นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางมาเป็นประธานมอบอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ให้ตัวแทน 24 มูลนิธิทั่วประเทศ ที่สำนักงานใหญ่มูลนิธิร่วมกตัญญู อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
เมื่อช่วงสายวันนี้ที่ 26 เมษายน 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางมาที่สำนักงานใหญ่มูลนิธิร่วมกตัญญู อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เพื่อเป็นประธานในการประชุมการดำเนินงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ขององค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการในสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือ โควิด-19 โดยมี นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวให้การต้อนรับ และเรืออากาศเอกนายแพทย์ อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรปราการ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ สมุทรปราการ และผู้บริหารระดับสูงจากทุกหน่วยงาน ร่วมให้การต้อนรับ
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง สถาบันพระบรมราชชนกเตรียมผลิต 9 หมอรุ่นใหม่ นวัตกรรมสุขภาพไทยสู่ระดับโลก
- ตรัง ชาวบ้านสืบสานอนุรักษ์การปลูกข้าวไร่ไว้กินเองครอบครัวเหลือขาย
- 33 ปี ยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก 13-22 ธันวาคม 67
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
จากนั้นนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวเปิดงาน และมอบอุปกรณ์ป้องกัน การติดเชื้อ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ให้กับตัวแทนมูลนิธิ 24 มูลนิธิ ได้แก่ ชุดPPE หน้ากากอนามัย ถุงคุลมเท้า ถุงมือ แอลกอฮอล์ และFace shield พร้อมกับให้โอวาทและให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน จากนั้นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินมูลนิธิร่วมกตัญญู ได้สาธิตการให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ อย่างถูกวิธี และร่วมปล่อยขบวนรถ ส่งมอบอุปกรณ์การป้องกันการติดเชื้อให้กับมูลนิธิทั่วประเทศ
ด้านนายอนุทิน กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์ ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 เครือข่ายมูลนิธิ ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานการแพทย์ฉุกเฉิน ที่อยู่ใกล้ชิด ให้ความช่วยเหลือประชาชนมากที่สุด ได้ช่วยเหลือนำส่งผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ การรับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บอื่นๆที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อนำส่งโรงพยาบาล หรือเก็บร่างผู้เสียชีวิต ทั้งติดเชื้อและไม่ติดเชื้อให้แก่ญาติ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด โดยทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ ได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษเพื่อตอบโต้ โควิด 19 จำนวน 63 ทีมทั่วประเทศ โดยมีการอบรมเสริมสร้างทักษะความรู้ ในการป้องกันตัวเองให้เกิดความปลอดภัย รวมทั้งจัดอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อขณะปฏิบัติภารกิจ เพื่อเป็นทีมสำรองช่วยชุดปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 เป็นจำนวนมาก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: