วันนี้ (20 ก.ย. 61) ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ศรีสะเกษ นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เป็นประธานมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกอบรมอาชีพ รุ่นที่ 58 และมอบทุนประกอบอาชีพ จำนวน 4 ทุน พร้อมกล่าวให้โอวาทและข้อคิดในการประกอบอาชีพ และกล่าวปิดการฝึกการอบรมอาชีพ รุ่นที่ 58 โดยมี นางเบญจมาศ หะยาจันทา ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ศรีสะเกษ พร้อมด้วย ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้สำเร็จการศึกอบรมอาชีพ ให้การต้อนรับ
นางเบญจมาศ หะยาจันทา ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ศรีสะเกษ ได้จัดฝึกอบรมวิชาชีพให้กับสตรีและครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดโอกาสมีฐานะทางครอบครัวขาดแคลน ตลอดจนสตรีที่ขาดโอกาสทางด้านการศึกษาจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในเขตพื้นที่ดำเนินการ 10 จังหวัด เพื่อให้สตรีและครอบครัวมีความรู้ มีทักษะในการประกอบอาชีพ
ข่าวน่าสนใจ:
- ร้อยเอ็ด...กบห.โหวดพิฆาตเข้าพบรักษาการพ่อเมืองร้อยเอ็ด ร่วมต้อนรับรัฐมนตรีประจำสำนักฯ เปิดงานเดิน-วิ่งการกุศล ณ อ่างธวัชชัย 30 พ.ย. 67
- ลำปางระทึกไฟไหม้ รถบรรทุก 6 ล้อขนส่งพัสดุวอด คนขับหนีตายออกจากรถได้ทัน
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ผู้ว่าฯปัตตานี รินชาลงกลางใจมาแกแตสถานพินิจฯปัตตานี
โดยเปิดหลักสูตรระยะสั้น 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน ได้แก่ อาชีพเสริมสวย ตัดผมชาย อาหารโภชนาการ ตัดเย็บเสื้อผ้า นวดไทยเพื่อสุขภาพ จำนวน 270 คน หลักสูตรการฝึกอาชีพตามโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว โดยรวมกลุ่มฝึกอาชีพในชุมชน จำนวน 17 รุ่น รวมทั้งสิ้น 510 คน ซึ่งในรุ่นที่ 58 มีผู้สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพ จำนวน 780 คน และมีความประสงค์เข้ารับวุฒิบัตรจำนวน 200 คน
ทางด้าน นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวว่า การศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ศรีสะเกษ ได้ให้บริการด้านการฝึกอบรมอาชีพ แก่สตรีและครอบครัวที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ตลอดจนกลุ่มสตรีที่ต้องการเพิ่มทักษะฝีมือในวิชาชีพด้านต่างๆ ให้มีทักษะฝีมือในการประกอบอาชีพ เพื่อหารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวนั้น เป็นการสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ที่เห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจนของพี่น้องประชาชนในชนบท และเห็นความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น เพื่อป้องกันปัญหาสังคมด้านอื่นๆ
ทั้งนี้ สอดคล้องกับนโยบายของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มีความมุ่งหวังให้ประชาชาทุกคนสามรถพัฒนาตนเอง และพึ่งพาตนเองในการประกอบอาชีพ ซึ่งจะทำให้มีรายได้ที่ยั่งยืน ครอบครัวมีความมั่นคง ชุมชนมีความเข้มแข็ง ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นพื้นฐานในการพัฒนาสังคมด้านอื่นๆ ต่อไป
ฉัตรชัย พรหมมาศ รายงาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: