นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นหนังสือให้ กกต. สอบคุณสมบัติของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ชี้ขาดคุณสมบัติการถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีเพราะเข้าข่ายเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ แกนนำพรรคไทยรักษาชาติเดินทางมายังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ กกต. ให้พิจารณายุบพรรคพลังประชารัฐกรณีเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ชี้ พลเอกประยุทธ์เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติการได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี
ซึ่งนายเรืองไกรกล่าวว่า พลเอกประยุทธ์ เป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติการรับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีตามกฏหมายมาตรา 160 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 รัฐมนตรีต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 คือ เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นๆ
ข่าวน่าสนใจ:
- พร้อมรับสมัครเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภา อบจ.พังงา เชิญชวนคนดีมีความสามารถมาสมัคร 23-27 ธันวาคมนี้
- นายกฯ ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ พร้อมสั่งการหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร…
- ตร คลี่ปม หนุ่มวัย 29 ปี ถูกรถไฟชน มีเสื้อมัดเท้า ยืนยันเป็นเพียงมัดแทนรองเท้าเดินริมทางรถไฟ
- พบช้างป่าอยู่ใกล้ที่ทำร้ายคนเสียชีวิตเร่งผลักดันหวั่นเกิดเหตุซ้ำ จ.ปราจีนบุรี
และเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 62 พลเอก ประยุทธ์ ได้ลงนามในหนังสือยินยอมให้เสนอชื่อให้สภาผู้แทนราษฏรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยรับรองว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย
พร้อมกันนี้เมื่อวันที่ 8 ก.พ. นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐได้ลงนามตามแบบ ส.ส. 4/29 เพื่อแจ้งรายชื่อ พลเอกประยุทธ์ และได้นำแบบ ส.ส. 4/29 ยื่นต่อ กกต. โดยมีข้อความท้ายแบบดังกล่าวให้หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐรับรองว่า ผู้ได้รับการแจ้งรายชื่อเพื่อจะเสนอสภาผู้แทนราษฏรพิจารณา
ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา 160 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และยังเป็นที่ทราบกันว่า พลเอกประยุทธ์ เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)
มีอำนาจตามความในรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 44 และได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 125,590 บาท ตามความในพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้ดำรงตำแห่งตามรัฐธรรมนูญบางตำแหน่ง พ.ศ.2557 ที่ให้ไว้ ณ วันที่ 5 พ.ย. 2557
พลเอกประยุทธ์ จึงได้รับเงินทุกเดือนเดือนละ 125,590 บาทมาจนถึงปัจจุบัน คิดคำนวนเงินที่ได้รับไปจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งมาจากภาษีประชาชนจากเดือน พ.ย.57 ถึงเดือน ก.พ.62 ได้รับ 52 เดือน คิดเป็นเงินทั้งหมด 6,530,680 บาท
ดังนั้นพลเอก ประยุทธ์ จึงอาจเข้าข่ายเป็นเจ้าหน้าที่อื่นชองรัฐ ตามความในมาตรา 98(15) ย่อมเข้าลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฏรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
และตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2543 กกต. เคยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐมาแล้ว ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้ส่วนหน่งว่า ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ดังนั้นตำแหน่งหัวหน้า คสช.
จึงอาจเทียบเคียงได้กับตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบ กรณีจึงมีเหตุที่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป ตนจึงได้มาเรียนให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พลเอก ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช.เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่
ส่วนเรื่องการที่พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานสรรหา สว. 250 คน แต่ยังไม่มีการเปิดเผยรายชื่อคณะกรรมการร่วมสรรหาด้วยนั้น ตนเองเชื่อว่าจะไม่มีการเปิดเผยอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นสิ่งไม่ยุติธรรมและไม่โปร่งใส การที่จะนำความยุติธรรมกลับมานั้นส่วนตัวมองว่าจนกว่าจะมีสภาที่มาจากเสียงของประชาชน ไปคานอำนาจ
และถ้าอำนาจของ คสช. หมดลงเมื่อไร พลเอก ประยุทธ์ จะรู้และเข้าใจทันทีว่าเวทีการเมืองที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร เพราะจะมีเสียงจากฝ่ายค้านมาถ่วงดุลอำนาจทำให้ไม่สามารถทำอะไรได้ตามใจชอบเหมือนครั้งเป็นรัฐบาล คสช. ตนจะรอให้ถึงวันนั้น และคิดว่ากำลังจะมาในไม่ช้าแล้ว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: