เชียงใหม่ – นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง และ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ ประธานกรรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง ร่วมประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามนโยบาย ครั้งที่ 3/ 2563 โดยมีนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมการประชุมครั้งนี้ได้ติดตามความก้าวหน้า แผนการใช้ประโยชน์ที่ดินของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จังหวัดตาก ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานระหว่างโครงการหลวง ภาครัฐ และหน่วยงานในพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่เกษตรกรรม และที่ดินรายแปลงของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ รวม 25 หมู่บ้าน 3,333 ครัวเรือน ในเขต 2 อำเภอ คือ อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง จำนวนพื้นที่ 33,255.89 ไร่ เพื่อนำร่างแผนที่การใช้ที่ดินมาทับซ้อนกับการใช้ที่ดินปัจจุบัน และดำเนินการวางแผนพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของโครงการหลวง ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า ทำไร่ทำสวนในส่วนที่ควรเพาะปลูก โดยศูนย์เลอตอได้ส่งเสริมพืชผักและไม้ผลเขตหนาวแก่เกษตรกรปลูกเป็นอาชีพมาเป็นเวลา 2 ปี และได้จัดฝึกอบรมให้เกษตรกรเข้าใจในระบบปลูกพืชที่ได้มาตรฐานปลอดภัย นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาการขึ้นทะเบียนน้ำนมกระบือ และการขึ้นทะเบียน อย. ในผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำนมกระบือ ภายใต้ตราสินค้าโครงการหลวง ได้แก่ โยเกิร์ต และนมพาสเจอไรส์ชีส
จากนั้นในช่วงบ่าย นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง ได้เดินทางไปตรวจติดตามความก้าวหน้า และรับฟังการชี้แจงขอบเขตและผังการก่อสร้างในภาพรวม บริเวณจุดก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนกองทัพบก กองทัพภาคที่ 3 โยธาธิการและผังเมือง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมติดตาม ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร บริเวณพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง ในตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 21.9 ไร่ โดยใช้งบประมาณของมูลนิธิฯ เพื่อการศึกษาทดลอง วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆ ที่ปรับตัวได้ดีบนพื้นที่สูง และการค้นคว้าวิจัยเรื่องอื่นๆ ปัจจุบันห้องปฏิบัติการต่างๆ ของโครงการหลวง กระจายอยู่ตามพื้นที่ของหน่วยงานอื่น ดังนั้น การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแห่งนี้ จะเป็น
ศูนย์รวมการปฏิบัติงานด้านการวิจัย พัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรของโครงการหลวงอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการออกแบบการก่อสร้างได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานทรัพย์สิน
ข่าวน่าสนใจ:
- ป.ป.ส. จัดมหกรรมวันกองทุนแม่ของแผ่นดิน ภายใต้แนวคิด “2 ทศวรรษ กองทุนแม่ของแผ่นดิน ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง”
- "ไทย-ญี่ปุ่น" 70 ปี ของความร่วมมือเพื่อการพัฒนา (ODA) ในประเทศไทย
- ชาย วัย 63 รัวยิงยกครัว ก่อนยิงตัวเอง ดับ 4 สาหัส 1 ส่วนปมเหตุ ตำรวจให้น้ำหนักไปที่ เรื่องเงินกู้
- สธ.สระแก้ว เจ๋ง! คว้า 17 รางวัลดีเด่น ด้านอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม คลอบคลุม รพ.และ รพ.สต.
ส่วนพระมหากษัตริย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเพื่อให้การดำเนินการเป็นด้วยความเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพ ตามพระราชประสงค์ องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ได้แต่งตั้งคณะอำนวยการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมูลนิธิโครงการหลวง และผู้จัดการโครงการฯ เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานก่อสร้างให้เป็นไปตามพระบรมราชวินิจฉัย กลุ่มอาคารดังกล่าวประกอบด้วย อาคารนิทรรศการและศูนย์เรียนรู้ อาคารสำนักงาน และอาคารปฏิบัติการอีก 3 หลัง ซึ่งคาดว่า
จะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2565
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: