X

เครือข่ายภาคประชาชนอัดร่าง พ.ร.บ.โรงงาน คสช. เป็นตัวสร้างปัญญหาสิ่งแวดล้อม

เครือข่ายภาคประชาชนอัดร่าง พ.ร.บ.โรงงาน ฉบับ คสช. เป็นตัวการณ์สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ร้อง สนช. ระงับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโรงงาน

ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนจัดงานเสวนาในหัวข้อ “ร่าง พ.ร.บ.โรงงาน ค.ส.ช. วาระซ่อนเร้น – ซ้ำเติมปัญหา PM 2.5 ?” ในวงเสวนาประกอบด้วยนางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนายการมูลนิธิบูรณานิเวศ, นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ กรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนายสุรชัย ตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ร่วมกันบรรยายถึงผลกระทบที่อาจตามมามูลนิธิบูรณะนิเวศ

นายธารา กล่าวว่า ลักษณะของคนกรุงเทพฯ เป็นคนสมาธิสั้น และถ้าหากเรื่องฝุ่นละอองจางหายไปก็คงลืมเพราะฉะนั้นเราต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องจริงๆเสียก่อน เพื่อให้เกิดความรู้และรับมือกับปัญหา ซึ่ง ฝุ่น PM 2.5 มักจะเจอมากตามเขตอุตสาหกรรมโรงงาน แต่ตอนนี้ได้แพร่ขยายเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งสร้างปัญหาเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นฝุ่นขนาดเล็กที่ลอยปกคลุมทั่วเมือง

เพราะฉะนั้นความเล็กของฝุ่นจะมีสิ่งอื่นมาเกาะฝุ่นด้วย นอกจากนี้ยังมีสาร อาร์เซนิก ปรอท พีเอเอช ซึ่งเป็นสิ่งอันตรายปนอยู่กับฝุ่น PM 2.5 ด้วย มีส่วนของสารก่อมะเร็งโดยจะสร้างอันตรายได้มากกับสุขภาพของประชาชน ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีโรงงานทั้งหมด 130,131 แห่ง และยังมีจำนวนนิคมอุตสาหกรรมอีก 87 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นชั้นดี

โดยโรงงานเหล่านี้จะปล่อยฝุ่นละอองออกมาแต่ก็ยังไม่ใช่ฝุ่นละอองประเภท PM 2.5 เนื่องจากไม่มีการตรวจจับเพราะไม่มีข้อมูล และไม่มีมาตรการตรวจสอบ แต่การที่ไม่มีฝุ่นเยอะนั้นก็เป็นการแก้ปัญหาด้วยการคิดไปเองของรัฐบาลเช่นการตรวจจับควันรถยนต์ หรือห้ามเผาในที่โล่ง โดยไม่ได้คำนึงถึงการปล่อยมลพิษจากโรงงาน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นคำถามใหญ่ต่อสังคมไทยว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร

นางสาวเพ็ญโฉม กล่าวต่อว่า ภายใต้รัฐบาลชุดนี้เอื้อการลงทุน แต่ลดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม มิหนำซ้ำยังสนุบัสนุนให้ใช้ขยะเป็นเพชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมด้วย และนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมทำให้คนที่อยู่ใกล้ๆโรงงานได้รับความเดือดร้อน และสิ่งที่เป็นปัญหาให้ระชาชนภาคตะวันออก คือการเวนคืนที่ดินของประชาชนในพื้นที่รองรับโครงการ อีอีซี เพื่อผลักดันเขตอุตสาหกรรม

แต่ไม่มีความรับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อง เราจึงไม่สามารถปล่อยให้การออกกฏหมายในประเทศอยู่ในมือคนไม่กี่คนอีกต่อไปไม่ได้แล้ว ซึ่งการออกกฏหมายที่ผ่านมามีการตัดเรื่องการฟื้นฟูความเยียวยาความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการโรงงาน ออกไป ทำให้รู้สึกว่าร่าง พ.ร.บ.โรงงานฉบับ ค.ส.ช. ที่ปกป้องมลพิษทอดทิ้งชีวิตประชาชน เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ขณะเดียวกันใน พ.ร.บ.โรงงานและการตั้งโรงงานที่เปลี่ยนไป จะทำให้โรงงานจำนวนมากไม่อยู่ใต้ พ.ร.บ.โรงงานอีกต่อไป และไปอยู่ใต้กรอบกระทรวงสาธารณสุขแทน ซึ่งมีข้อบังคับที่อ่อนกว่ามาก จะยิ่งเป็นการเพิ่มการปล่อยมลพิษ ซึ่งส่วนตัวอยากให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณาดีๆว่าจะมีผลกระทบมากแค่ไหนที่จะตามมาในอนาคตอันใกล้หากมีการปล่อยให้ พ.ร.บ.โรงงาน ฉบับที่ ค.ส.ช. เสนอนั้นมีผลบังคับใช้

ส่วนนายสุรชัยกล่าวทิ้งท้ายว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.โรงงานครั้งนี้ไม่ได้ยกเลิก พ.ร.บ.เก่า แต่เป็นการนำเสนอประเด็นใหม่ ดังนั้นปัญหาเก่าๆก็ยังคงอยู่และไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งตัวกฏหมายใหม่ๆ ไม่ค่อยมีการพูดถึงเรื่องมาตรการเยียวยาแก้ไขปัญหา ซึ่งถ้าเกิดผลกระทบต่อประชาชนก็ไม่สามารถไปเรียกค่าเสียหายจากใครได้ ซึ่งแน่นอนว่าประชาชนต้องไปร้องเรียนกับรัฐบาล ซึ่งจะมีความล่าช้าในการดำเนินงานอย่างแน่นอน

ปัญหาตอนนี้คือรัฐบาล คสช. พยายามสร้างพันธะผูกพันธ์ให้กับรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง ซึ่งเป็นความไม่ชอบธรรมอย่างมาก ที่รัฐบาล คสช. มีการวางโครงการต่างๆ ที่ผูกพันธ์กับรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งหน้าที่ของรัฐบาล คสช. ขณะนี้ควรจะอยู่ในสถานะรักษาการอย่างเดียว และ สนช. ควรจะถอนร่าง พ.ร.บ. ที่ คสช. ได้เสนอไปก่อนหน้านี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับประเทศมากกว่านี้ นายสุรชัย กล่าว

อย่างไรก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้รับการเร่งรัดจากรัฐบาลให้รีบพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหลายฉบับก่อนที่รัฐบาลชุดนี้จะหมดวาระลง รวมไปถึงพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโรงงานตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือถึงประธานสภานิติบัญญัติห่งชาติเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.61 เพื่อให้สนช. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการด่วน

ต่อมาที่ประชุม สนช. ได้ลงมติรับหลักการและมีมติเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 61 แต่งตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโรงงาน โดยกำหนดให้แปรญัตติภายใน 15 วัน โดยมีระยะดำเนินการ 45 วัน ต่อมาเครือข่ายภาคประชาสังคมได้ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้ประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ตลอดจนสมาชิก สนช. ระงับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโรงงาน ฉบับลดทอนมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและประชาชน ด้วยความห่วยใยถึงผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะความเสียหายของสิ่งแวดล้อมจากมลพิษอุตสาหกรรม และความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับโรงงานอุตสาหกรรมที่อาจจะรุนแรงมากขึ้นอันเป็นผลจากการรวบรัดแก้ไขกฏหมายฉบับนี้หากร่างกฏหมายฉบับนี้ผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้ในอนาคต

จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้ปัญหามลพิษของฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งจะแก้ไขได้ยากยิ่งขึ้นในอนาตต เครือข่ายภาคประชาสังคม จึงได้เรียกร้องให้สภานิติบัญญัติถอนร่างพระราชบัญญัติโรงงาน จากการพิจารณาใน สนช.และถ้าหากพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวผ่านร่าง สนช. จะเกิดผลกระทบอย่างแน่นอนกว่า 6 ข้อดังนี้

1.การตั้งโรงงานทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการสร้างอาคารโรงงานสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความหละหลวมในการตรวจสอบและพิจารณาถึงความเหมาะสมของทำเลที่ตั้งโรงงาน ซึ่งจะมีปัญหาตามมาภายหลัง

2.โรงงานจำนวนมากจะไม่อยู่ภายใต้การกำกับของกฏหมายโรงงานอีกต่อไป เนื่องจากมีการแก้ไขนิยาทโรงงาน ทำให้โรงงานขนาดต่ำกว่า 50 แรงม้า หรือกิจการที่มีคนงานน้อยกว่า 50 ไม่ถือเป็นโรงงาน ตามร่างกฏหมายฉบับใหม่ และจะส่งผลให้ไม่ต้องคำนึงถึงกฏหมายผังเมือง

3.การยกเลิกอายุของใบอนุญาตประกอบกิจการ จะส่งผลให้ไม่มีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการต่ออายุใบอนุญาต

4.การถอนมาตราว่าด้วยประกันภัย หรือหลักประกัน หรือกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน หรือเพื่อการฟื้นฟู หรือเพื่อการทำให้พื้นที่ตั้งโรงงาน หรือบริเวณโดยรอบกลับคืนสู่สภาพเดิมหรือสภาพที่เหมาะสม ซึ่งเป็นมาตราสำคัญที่หน่วยงานราชการและผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากเห็นว่า ประเทศไทยควรนำมาใช้โดยเร็วเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และมีกองทุนสำหรับแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมลพิษอุตสาหกรรมโดยตรง

5.การให้อำนาจหน้าที่แก่ภาคเอกชนในการตรวจสอบโรงงาน โดยขาดการกำกับและการลงโทษที่เข้มงวดแก่ผู้ตรวจสอบเอกชน จะเปิดโอกาสให้เกิดการร่วมกระทำผิดและความไม่โปร่งใสในระบบการตรวจสอบและรับรองสถานประกอบการทั้งระบบได้ง่าย

6.การลงโทษสำหรับการกระทำผิดตามร่างพระราชบัญญัติโรงงาน ยังล้าหลัง ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของปัญหาปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำๆ เนื่องจากสาระสำคัญของบทลงโทษในร่างพระราชบัญญัติเหมือนกับกฏหมายที่บังคับใช้อยู่ ซึ่งไม่สามารถป้องปรามกระทำผิด หรือทำให้ผู้กระทำผิดเคารพยำเกรงกฏหมายได้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน