พุทธศาสนิกชนเศร้า “หลวงปู่เกลี้ยง เตชะธัมโม” วัดบ้านโนนแกด เกจิดังเมืองศรีสะเกษ ละสังขารด้วยโรคชรา สิริอายุรวม 111 ปี
วันที่ 6 ม.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระครูโกวิทพัฒโนดม (เกลี้ยง เตชธฺมโม) เจ้าอาวาสวัดศรีธาตุ (วัดโนนแกด) ต.ทุ่ม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ได้ละสังขารแล้วด้วยโรคชรา เมื่อเวลา 08.59 น. ตรงกับวันพระใหญ่ ขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ สิริรวมอายุได้ 111 ปี 88 วัน ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ
หลวงปู่เกลี้ยง เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สายกรรมฐาน ทั้งแนวทางปฏิบัติของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่แห่งภาคอีสาน ได้รับการถ่ายทอดพุทธอาคม ศึกษาเรื่องสมุนไพรรักษาโรค และวิชากรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน เป็นที่เลื่องลือกันว่า ท่านมีความพิเศษสามารถนิมิตบันดาล หากมีผู้คนไปไต่ถามเรื่องต่างๆ เพียงแค่ยก ขันธ์ 5 บูชาคุณครู และบอกถึงความจำเป็นให้ท่าน ท่านจะตอบตามนิมิตบันดาล ส่วนใหญ่เป็นไปตามคำถามทุกประการ การรู้เห็นเป็นสิ่งเหนือวิสัยของคนทั่วๆ ไปที่ไม่สามารถรู้เห็นได้
ข่าวน่าสนใจ:
แต่หลวงปู่เกลี้ยง มีสิ่งเหนือสามัญวิสัย สามารถบอกเรื่องราวต่างๆ ได้ จะทราบว่าจะแก้ไขอย่างไร จนเป็นที่เคารพของคนทั่วไปทั่วประเทศ ร่ำลือว่า ท่าน วาจาสิทธิ์ หยั่งรู้ฟ้าดิน แม้แต่ นายสุชาติ ตันเจริญ อดีต รมช.มหาดไทย นักการเมืองชื่อดัง ยังมาบวชเงียบที่วัดบ้านโนนแกด เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์และศึกษาธรรม
หลวงปู่เกลี้ยง เกิดที่บ้านก้านเหลือง ต.หมากเขียบ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายบุญมี-นางผิว คุณมานะ มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน ในช่วงวัยเด็กได้ศึกษาใน รร.วัดบ้านโนนแกด จนจบชั้น ป.4 และเรียนต่อ ม.3 จบในปี พ.ศ. 2466 และทำงานช่วยสอนหนังสือแทนครู รร.บ้านโนนแกด สอนได้ 2 เดือน ก็ย้ายไปช่วยสอนที่ รร.บ้านโพรง ต.ไพรบึง อดีตขึ้น อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ เป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน และท่านก็ไปสอบ นักธรรมตรีที่สนามหลวง ซึ่งมีพระ สามเณร ไปสอบจำนวน 47 รูป ปรากฏว่าหลวงปู่เกลี้ยง และพระภิกษุสิงห์ สอบผ่านแค่ 2 รูป เท่านั้น
จากนั้นก็เรียนต่อนักธรรมโทที่ จ.บุรีรัมย์ แต่ในช่วงนั้น จำต้องลาสิกขาบทเพื่อเกณฑ์ทหาร จากนั้นท่านได้อุปสมบทอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ.2518 ที่วัดบ้านแทง ค.ซำ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ โดยมีพระเกษตรศีลาจารย์ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ค.เมืองใต้ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว มีผู้คนที่ล้มป่วย ไปรักษาโรงพยาบาลไม่หาย แต่หลวงปู่เกลี้ยง ได้ให้รักษาโดยใช้ยาตำรับแพทย์แผนโบราณ จนหายเจ็บป่วย จนเกิดแรงศรัทธา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: