เทศบาลตำบลบ้านกลาง ผนึกกำลัง บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ นำโดรนอัจฉริยะ HORRUS ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ ยกระดับท้องถิ่นไทยสู่ความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
วันที่ 11 ธันวาคม 2567 นายยุทธพงศ์ ไชยศร นายอำเภอเมืองลำพูน เป็นประธานในพิธีเปิดงานเปิดตัวโซลูชันการตรวจสอบและลาดตระเวนด้วยอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน (Horrus) ระหว่าง บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด และ เทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน นอกจากนี้ยังได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยพัฒนาและเผยแพร่โซลูชันการตรวจสอบและลาดตระเวนด้วยอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน (Horrus) และการเสวนา ในหัวข้อ “ชุมชนแห่งอนาคต: เทคโนโลยีโดรนกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมี หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดลำพูน คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ผู้บริหารบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ,บริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จำกัด ,หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน บริษัทเอกชน และผู้นำชุมชน ร่วมในพิธีดังกล่าว ณ ห้องประชุมศาลาประชาคม
นายสอน อิ่นแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลบา้นกลาง กล่าวว่า บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี เป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ ได้นำเทคโนโลยีโดรนอัตโนมัติ HORRUS มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบดูแลพื้นที่ การเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในชุมชนและนิคมอุตสาหกรรม ตรวจสภาพการจราจรภายในชุมชน รวมถึงช่วยตรวจสอบและวิเคราะห์ระดับน้ำในพื้นที่สำคัญ ทำให้เทศบาลสามารถเตรียมวางแผนการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความร่วมมือระหว่าง ARV และเทศบาลตำบลบ้านกลางในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาระบบความปลอดภัยแบบองค์รวม ด้วยการนำเทคโนโลยีโดรนอัตโนมัติ HORRUS มาใช้ในการบันทึกภาพมุมสูง และนำข้อมูลสำคัญมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตอย่างยั่งยืน ให้กับประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลตำบลบ้านกลาง อีกด้วย”
นายพงส์ โฆสานันท์ Head of Commercial บริษัท ARV กล่าวว่า ระบบโดรนอัตโนมัติ HORRUS แบบติดตั้งบนรถบรรทุก (HORRUS Truck-mounted) ทางบริษัท ได้นำมาใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง สามารถวางแผนเส้นทางการบินที่เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทางอากาศ จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน และดูแลบำรุงรักษาโดรน HORRUS ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยระบบดังกล่าวสามารถสนับสนุนภารกิจที่หลากหลาย อาทิ การสำรวจและติดตามข้อมูลการจราจร, การตรวจสอบคุณภาพและความคืบหน้าของโครงการก่อสร้าง, ดูการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สำรวจและติดตามความเปลี่ยนแปลงของลำน้ำ และการตรวจสอบสภาพโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการวางแผน และตัดสินใจในการบริหารจัดการพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: