วันนี้ (6 ต.ค.61) ที่ ตลาดนัดพิเศษ หลังที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ขณะนี้ได้มีบรรดาพ่อค้า – แม่ค้า ที่ระดมกล้วยมาจากทั่วสารทิศ มาจากทั่วประเทศที่มีกล้วย ทั้งสุก ทั้งยังดิบๆ กำลังจะสุก นำมาวางจำหน่ายในช่วงนี้กันทุกปี ก็เนื่องจากกำลังก้าวเข้าสู่เทศกาลแซนโฎนตา หรือ ประเพรีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ของชนเผ่าเขมร 1 ใน 4 ชนเผ่าของจังหวัดศรีสะเกษ อันได้แก่ ชนเผ่าส่วย ลาว เยอ และเขมร ที่กำหนดไว้นับตั้งแต่บรรพบุรุษ ว่าถือช่วงเดือนสิบ หรือ แรม 15 ค่ำ เดือน 10
ลูกหลานของชนเผ่าเขมร ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็จะต้องเดินทางกลับมาบ้าน มาทำการห่อข้าวต้ม ที่ใส่ต้องใส่กล้วยไว้ข้างใน และในครอบครัวหนึ่งๆ ก็จะทำเยอะมากๆ เพราะจะต้องแจกจ่ายไปตามบ้านเรือนอื่นๆ จะต้องนำไปเซ่นไหว้ผีในทุกๆ ที่ที่มีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ และจะต้องนำฝากลุกหลานที่เดินทางกลับมาบ้าน นำกลับไปแจกจ่ายเพื่อนๆ ญาติๆ ต่อๆ กันไป ยิ่งมากเท่าใดก็จะบ่งบอกถึงฐานะ บ่งบอกถึงความมีน้ำใจต่อญาติพี่น้อง ยิ่งจะทำให้ร่ำรวย ไม่ยากจน หากมีจิตใจงาม รู้จักแจกจ่าย แบ่งปันกันกิน
ทำให้กล้วยจะขายดีมาก เพราะในบรรดาหนึ่งครัวเรือน นอกจากจะใช้ข้าวเหนี่ยมที่พวกตนปลูกเองได้แล้ว ก็จะต้องมาจับจ่ายหาซื้อกล้วยเป็นจำนวนมาก ๆ ซื้อกันที่ละหลายๆ เครือ เพราะนอกจากจะนำไปห่อข้าวต้มแล้ว ยังทำอาหารคาว หวาน หรือ เซ่นไหว้กล้วยงามๆ ทั้งเครือ จนมีคำกล่าวกันว่า ช่วงนี้จะเป็นเทศกาลกล้วยแสนหวี ประเพณีแซนโฎนตา กันเลย
ข่าวน่าสนใจ:
- ภูเก็ตคึกคัก นทท.ทั้งชาวไทย-ต่างชาติแห่ถ่ายรูปลุงซานต้า-น้องซานตี้ แลนด์มาร์คกลางเมือง ต้อนรับคริสต์มาส-ปีใหม่ 2568
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
- ชมรมโฮปฯ ร่วมกับชุมชน จัดกิจกรรม ซานตาโฮป แจกของขวัญให้กับเด็กในชุมชนกว่าพันชิ้น
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
นายสืบสวัสดิ์ สืบสายพรม นายกเทศบาลตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ เปิดเผยว่า คำว่ากล้วยแสนหวี เนื่องจากกล้วยถือว่าเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อประเพณีแซน นี้ ก็คือการนำกล้วยมาทำข้าวต้มมัด มาทำข้าวต้มต่าง ๆ และเป็นส่วนหนึ่งของการเซนไหว้บรรพบุษ ซึ่งในทุกๆ ปี ไม่ว่าจะมีกล้วยปลูกอยู่ที่ไหน ก็มักจะถูกระดมมาจำหน่ายในช่วงนี้ที่อำเภอขุขันธ์ จนมีคำกล่าวต่อๆ กันมาว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลกล้วยแสนหวี แล้วต่อด้วยประเพณีจริงๆ คือ แซนโฎนตา ซึ่งก็คือ การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ด้วยการใช้กล้วยเป็นปัจจัยสำคัญ นั้นเอง
ซึ่งชาวบ้านเวลาเขาซื้อ จะไม่ได้ซื้อเป็นหวี แต่จะซื้อกันเป็นเครือๆ กันเลยที่เดียว จึงมีพ่อค้า แม่ค้า นำกล้วยมาขายปีๆ ราวๆ เป็นแสนๆ หวี เลยที่เดียว เพราะมีเท่าไหร่ก็อาจจะไม่พอขาย ขายกล้วยดีมาก ในช่วงนี้ จนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2561 ซึ่งเป็นวันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันพระ ก็จะหมดเวลาแซน ของชาวเขมรนั้นเอง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: