X
เลือกตั้งมาเลเซีย

เรียนรู้การเมืองมาเลเซีย เลือกตั้งพรุ่งนี้-จับตา “มหาเธร์” ทวงตืนอำนาจ

เลือกตั้งมาเลเซีย – พูดคุยกับ “คุณปรางทิพย์ ดาวเรือง” นักวิจัยและผู้สื่อข่าวอิสระ สมาชิกเครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ กับการเลือกตั้งของประเทศมาเลเซียในวันพรุ่งนี้ (9 พ.ค.61) พร้อมลุ้นว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะในครั้งนี้ไป

ผู้สื่อข่าว 77 ข่าวเด็ด ประจำจังหวัดสงขลา พูดคุยกับ “คุณปรางทิพย์ ดาวเรือง” นักวิจัยและผู้สื่อข่าวอิสระ สมาชิกเครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ กับการเลือกตั้งของประเทศมาเลเซียในวันพรุ่งนี้ (9 พ.ค.61) พร้อมลุ้นว่า ระหว่าง แนวร่วมรัฐบาล UMNO นำโดย “ราฌัก” ที่ได้พรรค PAS เป็นแนวร่วม กับ “พันธมิตรพรรคฝ่ายค้าน” ที่มี พรรค PPEM ของ ดร.มหาเธร์ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะในครั้งนี้ไป

สำหรับการเลือกตั้งมาเลเซียพรุ่งนี้ (9 พ.ค. 61) เป็นครั้งที่ 14 ที่สู้กันอย่างหนัก หลังจากที่มีการประกาศลงทะเบียนสมัคร 28 เมษาและมีเวลาหาเสียง 11 วัน มาเลเซีย มี 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 แห่ง ได้แก่ กัวลาลัมเปอร์ ลาบวน และปูตราจายา มีประชากรกว่า 30 ล้านคน โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้ 14.9 ล้านคน

โดยผลการเลือกตั้งครั้งก่อน เมื่อ 6 พ.ค.56 พรรคแนวร่วมแห่งชาติของมาเลเซีย ซึ่งนำโดยพรรคอัมโนและนายนาจิบ ราฌัก คว้าชัยชนะเลือกตั้งทั่วไป หลังจากคว้าที่นั่งในสภาได้แล้ว 133 ที่นั่ง ซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของที่นั่งทั้งหมด 222 ที่นั่ง ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำจากพรรคฝ่ายค้านได้เพียง 89 ที่นั่ง

มาเลเซีย มี 20 พรรคการเมือง เลือกตั้งวันพรุ่งนี้ เป็นปรากฎการณ์ “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร” และเป็นเกมทวงคืนอำนาจของ “ดร.มหาเธร์” จึงเป็นการสู้กันระหว่าง 2 ฝ่ายคือ แนวร่วมรัฐบาล UMNO นำโดย “ราฌัก” ที่ได้พรรค PAS เป็นแนวร่วม กับ “พันธมิตรพรรคฝ่ายค้าน” ที่มี พรรค PPEM ของ ดร.มหาเธร์ วัย 92 ปี เป็นแกนนำ พร้อมแนวร่วมที่สำคัญคือ พรรค PKR โดยภรรยา นายฮันวาร์ ฮิบรออิม ที่ติดคุกอยู่ และเ็นศัตรูเก่าทางการเมืองของ ดร.มหาเธร์ และได้พรรค DAP กลุ่มคนจีน และพรรคเล็กๆ อย่าง PAN สนับสนุนด้วย

ผลการเลือกตั้งของมาเลเซียน่าสนใจยิ่งสำหรับคนไทย และคนใต้บ้านเรา ด้วยเพราะ มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอยู่ในประเทศมาเลเซีย การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของมาเลเซียกระทบต่อการปรับขึ้นภาษีสินค้าที่นำเข้าบริเวณชายแดน รวมถึงค่าเงินริงกิตที่ตกต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการไทยที่ทำงานในประเทศมาเลเซียลำบากมากขึ้นหรือการปรับเพิ่มใบอนุญาตขอทำงาน หรือ work permit

1. เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนทั้งทางบกและทางทะเลร่วมกับประเทศไทย
2. เป็นคู่ค้าที่สำคัญอันดับที่ 4 ของไทย การค้ารวมระหว่างไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าเฉลี่ยประมาณปีละ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีสินค้าที่ไทยส่งไปมาเลเซีย เช่น ยางพารา คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ฯลฯ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซีย เช่น น้ำมันดิบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ฯลฯ
3. เป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 3 ล้านคน
4. เป็นพื้นที่ที่พี่น้องชายแดนใต้ไปเป็นกลุ่มแรงงานไทยในร้านต้มยำของมาเลเซีย (ร้านอาหารไทย) จำนวนมากกว่า 10,000 คน
5. เป็นพื้นที่เชื่อมต่อที่มีนัยทางด้านความมั่นคง ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ และกรณี “คนสองสัญชาติ” และที่พักพิงของผู้มีความเห็นต่าง

กรณีบุคคลสองสัญชาติมีความเป็นมาจากเหตุผลสำคัญคือ การ สร้างรัฐชาติจนนำไปสู่การขีดเส้นเขตแดนและการบัญญัติกฎหมายสัญชาติ ความผูกพันเป็นญาติ พี่น้อง มีภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่เหมือนกัน และพรรคการเมืองมาเลเซียต้องการฐาน คะแนนเสียงที่เป็นมลายูมุสลิม ขณะที่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นแรงจูงใจสำคัญที่สุดของการมีสอง สัญชาติ ส่วนจำนวนบุคคลสองสัญชาติไม่มีตัวเลขบันทึกไว้ที่แน่นอน

หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา รัฐบาลและฝ่ายนโยบายมักจะจับตามองบุคคลสองสัญชาติ และมีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ โดยใช้สถานะความเป็นบุคคลสองสัญชาติก่อการในฝั่งไทยแล้วหลบหนีไปฝั่งมาเลเซีย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน