กฟผ. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ SU – EGAT Young Animation Creators Workshop ภายใต้โครงการ EGAT Animation Awards 2019 ภาคกลาง – ภาคตะวันออก มุ่งส่งเสริมศักยภาพเยาวชนด้านการสร้างสรรค์สื่อ เพื่อการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของพลังงานไฟฟ้าไทย
นายพิพัฒน์ บุนนาค ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตนครหลวง (อปล.) พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร และอาจารย์นฤชร สังขจันทร์ รักษาการคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด การอบรมเชิงปฏิบัติการ SU – EGAT Young Animation Creators Workshop ภายใต้โครงการ EGAT Animation Awards 2019 แนวคิด “ไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่า” โดยมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนกว่า 50 คน ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
นายพิพัฒน์ บุนนาค (อปล.) กล่าวว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ SU – EGAT Young Animation Creators Workshop เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ EGAT Animation Awards 2019 เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี กฟผ. ภายใต้แนวคิด “ไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่า” ส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญด้านพลังงานไฟฟ้าผ่านการสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชัน โดยการให้ความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้า การผลิตแอนิเมชัน และจริยธรรมการสร้างสรรค์สื่อ สำหรับภาคกลางและภาคตะวันออก โดยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยศิลปากร กับ กฟผ. ระหว่างวันที่ 14 – 15 สิงหาคม 2562 ณ กฟผ. สำนักงานกลาง จ.นนทบุรี และ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
“ตลอดระยะเวลา 50 ปี กฟผ. มีภารกิจผลิตและจัดหาพลังงานไฟฟ้า เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ ทั้งภาคครัวเรือน และอุตสาหกรรม อันเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคม ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน อันกล่าวได้ว่า นวัตกรรมไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของคนไทยทุกคนเป็นสำคัญ” อปล. กล่าว
ข่าวน่าสนใจ:
- มุกดาหาร ศูนย์มะเร็งอุบลฯ จัดอบรม อสม.ครั้งที่ 19 เรียนรู้โรคมะเร็ง
- กฟผ.แม่เมาะ มอบความสุข สไตล์บาหลี อินโดนีเซีย ในงานฤดูหนาวและของดีนครลำปาง
- "ตรังโมเดล" โกโก้สร้างรายได้ให้เกษตรกร กิโลกรัมละ 8 บาท ภาคเกษตร-เอกชนร่วมมือเปิดจุดรับซื้อ 11 แห่ง
- รมว.วธ. ยินดีกับ “หลานม่า”เข้ารอบชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 97 เป็น 1 ใน 15 เรื่องสุดท้าย
ผู้ช่วยศาสตจราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช รักษาการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ความสําคัญแก่การให้บริการวิชาการภายนอกแก่สังคมอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ด้วยตระหนักดีถึงพลังของยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม หรือ “Learning for Society” โดยการเพิ่มเติมประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ความรู้ และ ทักษะต่าง ๆ ที่จําเป็นและมีประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์งานแอนิเมชันจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาของวงการอุตสาหกรรมสื่อดิจิทัล หากยังช่วยให้เยาวชนได้เห็นถึงความสําคัญของพลังงานไฟฟ้าที่มีต่อการดำเนินชีวิตของปัจเจกบุคคล และภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมอีกด้วย
ด้าน อาจารย์นฤชร สังขจันทร์ รักษาการคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า โครงการ EGAT Animation Awards 2019 เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี กฟผ. ภายใต้แนวคิด “ไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่า” สำหรับพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 64 ทีม โดยมีผู้ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายจาก 5 สถาบัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา โดยทีมที่ผ่านเข้ารอบจะได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ SU – EGAT Young Animation Creators Workshop เนื้อหาการอบรมแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การเติมความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อ “ไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่ากับภารกิจของ กฟผ.” โดย นายพัฒนพงศ์ สุวรรณธวัช ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตนครหลวง-2 (ช.อปล-2.) พร้อมเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. หลังจากนั้นรับฟังการอบรมหัวข้อการพัฒนาแนวคิดสู่การเขียนบท กระบวนการทำงานแอนิเมชัน และการออกแบบตัวละคร โดย คุณปัญญา ผาสุกโกวิทสิริ ผู้บริหารบริษัททุเรียนแอนิเมชัน และคุณธวัชพงศ์ ตั้งสัจจะพจน์ แอนิเมเตอร์อิสระและนักวาดการ์ตูน เป็นวิทยากร และการอบรมในหัวข้อจริยธรรมของผู้ผลิตภาพยนตร์ โดยรองศาสตราจารย์สดศรี เผ่าอินจันทร์ อดีตคณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนึ่ง กฟผ. โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 4 ภาค ทั่วประเทศ ได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น สำหรับภาคเหนือ โดยความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ภาคใต้ โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และภาคกลาง – ภาคตะวันออก โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปากร พัฒนาเยาวชนด้านการร้างสรรค์สื่อ เพื่อตระหนักรู้ถึงความสำคัญของพลังงานไฟฟ้าไทย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: