จากกรณีที่รัฐบาลได้ประกาศให้สามารถเปิดภาคโรงเรียนทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนได้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 โรงเรียนต่างเร่งวางมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ก่อนเปิดเทอม ขณะที่ผู้ปกครองต่างเผยหาค่าเทอมให้ลูกลำบาก เนื่องจากช่วงที่โควิด 19 รายได้ลดลง แต่รายจ่ายยังเท่าเดิม ทำให้เงินไม่พอเก็บไว้จ่ายค่าเทอมลูก
จากกรณีที่รัฐบาลได้ประกาศให้สามารถเปิดภาคโรงเรียนทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนได้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ทำให้โรงเรียนทั่วประเทศ ต่างพากันวางมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในสถานศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนในระดับอนุบาลและในระดับประถม
ข่าวน่าสนใจ:
- กู้ภัยเร่งช่วยชีวิตหนุ่มขับรถกระบะตกคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ
- ค่ายรถยนต์ ผุดบูธเพิ่มช่องทางปั๊มยอดช่วงปลายปี หลังตลาดยังซบยาวต่อเนื่อง
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ธุรกิจโก-ลกเริ่มหวั่น! นทท.ลดฮวบ-หลังมาเลย์ดีเดย์ 1 ธค.เข้า-ออกผิดกฎหมาย - จับทันที
ขณะที่ทางด้านโรงเรียนเทศบาล 4 สิทธิ์ชัยอุปถัมภ์ ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับอนุบาล 1-3 และและระดับประถมปีที่ 1 – 6 ได้มีการวางมาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 ตามมาตรการของรัฐ โดยได้ระดับครูและอาจารย์รวมทั้งนักการภารโรง มาช่วยกันทำฉากกั้น เว้นระยะห่าง ติดตั้งที่โต๊ะรับประทานอาหารในโรงอาหารของโรงเรียน โดยนำท่อพีวีซีและพลาสติกใส มาเป็นวัตถุในการประดิษฐ์ฉากกั้นยึดกันโต๊ะนั่งรับประทานอาหารป้องกันน้ำลายและการแพร่กระจายของเชื้อโรคในอากาศ และทำการลดปริมาณนักเรียนจากเดิมที่นักเรียนนั่งทานกันโต๊ะละ 6 คน ทางโรงเรียนได้ลดจำนวนนั่งของนักเรียนลงเหลือโต๊ะละ 4 คน โดยบังคับให้หันหน้าไปในทิศทางเดียวกันเพื่อเป็นการเว้นระยะห่าง โดยมีฉากกั้นกลาง
น.ส.วารุณี วงศ์พิมพ์พระ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 สิทธิ์ชัยอุปกถัมภ์ ได้กล่าวว่า สำหรับมาตรการในการป้องกันของโรงเรียนเรา เราเริ่มตั้งแต่หน้าประตูทางเข้า เราจะจัดครูเวรดูแลเรื่องการวัดไข้ของนักเรียนทุกคนและคัดกรองและมีเจลล้างมือ พอมาถึงที่ห้องเรียนก็จะมีครูประจำชั้นคอยดูแลนักเรียน ถ้าเป็นเด็กอนุบาลเราก็จะให้อยู่ในห้อง ส่วนเด็กระดับประถมก็จะให้เด็กนำกระเป๋าขึ้นไปเก็บ และลงมาอยู่ตามจุดที่เราได้จัดเตรียมไว้ ซึ่งมีฉากกั้นกลางเป็นการเว้นระยะห่าง โดยเฉพาะในโรงอาหารที่เราทำที่กั้นเอาไว้ เวลาที่เด็กนั่งทานอาหารน้ำลายหรือเสมหะจะได้ไม่ฟุ้งกระจายไปที่อื่น และนักเรียนทุกคนต้องช่วยกันทำความสะอาดโต๊ะที่นั่งอาหาร โดยทางโรงเรียนจะมีการแจกแอลกอฮอล์ให้นักเรียนทุกคน เพื่อให้เด็กใช้ฉีดทำความสะอาด ซึ่งเราเตรียมไว้ให้แล้วคือนักเรียนต้องพกติดตัวหมดเราก็มีที่เติมให้ และก็มีหน้ากากอนามัยแจกให้นักเรียนทุกคนที่ต้องสวมใส่มาโรงเรียนทุกครั้ง
นอกจากนี้เรายังได้มีการจัดเวลาให้นักเรียนลงมานั่งทานอาหารได้ครั้งละ 3 ชั้นเรียน โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก คือ ป 1-ป 3 จะได้ลงมาทานข้าวก่อน ส่วนช่วงที่ 2 เป็นนักเรียนตั้งแต่ ป 4 – ป 6 ลงมาทานข้าวกลางวัน เป็นการสลับช่วงเวลากัน เพื่อป้องกันการแออัดของนักเรียน และขณะนี้เรากำลังให้นักการภารโรง สร้างอ่างล้างมือเพิ่มไว้ที่หน้าโรงอาหาร ให้นักเรียนได้ล้างมือก่อนที่จะเข้ามารับประทานอาหาร และวางเจลล้างมือไร้การสัมผัส ไว้ตรงจุดทางเข้าโรงอาหาร ซึ่งมีการเตรียมความพร้อมไว้หมดแล้ว และจะมีการอบรม อสร. ให้กับเด็กที่จะเป็นแกนนำให้กับเรา ในเรื่องมาตรการป้องกันโรคระบาด และช่วงเช้าก่อนเข้าเรียนเราก็จะมีการตรวจวัดอุณหภูมิ หากพบเด็กมีไข้สูงอาจจะต้องให้ผู้ปกครองพาเด็กกับไปหาหมอ ว่าเขามีภาวะการติดเชื้อหรือเปล่า ถ้ามีภาวะเสี่ยงเราก็ต้องให้หยุดการเรียนเพื่อกักตัวดูอาการและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดูแล โดยที่ไม่ต้องห่วงเรียนการเรียนเพราะมีมาตรการรองรับอยู่แล้ว
น.ส.ภณิตา พรมรักษา แม่ค้าขายหมู่ปิ้งวัย 41 ปี ได้กล่าวว่า ในช่วงที่จะเปิดเทอมเราก็ต้องเตรียมเรื่องค่าใช้จ่าย ก็จะมีเรื่องค่าเทอม ค่าชุดค่ารองเท้า และตนมีลูกสองคนด้วย และในช่วงนี้การค้าขายมันก็เงียบ แต่ก็ยังพอขายได้เป็นบางวัน แต่ก็ไม่ถึงกับเงียบสุด แบบว่าอยู่ไม่ได้ แต่เราก็ต้องปรับตัว อะไรที่ไม่จำเป็นเราก็ต้องไม่ต้องซื้อเน้นเป็นเรื่องของกินมากกว่าข้าวกับข้าวอะไรแบบนี้ พวกเสื้อผ้าหน้าผมเราก็ปล่อยมันไป นอกจากกินข้าวก็เก็บไว้เลี้ยงลูกอย่างเดียวล้วน ๆ เลยที่จำเป็น ส่วนปัญหาเรื่องค่าเทอมก็กระทบนะ เพราะลูกคนโตเข้ามัธยมแล้ว คือเปลี่ยนชั้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่หมด แต่คนเล็กยังอยู่โรงเรียนเดิมอยู่ก็ไม่ต้องเปลี่ยนค่าใช้จ่ายก็ยังไม่แพงมาก ส่วนของคนโตก็จะเยอะหน่อยเป็นหลักหมื่น แต่ก็ยังพอไหวยังไม่ต้องเอาของในบ้านไปไว้ที่ใคร แต่ก็เกือบเหมือนกัน เพราะมันยังมีเรื่องลดหย่อนค่าบ้านค่ารถอยู่ เราก็เอาตรงนั้นมาเป็นค่าเทอมให้ลูก คือเราต้องเอามาบริหารใหม่
ด้านนายสาโรจน์ เพ็งนารีย์ หนุ่มจักรยานยนต์รับจ้างวัย 43 ปี กล่าวว่า ช่วงเปิดเทอมก็มีอัตราการเสี่ยงมาก และรายจ่ายก็ค่อนข้างสูงตนมีอาชีพขับวินจักรยานยนต์รับจ้าง ก็ได้รับผลกระทบรายได้ลดลง ไม่พอที่จะใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บางวันก็พอมีเหลือเก็บบ้างเล็กน้อยก็เก็บสะสมไว้เป็นค่าเทอมให้ลูก เพราะมีหลายส่วนที่ต้องใช้จ่าย ไหนจะค่าเช่าห้อง ค่าน้ำค่าไฟ ค่าส่งรถ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก และก็ชุดเสื้อผ้านักเรียนอีก เพราะต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเนื่องจากเป็นจังหวะที่ลูกขึ้นไปเรียน ม.1 ทำให้รายได้ไม่พอที่จะจ่าย ทำให้บางครั้งต้องไปหยิบยืมคนอื่นมาบ้าง และไปกู้ธนาคารมาบ้าง และเงินจากที่ตนทำงานส่งของด้วยก็พอได้บ้างแต่ก็ไม่ได้เหมือนทุกครั้งเหมือนแต่ก่อน ที่เคยมีรายได้พอกินพอใช่เหลือเก็บบ้างเล็กน้อยเพราะตนพยายามทำงานหลาย ๆ อย่าง พูดง่าย ๆ ก็คือตนได้รับผลกระทบโดยตรง คือค่าเทอมลูกเราก็เดือดร้อนแต่ก็ต้องไปหยิบยืมจากที่อื่น
ด้าน นางสาว รัชนี นามคำ แม่ค้าขายข้างแกง วัย 43 ปี กล่าวว่า หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้การรายได้จากการค้าขายข้าวแกง ตกลงเยอะ โดยเฉพาะตอนนี้รายได้ลดลงมากกว่าในช่วงที่โควิด 19 ระบาดแรก ๆ อีก ส่วนเรื่องที่โรงเรียนจะเปิดเทอมในช่วงต้นเดือนหน้านี้ทำให้มีรายจ่ายเยอะขึ้นอีกเพราะว่าลูกเปลี่ยนชั้นเรียนไปในระดับชั้น ม.4 ต้องใช้เงินเยอะเข้าไปอีกทั้งชุดใหม่ ทั้งค่าเทอมที่เพิ่มขึ้นอีก ก็คือหาเงินก็ลำบากขึ้นและตอนนี้ยอดขายลดลงมากกว่าตอนที่โควิดระบาดใหม่ ๆ อีก ตอนโควิดแรก ๆ ว่าแย่แล้ว แต่ตอนนี้แย่กว่าเดิมอีก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: