สมาคมบูลคาร์บอนโซไซตี้จัดกิจกรรมปลุกพลังปฏิบัติการลดขยะปกป้องท้องทะเล ที่สวนศรีนครินทร์นครเขื่อนขันธ์ โดยกินจะกรรมจะให้ผู้เข้าร่วมเดินหรือวิ่งรอบสวน พร้อมเก็บขยะตามทางมาร่วมกันขัดแยก แล้วทิ้งลงถัง
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 25 พฤษภาคม 2561 ที่สวนศรีนครินทร์นครเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ดร.ชวัลวัฒน์ และ นางทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ประธานสมาคม บลูคาร์บอนโซโลตี้ (Blue Carbon Society) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ได้เป็นประธานเปิดกิจกรรม ปลุกพลังสังคมร่วมปฏิบัติการลดขยะปกป้องท้องทะเล กับกิจกรรม Blue Plogging วิ่งเก็บขยะฟื้นฟูพื้นที่บริเวณคุ้งบางกะเจ้า ให้ลดความเสี่ยงต่อปัญหาปริมาณขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สมาคม บลูคาร์บอนโซโลตี้ ได้ร่วมกับบริษัทคัดแยกขยะรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ จำกัด และเครือข่ายพันธมิตร กว่า 200 คนได้ร่วมกันจัดขึ้น โดยกิจกรรมดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่ 1 ระยะทาง 3 กิโลเมตร ผู้ร่วมกิจกรรมจะวิ่งเก็บขยะภายในสวนศรีนครินทร์นครเขื่อนขันธ์ ส่วนประเภทที่ 2 ระยะทาง 6 กิโละเมตร ผู้ร่วมกิจกรรมต้องวิ่งเก็บขยะรอบนอก ตั้งแต่ปากทางเข้ามาจนถึงสวนศรนครินทร์นครเขื่อนขันธ์ โดยมีกติกาว่าทุกคนที่เข้าร่วมกินกรรมทั้ง 2 ประเภทจะต้องมีขยะกลับมาคนละไม่น้อยกว่า 2 กิโลกรัม ก่อนที่จะนำขยะทั้งหมดมาเทรวมกันและทำการคัดแยกขยะออกแต่ละประเภทเพื่อนำขยะเหลือใช้ประเภทพลาสติกที่เก็บรวบรวมได้ในกิจกรรมครั้งนี้ไปรีไซเคิล
กิจกรรม Plogging วิ่งเก็บขยะ มีที่มาจากคำว่า Jogging + Picking up หรือ Plocka Upp ในภาษาสวีเดน ซึ่งเป็นประเทศแรกที่จัดการวิ่งประเภทนี้ในปี พ.ศ 2559 ก่อนจะได้รับความนิยมไปทั่วโลก หมายถึงการวิ่งไป เก็บขยะไป ที่มีประโยชน์ทั้งต่อสุขภาพของผู้วิ่งและส่วนรวมคือชุมชนสะอาด คุ้งบางกะเจ้า ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ ยังคงสภาพป่าชายเลนธรรมชาติที่มี ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้รับยกย่องจาก Time ฉบับ The Best of Asia 2006 (พ.ศ.2549) ให้เป็น The Best Urban Oasis of Asia หรือเป็นโอเอซิสเมืองที่ดีที่สุดในเอเชีย จึงเป็นแหล่ง Blue Carbon สำคัญ ซึ่งสามารถถ่ายทอดเรื่อง Blue Carbon และการเชื่อมโยงระหว่างชุมชนเมือง ธรรมชาติ ท้องทะเล และชายฝั่งได้เป็นอย่างดี แต่หลังจากตลาดน้ำบางน้ำผึ้งที่ชาวบ้านช่วยกันพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พบปริมาณขยะเฉลี่ยอยู่ที่ 8,000 กิโลกรัมต่อวัน เพิ่มเกือบเท่าตัวจากปริมาณเฉลี่ยเดิมที่ 4,500 กิโลกรัมต่อวัน สัดส่วนขยะที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ ถุงพลาสติก 40% ขยะอินทรีย์ 26% ขยะรีไซเคิล (แก้ว และกล่องนม) 24% ขยะมูลฝอยทั่วไป 8% และขยะอันตราย 2% คุ้งบางกะเจ้าจึงมีความเสี่ยงต่อการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบไปสู่ระบบนิเวศทางทะเล ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ชุมชนและทุกฝ่ายต้องเริ่มต้นดูแลและฟื้นฟูพื้นที่บริเวณคุ้งบางกะเจ้า ให้ลดความเสี่ยงต่อปัญหาปริมาณขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กิจกรรม plogging ลดขยะบนบกเพื่อป้องกันขยะไหลลงสู่ทะเล ถือเป็นปฐมบทแห่งการดูแลรักษา ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง
การจัดกิจกรรม Blue Plogging วิ่งเก็บขยะ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สมาคม บลูคาร์บอนโซโลตี้ Blue Carbon Society มุ่งมั่นให้เป็นแนวทางในการปกป้องท้องทะเล ภายใต้พันธกิจของสมาคมฯ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งทะเล ในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงปกป้อง อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งให้มีความสมดุล
ดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ ประธานสมาคม บลูคาร์บอนโซโลตี้ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในวันนี้เพื่อตอบรับวันสิ่งแวดล้อมโลก วันที่ 5 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ เราสร้างเป็นบลูจอกกลิ่งขึ้นมา ความหมายก็คือ การวิ่งไปเก็บขยะไป คือทางบลูคาร์บอนโซไซตี้ เรามีพันธกิจข้อหนึ่งคือ บลูพีเพ่อ คือเราต้องการระดมคนที่มีจิตอาสามาร่วมกันทำสิ่งดีดีให้กับสังคมไทยก่อนและเผยแพร่ไปทั่วโลก คือเป็นการหาคนที่มีจิตอาสาสร้างเนตเวิกค์ต่อไปเลื่อย ๆ อันนี้คือสิ่งที่สำคัญมากที่ทำให้เขาได้คิดว่าเรามาอยู่บนโลกใบนี้ สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง เราไม่ได้เป็นเจ้าของโลกใบนี้ เราเป็นเพียงผู้อยู่อาศัยส่วนหนึ่งเท่านั้น มีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่อาศัยอยู่ที่เขาอยากสร้างโลกใบนี้ให้มีความสมดุล เพราะฉะนั้นเราต้องมาช่วยกัน อันนี้คือจุดประสงค์ที่ทางสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ ได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา ซึ่งจะมีการต่อยอดไปเลื่อย ๆ และยังมีอีกภารกิจหนึ่งที่จะต้องทำคือการสร้างศูนย์วิจัย สร้างแลปขึ้นมา อย่างเช่นว่าพลาสติกที่ลงสู่ท้องทะเลจำนวนมาก เราสามารถเอากลับมาทำอะไรได้บ้าง หรือกิจกรรมอื่น ๆ ในเรื่องที่จะสร้าง บลูเน็ตเวิกล์ หรือ บลูนัยเวอร์ซิตี้ ช่วยปกป้องสัตย์และสิ่งที่มีชีวิตต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายแถบชายฝั่งทะเลให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น เพื่อรักษาระบบนิเวศให้มีความสมดุล และบลูคาร์บอนก็จะดูดซัพคาร์บอนได้ออกไซด์ได้มากขึ้น ภาวะโลกร้อนก็จะลดลง ซึ่งเราจะระดมพลจากเมืองไทยก่อนที่สู่แต่ละประเทศทั่วโลกที่จะมาร่วมกันทำกิจกรรมแบบนี้ อย่างน้อยเรามาช่วยกันสร้างประวัติศาสตร์ด้วยกัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: