นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางมาเป็นประธานมอบอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ให้ตัวแทน 24 มูลนิธิทั่วประเทศ ที่สำนักงานใหญ่มูลนิธิร่วมกตัญญู อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
เมื่อช่วงสายวันนี้ที่ 26 เมษายน 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางมาที่สำนักงานใหญ่มูลนิธิร่วมกตัญญู อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เพื่อเป็นประธานในการประชุมการดำเนินงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ขององค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการในสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือ โควิด-19 โดยมี นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวให้การต้อนรับ และเรืออากาศเอกนายแพทย์ อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรปราการ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ สมุทรปราการ และผู้บริหารระดับสูงจากทุกหน่วยงาน ร่วมให้การต้อนรับ
ข่าวน่าสนใจ:
- ชิง ส.อบจ.เพชรบูรณ์ ส่อเดือด! นักการเมืองรุ่นใหม่ทยอยเปิดตัว ท้าชนแชมป์เก่า
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- นายกฯ ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ พร้อมสั่งการหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร…
- ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา>ชาวพุทธ+ทพ.48 ร่วมทอดผ้าป่า
จากนั้นนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวเปิดงาน และมอบอุปกรณ์ป้องกัน การติดเชื้อ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ให้กับตัวแทนมูลนิธิ 24 มูลนิธิ ได้แก่ ชุดPPE หน้ากากอนามัย ถุงคุลมเท้า ถุงมือ แอลกอฮอล์ และFace shield พร้อมกับให้โอวาทและให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน จากนั้นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินมูลนิธิร่วมกตัญญู ได้สาธิตการให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ อย่างถูกวิธี และร่วมปล่อยขบวนรถ ส่งมอบอุปกรณ์การป้องกันการติดเชื้อให้กับมูลนิธิทั่วประเทศ
ด้านนายอนุทิน กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์ ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 เครือข่ายมูลนิธิ ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานการแพทย์ฉุกเฉิน ที่อยู่ใกล้ชิด ให้ความช่วยเหลือประชาชนมากที่สุด ได้ช่วยเหลือนำส่งผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ การรับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บอื่นๆที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อนำส่งโรงพยาบาล หรือเก็บร่างผู้เสียชีวิต ทั้งติดเชื้อและไม่ติดเชื้อให้แก่ญาติ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด โดยทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ ได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษเพื่อตอบโต้ โควิด 19 จำนวน 63 ทีมทั่วประเทศ โดยมีการอบรมเสริมสร้างทักษะความรู้ ในการป้องกันตัวเองให้เกิดความปลอดภัย รวมทั้งจัดอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อขณะปฏิบัติภารกิจ เพื่อเป็นทีมสำรองช่วยชุดปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 เป็นจำนวนมาก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: