กระทรวงศึกษาธิการรับรองหลักสูตรออนไลน์ด้านดิจิทัลของ IBM และ Microsoft นอกจากนี้ได้มอบประกาศความร่วมมือการจัดการศึกษาของหลักสูตรต่าง ๆ จากนานาประเทศ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 6 หลักสูตร
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ มีผลการดำเนินงานที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันอุดมศึกษา มีความตื่นตัวเป็นอย่างมาก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย) ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานมีความยินดีที่กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการโครงการนี้ และพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนการจ้างงานผู้ที่จบการศึกษาจากหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติด้วย
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับรองหลักสูตรออนไลน์ด้านดิจิทัลของ IBM (International Business Machines) และ Microsoft ซึ่งจะเป็นการเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาหลักสูตร Dual Vocational Training Abroad ของเยอรมนี โดยสถาบันอาชีวศึกษาสามารถนำหลักสูตรนี้ไปปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม
ข่าวน่าสนใจ:
- จ.สกลนคร จัดพิธีรับ-ส่งทหารกองเกินฯ ผลัดที่ 2 ประจำปี 2567 รวมจำนวน 1,332 นาย
- ขนมไทยประยุกต์ บ้านแม่เอ็ม” แป้งบาง กรอบนอกนุ่มใน ไข่หงส์ อีตุยไส้มะพร้าว ไส้เห็ดหอม เจ้าแรกในลำปาง
- สหายแสง และพวก แห่จองกฐิน ทนายตั้มฟ้องหมิ่นฯ เรียกค่าเสียหาย 30 ล้าน ยันจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
- ปชน.ตรัง จัดรำลึกลุงนวมทอง เร่งขยายฐานสมาชิกให้ครบแสนคน ตรังพุ่ง 300 คนแล้ว รอตั้งสาขาพรรค ลั่น กวาดเก้าอี้ส.ส.เขตรอบหน้า
โดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นหลัก เพื่อยกระดับอาชีวศึกษาไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าเยอรมนี พร้อมกันนี้ ประเทศสิงคโปร์เสนอที่จะจัดหาสถานที่ในการฝึกปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนในหลักสูตรอาชีวะนานาชาติของทุกประเทศด้วย สำหรับค่าใช้จ่ายในการเรียน กระทรวงศึกษาธิการเตรียมที่จะเจรจากับธนาคารออมสินและธนาคารอื่น ๆ เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาด้วย
สิ่งสำคัญคือ การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ ให้นักเรียนและนักศึกษารับรู้ เพื่อกระตุ้นให้เด็กมาเรียนหลักสูตรที่มีมาตรฐานนานาชาติ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะขณะนี้ มีสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนบางแห่ง เปิดโอกาสให้ได้เรียนก่อน แล้วจ่ายค่าใช้จ่ายภายหลัง ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีงานทำหลังจบการศึกษาแน่นอน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า จะมีการผลักดันให้การดำเนินการอาชีวศึกษานานาชาติ เป็นนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ และมีมาตรฐานเทียบเท่านานาชาติ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและผู้จ้างงาน ทั้งนี้ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2562 นี้ กระทรวงศึกษาธิการจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำเสนอหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติที่ได้รับการรับรองให้กับสถาบันอุดมศึกษากว่า 180 แห่ง ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้เป็นประธานมอบประกาศความร่วมมือการจัดการศึกษาของหลักสูตรต่าง ๆ จากนานาประเทศ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 6 หลักสูตร จาก 5 ประเทศ คือ
หลักสูตรออนไลน์ด้านดิจิทัล 2 หลักสูตร จากสหรัฐอเมริกา
หลักสูตร Dual Vocational Training Abroad จากเยอรมนี
หลักสูตร BTEC ของ Pearson จากสหราชอาณาจักร
หลักสูตร International Computer Driving License : ICDL หรือวุฒิบัตรรับรองความสามารถคอมพิวเตอร์สากล จากสาธารณรัฐไอร์แลนด์
หลักสูตรการสอนเกี่ยวกับการโรงแรมและอุตสาหกรรมภาคบริการ ของ William Angliss Institute จากออสเตรเลีย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: