กสทช.แจงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล และโทรคมนาคม โดยให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมผ่อนชำระค่าคลื่นความถี่ 900 MHz ไปจนถึงปี 69 แต่ต้องรับการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz ด้านทีวีดิจิตอลเปิดโอกาสให้คืนใบอนุญาตภายในวันที่ 10 พ.ค.นี้ พร้อมเตรียมคืนเงินประมูลให้ 3 ช่อง รวม 986 ล้านบาท
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.เรียกผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลชี้แจงมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทนทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งมาตรการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาสำนักงาน กสทช.ไม่ได้มีการให้รายละเอียดแต่อย่างใดเพราะอยากให้มีความพร้อมที่ชัดเจนเสียก่อน และต้องการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ ม.44 ว่าจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 21 ก.ย.60 TUC และ AWN มีหนังสือถึงหัวหน้าคสช. ขอผ่อนผันคลื่น 900 MHz ในงวดที่ 4 ออกไป 7 งวด และเมื่อวันที่ 21 พ.ย.61 DTN มีหังสือถึงหัวหน้าคสช. เพื่อขอแบ่งการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ออกเป็น 15 งวด
ในขณะที่วันที่ 17 ต.ค.60 ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล มีหนังสือถึงหัวหน้าคสช. เพื่อขอให้นำคลื่นความถี่ 700 MHz ที่กันไว้สำหรับทีวีดิจิตอลมาจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ และเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งหนังสือทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวเป็นที่มาของการออก ม.44 เพื่อดูแลเรื่องดังกล่าว และเมื่อประมวลภาพที่ออกมาแล้ว คสช. ได้เชิญทุกส่วนหารือร่วมกันจนกระทั่งเป็นคำสั่ง ม.44 ที่ผ่านมา
ข่าวน่าสนใจ:
- “ปลายฝน ต้นหนาว เคาท์ดาวน์ มิวสิคเฟส สุราษฎร์ธานี” ไฮไลท์ประกวดควายไทยมูลค่ากว่า 10 ล้าน
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
- ชาวบ้านยังผวา บ้านสไลด์ตกน้ำบางปะกงตามกัน ไม่กล้าออกไปทำกิน
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
การแก้ปัญหาส่วนโทรคมนาคม
มีการให้แบ่งงวดชำระคลื่นความถี่ 900 MHz ออกเป็น 10 ปี หรือ 10 งวด หากผู้ประกอบการต้องการใช้สิทธิในส่วนนนี้ต้องยื่นเรื่องกับ กสทช. ภายในวันที่ 10 พ.ค.นี้ หากยื่นสิทธิดังกล่าวแต่ไม่ขอรับการจัดสรรค์คลื่นความถี่ 700 MHz ที่จะมีการประมูล ถือเป็นการผิดเงื่อนไขและจะถูกยกเลิกสิทธิในการแบ่งชำระ 10 ปี
สรุปการชำระเงินตามคำสั่ง คสช. ปี 63 เอไอเอส และทรูมูฟ จะต้องชำระเงินในคลื่น 900 MHz ครั้งสุดท้าย 130,328 ล้านบาท แต่หากไปดูคำสั่ง คสช. ที่ออกมาต้องเอาเงินผลประมูลทั้งหมด ของเอไอเอส และทรูมูฟรวมกันหารด้วยสิบปีย้อนหลังกลับไปโดยให้ปีที่ 1 ที่มีการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz คือปี 59
ดังนั้นตัวผู้ประกอบการต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มให้ กสทช. และจะสิ้นสุดในปี 69 ซึ่งจะทำให้ปี 63 รัฐจะมีรายได้ 54,800 ล้านบาท ปี 64 รัฐจะมีรายได้ 20,322 ในส่วนของปี 65 ดีแทคต้องจ่าย 20,332 ล้านบาท และปี 68-69 ดีแทคจ่ายค่าคลื่นประมูล 900 MHz รวมทั้งหมดแล้วรัฐจะมีรายได้ทั้งสิ้น 278,317 ล้านบาท
และในวันที่ 1 ต.ค.63 จะเป็นการจ่ายเงินประมูลความถี่ย่าน 700 MHz และเป็นวันให้ใบอนุญาติวันแรก และคาดว่าจะมีเงินเข้ารัฐอีกอย่างน้อย 62,300 ล้านบาท ในปี 64 รัฐจะมีรายได้ 27,000 ล้านบาทจากการประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz ซึ่งคำสั่งคสช. ที่ออกมาเป็นการรักษาผลประโยชน์ให้แก่ประเทศอยู่แล้ว
ในภาพโทรคมหากไม่มี 5G ในประเทศก็จะเสียสิทธิ ดังนั้นผลกระทบต่อ 5G ในภาคเกษตรจะมีมูลค่าเพิ่ม 90,000 ล้านบาท ภาคการผลิตเพิ่ม 600,000 ล้านบาท การขนส่งเพิ่ม 120,000 ล้านบาท
และปี 65 ประเทศไทยจะเข้าสู่สัมคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบดังนั้นการจะทำให้ภาคสาธรณสุขเดินต่อไปได้ต้องมีสมาร์ทฮอสพิตอล เพื่อรักษาโรคผิวหนัง โรคตา โรคเบาหวาน และโรคความดัน ซึ่งต้องเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วย การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 5G จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศอีก 2.3 ล้านล้านบาท
การช่วยเหลือทีวีดิจิตอลจะมีมาตรการดังนี้
1.อนุญาตให้ผู้ประกอบการคืนใบอนุญาติทีวีดิจิตอล โดยต้องแจ้ง กสทช. ภายใน วันที่ 10 พ.ค.62 หากต้องการคืนใบอนุญาต
2.มี 17 ช่องยังค้างชำระค่าประมูลในงวดที่ 4.5 ซึ่ง กสทช.ให้ผู้ที่ค้างชำระ ชำระภายในวันที่ 8 ส.ค.62 แต่อนุโรมให้จ่ายเป็นดอกเบี้ยอย่างเดียวได้ก่อน ในอัตราร้อยละ 7.5% ต่อปี
3.การคืนเงินประมูลงวดที่ 5-6 ใน 17 ช่องจะมีการนำเงินมาชำระ 3 พันล้านบาท แต่จะมีการคืนเงินให้ 3 ช่อง 9 ร้อยล้านบาทเนื่องจากได้มีการชำระมาก่อนหน้านี้ ได้แก่ช่องสปริงนิวส์, ช่องเวิร์คพอยท์ และช่อง 7 แต่หากไม่มีช่องชำระเงินดังกล่าว และไม่มีเงินไปใช้ 3 ช่องดังกล่าว กสทช.จะจ่ายเงินคืนให้ 3 ช่องเรียงตามผลประกอบการ ถ้าผลประกอบการช่องใดแย่ที่สุดจะได้รับเงินจาก กสทช.ก่อนอันดับแรก แต่ทั้งนี้คาดว่าจะมีการชำระเงินครบในส่วน 936 ล้านบาทที่ต้องชดใช้คืนให้กับ 3 ช่องดังกล่าว
4.การจ่ายค่า mux วันที่ 1 ก.ค.63 กสทช. จะมีการจ่ายค่า mux 100% ให้กับผู้ประกอบการโครงข่ายโดยตรง ซึ่งจะเป็นระยะเวลาที่ กสทช. ต้องแบกรับ 9 ปี 6 เดือน เป็นมูลค่า 18,800 ล้านบาท
นอกจากนี้การจัดตั้งเรตติ้ง คสช. ได้ให้ กสทช. จัดทำองค์กรกลางที่มีการจัดทำเรตติ้งเพื่อวัดเรตติ้งให้ได้แบบในมือถือ คอมพิวเตอร์ แทปเลต และทีวี เพื่อความเป็นธรรมอย่างถึงที่สุดในการวัดเรตติ้ง ที่แต่เดิมจะวัดแต่ในทีวี ซึ่งจะใช้งบประมาณ 431 ล้านบาท
ทั้งนี้สำนักงาน กสทช.จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดการเรื่องต่างๆ ภายในวันที่ 19 เม.ย.นี้ ซึ่งมีการทำงานดังนี้
ด้านโทรคมนาคม
1.คณะทำงานเกี่ยวกับการจัดทำหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz
2.คณะทำงานเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz
3.คณะทำงานเกี่ยวกับการประเมิณมูลค่าคลื่นความถี่ 700 MHz (แต่งตั้งแล้ว)
4.คณะทำงานเกี่ยวกับการคืนหลักประกันเดิมและจัดทำหลักประกันใหม่
ด้านทีวีดิจิตอล
1.คณะอนุกรรมการเพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขการชดเชย กรณีคืนใบอนุญาตทีวีดิจิตอล และกรณีได้รับผลกระทบจากการถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz
2.คณะทำงานเกี่ยวกับการคืนหลักประกัน และการตรวจสอบการชำระเงินตามคำสั่ง คสช. ในข้อ 12
3.คณะทำงานเกี่ยวกับการสร้างความรับรู้และความเข้าใจต่อการดำเนินตามคำสั่ง คสช.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: