วนแนวทางที่ 2 คือ การตั้งกลุ่มผู้ผลิตข้าวหอมทุ่งร่วมกันกำหนดราคาขาย (ปัจจุบันขายกิโลกรัมละ 14 บาท) และพากลุ่มชาวบ้านไปหาตลาดใหม่ ที่ไม่ใช่เฉพาะแราจีนบุรีที่มารับซื้อไปทำกระยาสาท โดยมีการจัดตั้งโรงแปรรูปข้าวเม่า ที่ใช้งบประมาณจากโครงการตามรอยเท้าพ่อจัดสร้างโรงแปรรูปข้าวเม่าขึ้นเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทาง
2.ขัวน้อยวิวร้อยล้านบ้านชีทวน
ขัวน้อยที่กำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นด้วยไม้เนื้อแข็งตั้งแต่ 200 ปีที่แล้ว เพราะความจำเป็นในการสัญจรไปมา ในอดีตสร้างไว้เพื่อใช้เดินไปยังชุมชนต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของท้าวฝ่าย เนื่อจากชีทวนเป็นชุมชนใหญ่มีประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก
ส่วนปัจจุบันขัวน้อยถูกเปลี่ยนจากไม้เป็นคอนกรีตและใช้เป็นทางเขื่อมระหว่างหมู่ที่ 1 บ้านชีทวนและหมู่ที่ 7 บ้านหนองแคน โดยผืนนาที่เห็นรายล้อมสะพานความยาวกว่า 300 เมตรนั้นเป็นที่ทำมาหากินของชาวบ้านชีทวนหลายรายรวมกัน นอกจากนาสีเขียวๆ ที่เห็นที่ขัวน้อยแล้ว บริเวณอื่นๆของบ้านชีทวนก็รอยล้อมไปด้วยนามีทั้งข้าวเหนียวที่ส่วนใหญ่จะปลูกไว้กิน และข้าวจ้าวที่ปลูกไว้ขาย แต่ชาวบ้านแต่ละคนไม่ได้มีที่ดินมากมาย
ข้าวที่ขายต่อหนึ่งรอบการผลิตจึงไม่มากเท่าไร ส่วนใหญ่จะเก็บไว้กินในครัวเรือน หากมีการขายได้ส่วนหนึ่งก็จะนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา วิถีของชาวบ้านชีทวนจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม และบุญประเพณีศาสนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าที่ขุมชนแห่งนี้จะมีวัดมากมายหลายวัด อีกทั้งยังมีพระธาตุ มีธรรมมาสิงห์ และเรือโบราณ ที่ขุดพบจากลุ่มแม่น้ำชี ซึ่งชาวบ้านในรุ่นต่อมายังคงสืบสานตำนานและประเพณีต่างๆไว้ทั้งหมด
3.บีบข้าวปุ้นลงลำชี ณ ท่าศาลา
จากขัวน้อยถัดไปทางทิศตะวันตก ในเขตตำบลชีทวน คือบ้านท่าศาลา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่แยกออกมาจากบ้านชีทวน ด้วยการมาตั้งชุมชนริมน้ำ ที่นี่จึงเป็นเหมือนตัวแทนวิถีชาวนาและชาวน้ำ หรือนากับน้ำ เป็นอย่างดี เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวมีไม่มาก รายได้ของชาวบ้านจึงมาจาก”น้ำชี”เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการทำนาเน้นนาข้าวเจ้าสำหรับการทำขนมจีน
โดยที่ชุมชนแห่งนี้ได้มีการสร้างโรงงานทำแป้งขนมจีนขึ้นมาเพื่อสร้างรายได้ให้ชาวบ้านในชุมชนอีกทาง สูตรการทำขนมจีนของชาวบ้านที่นี่เริ่มจากการหมักข้าวสารด้วยน้ำเปล่าไว้ 3 คืน และต้องล้างทุกคืนแล้วจึงจะนำมาตำให้ละเอียดในครกกระเดื่อง จากนั้นก็นำถุงข้าวที่ตำแล้วออกมานวด บีบให้เป็นเส้นผ่านรูเล็กๆ บนน้ำเดือดจัด
นอกจากนี้แล้วชาวบ้านกลุ่มนี้ยังรวมตัวกันแปรรูปปลาส้มจากแม่น้ำชีด้วย เพราะตามลักษณะภูมิประเทศของตำบลชีทวนทั้ง 11 หมู่บ้าน ส่วนของหมู่ที่ 4-5 บ้านท่าศาลาจะติดกับแม่น้ำชี ดังนั้นนอกจากข้าวแล้ว ชาวบ้านจึงมีปลาด้วย ความอุดมมบูรณ์ของปลาแม่น้ำชีทำให้ปลาส้มได้รสอร่อย กลุ่มชาวบ้านจะเลือกทำจากปลาโจกเป็นหลัก
เคล็ดลับการทำปลาส้มของชุมชนคือ ต้องใช้ข้าวเหนียวหมัก เพราะหากเป็นข้าวเจ้า เวลาหมักน้ำจะออกเป็นสีขาวขุ่นไม่อร่อย ส่วนปลาอื่นๆที่ได้จากแม่น้ำชี ชาวบ้านจะนำมาขายให้ร้านขายปลาในชุมชน เพื่อให้ร้านวางขายต่อ ปลาที่จับได้ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นปลาชะโด ปลาโจก ปลาเพี้ย ปลานกเขา ปลาเค้า ปลานาง ปลาตะเพียนทอง ปลากระทิง ปลาทั้งหมดนี้ขึ้นขื่อว่ามีเรื้อดีและรสอร่อยร้านขายแลาของชุมชนจึงเป็นที่นิยมอย่างมากของคนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง
ขณะเดียวกันชุมชนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตฝีพายในการแข่งเรือยาวชั้นยอดอีกด้วย เนื่องจากชาวบ้านที่ว่างเว้นจากการทำงานก็มักจะมารวมตัวกันซ้อมพายเรือยาวเพื่อไปแข่งในระดับประเทศ ซึ่งจุดเ่นของทีมแข่งเรือยาวของบ้านท่าศาลาคือฝีพายทุกคนที่ลงแข่งจะเป็นคนในชุมชนทั้งหมดต่างจากที่อื่นที่จะมีการจ้างคนนอกที่ฝีมือดีมาลงแข่ง บ้านท่าศาลาจึงได้ฉายาในวงการแข่งเรือยาวว่า “ฝีพายโอทอป”และเดินหน้ากวาดแชมป์เรือยาวระดับประเทศมาเป็นว่าเล่นแล้วด้วย
4.ใส่ชุดไหมไปทำนาที่บ้านหนองบ่อ
หนองบ่อเป็นพื้นที่นาทามคือพื้นที่น้ำท่วม ชื่อเสียงของหนองบ่อคือเรื่องของการท่อผ้าไหม ที่นี่เป็นที่เดียวในประเทศไทยที่ชาวนาใส่ชุดไหมไปทำนา โดยการทอผ้าของชาวบ้านหนองบ่อมี 2 แบบ คือ ทอใช้กันเอง และทอรวมกัน ซึ่งมีต้นทุนกลางของชุมชนเช่นเส้นไหมสีต่างๆ เรียกว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองบ่อ จะทำกันแบบครบวงจร
เริ่มตั้งแต่ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ย้อมสีไหมด้วยสีธรรมชาติ นำไปทอ นำไปมัดหมี่ หรือน้อมอีกครั้ง ภูมิปัญญาเหล่านี้ถูกฟื้นมาจากการตั้งต้นของแม่ประนอมที่กลัวว่า ความรู้เหล่านี้จะหายไปจากชุมชนจึงเริ่มศึกษาวิธีทอผ้า และเริ่มแกะลายผ้าที่มีอยู่ในหีบของทุกบ้าน จนได้วิธีทอดั้งเดิมออกมา และชักชวนให้ชาวบ้านหนองบ่อมารวมกลุ่มทอผ้าเพื่อเพิ่มรายได้จาการทำนา
นอกจากการทอผ้าแล้ว บ้านหนองบ่อยังมีการฟื้นการฟ้อนกบองตุ้มโบราณของชุมชน การฟ้อนดังกล่าวมีไว้เพื่อขอฝน ซึ่งตามประเพณีของบ้านหนองบ่อจะให้ชายแต่งกายเป็นหญิง คือนุ่งซิ่นหมี่ และหญิงนุ่งโสร่งไหมอย่างชาย เพื่อให้ผิดธรรมดาพญาแถนจะได้ไม่พอใจเทน้ำมาล้างสิ่งไม่ดี
ปัจจุบันชาวบ้านได้ประยุกต์กลองตุ้มฟ้อนได้ทุกโอกาส กำหนดท่าที่แน่นอนขึ้น ได้แก่ท่าไหว้ครู ท่าทอผ้า ท่าบัวตูมบัวบาน ท่าเซิ้งโบราณ ท่านกบินกลับ ซึ่งทุกท่าล้วนสื่อความหมายถึงวิถีชุมชน ซึ่งท่าบัวตูมหมายถึงการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ท่านกบินกลับรังหมายถึงอาชีพของคนในชุมชนที่เข้าไปทำไร่นา แล้วเย็นก็กลับมาหาครอบครัวเป็นต้น
แม้ว่าที่ผ่านมาบ้านหนองบ่อ อำเภอเมือง บ้านชีทวน บ้านท่าศาลา บ้านหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จะได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยงของจังหวัด แต่การพัฒนาการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นยังคงมีส่วนร่วมจากชุมชนน้อย ในขณะที่พื้นที่รอยต่อของทั้ง 4 หมู่บ้านมีวิถีชีวิต ภาษาและวัฒนธรรมทีเป็นเอกลักษณ์
มีอาชีพที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ชาวบ้านจึงมีภูมิปัญญาที่เกิดจากการสั่งสมมายาวนาน และด้วยวิถีชีวิตของชุมชนที่ยังเกี่ยวข้องกับวิถีข้าว ปลา นา น้ำ ที่ทรงคุณค่าทำให้เส้นทางการเชื่อมต่อทั้ง 4 หมู่บ้านมีความน่าสนใจ และสามารถผลักดันให้เกิดการเชื่อมร้อนให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: