เทศบาลเมืองลำพูน จัดแถลงข่าวเปิดตัว“โครงการลำพูนเมืองแห่งประวัติศาสตร์และการส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมดั้งเดิม สู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น” พร้อมชู 2 แหล่งเรียนรู้เมืองแห่งโคม และรถไฟเป็นศูนย์เรียนรู้นำร่อง แล้วจึงขยายผล ไปสู่การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แหล่งอื่น ๆ
ที่บริเวณด้านหน้า อาคารเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน นายประภัสร์ ภู่เจริญนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน เป็นประธาน พร้อมด้วยนางสุภาภรณ์ มานะรักษ์ เครือข่ายกลุ่มทำโคมล้านนา นายนเรนทร์ ปัญญาภู เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา และนายสรรเสริญ แสนสมบูรณ์ สารวัตรรถจักรเทศบาลเมืองลำพูน ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว“โครงการลำพูนเมืองแห่งประวัติศาสตร์และการส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมดั้งเดิม สู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ รวมถึงสื่อมวลชนท้องถิ่น ให้ความสนใจและเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
โดยเทศบาลเมืองลำพูน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์เมืองเก่า จึงได้ผลักดันให้มี การดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวขึ้น เป็นโครงการที่สำคัญในการสนับสนุนให้เกิดเมืองแห่งการเรียนรู้เป็นกรอบการทำงานที่ท้องถิ่นมีอำนาจและสามารถทำได้ ทั้งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัย เพื่อสร้างโอกาสและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาที่ค้นคว้าได้ในพื้นที่มากมาย ที่ไม่ได้อยู่เฉพาะในห้องเรียน เป็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในประชากรกลุ่มเปราะบาง ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในที่สุดและการดำเนินการจัดกิจกรรมแหล่งเรียนรู้
ในปีนี้ เทศบาลเมืองลำพูน ได้เลือกแหล่งเรียนรู้ จำนวน 2 แหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย แหล่งเรียนรู้โคม เป็นศูนย์การเรียนรู้ “เมืองแห่งโคม” โดยจัดแสดงนิทรรศการทางวิชาการ บอกเล่าข้อมูลและประวัติของโคมล้านนาแต่ละประเภท ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พร้อมกิจกรรม Workshop ทำโคมด้วยตนเอง กับกลุ่มอาชีพทำโคมของเทศบาลเมืองลำพูน และ แหล่งการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เมืองลำพูน (ศูนย์การเรียนรู้รถไฟ) เป็นการสร้างแหล่ง เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์รถไฟของเมืองลำพูน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับรถไฟที่ ถ่ายทอดผ่านข้อมูล ภาพถ่าย นิทรรศการ ณ สวนม่วนใจ๋ เทศบาลเมืองลำพูน ที่เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และสถานที่พักผ่อนหย่อน ใจสำหรับประชาชนทุกกลุ่มวัย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นำร่องต้นแบบ สร้างโอกาสและระบบ นิเวศทางการศึกษาของเมือง ให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาเรียนรู้ ได้ใช้ประโยชน์แล้วจึงขยายผล ไปสู่การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แหล่งอื่น ๆ ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: