นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมและหน่วยงานท้องถิ่น เข้าตรวจสอบโรงงานรีไซเคิล ปล่อยกลิ่นเหม็นและน้ำเสีย หลังชาวบ้านออกมารวมตัวประท้วง
หลังจากที่เมื่อช่วงสายของวานนี้ที่ 9 กรกฎาคม 2563 ได้มีกลุ่มชาวบ้านกว่า 50 คน ได้ออกมารวมตัวถือป้ายมาประท้วงหน้าโรงงานไฟเบอร์พลัส จำกัด ซึ่งตั้งอยู่หมู่ 11 ซอยวัดบัวโรย ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ หลังจากทนดมกลิ่นเหม็นนมเน่าและน้ำเน่าเสียที่ถูกปล่อยลงสู่คลองธรรมชาติไม่ไหว และไม่สามารถใช้น้ำทางการเกษตรและเพาะเลี้ยงปลาได้ซึ่งเป็นอาชีพหลักในการหารายได้เลี้ยงครอบครัว ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ข่าวน่าสนใจ:
- ปชน.ตรัง จัดรำลึกลุงนวมทอง เร่งขยายฐานสมาชิกให้ครบแสนคน ตรังพุ่ง 300 คนแล้ว รอตั้งสาขาพรรค ลั่น กวาดเก้าอี้ส.ส.เขตรอบหน้า
- (มีคลิป) 6 ประเทศร่วมเทศกาลวัฒนธรรมกวนอูนานาชาติ'67 ที่เพชรบูรณ์ ปชช.ตื่นเต้นกองทัพช้างร่วมสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง
- "แพทองธาร"กร้าว!ไม่เอายาเสพติด ให้นราธิวาสนำร่อง"ตัดวงจรผู้ค้าผู้เสพ"
- ตรัง แม่ค้าสตรีทฟู้ด โอด น้ำมันพืชราคาขึ้นลิตรละ 7 บาท แแบกรับต้นทุนสูง กำไรลด วอนรัฐบาลตรึงราคาลิตรละ 40 บา
ความคืบหน้าล่าสุดเมื่อช่วงสายของวันนี้ที่ 10 กรกฎาคม 2563 นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้สั่งการให้อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ เจ้าหน้าที่กองสาธารณะสุข อบต.บางเสาธง ฝ่ายปกครองอำเภอบางเสาธง และเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรบางเสาธง ลงพื้นที่ตรวจสอบและหาแนวทางแก้ไขและช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเร่งด่วน โดยมีการเรียกประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งตัวแทนของภาครัฐตัวแทนผู้ประกอบการโรงงานแห่งนี้ และตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งในที่ประชุม นาย สายชล สิทธิกุลวณิชย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของทางบริษัทดังกล่าว ได้เข้าร่วมประชุม และออกมาชี้แจงประเด็นต่าง ๆ ที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน โดยใจความสำคัญของนายสายชล ที่กล่าวในที่ประชุม ว่า ทางบริษัทน้อมรับผิดและขอโทษชาวบ้านและชุมชนที่โรงงานสร้างความเดือดร้อนในครั้งนี้ และพยามกล่าวสาเหตุหลักอ้างวัตถุดิบที่มาจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่ทางบริษัทไปเก็บกล่องนมที่เหลือจากการบริโภคของนักเรียนจากโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งอ้างในที่ประชุมว่ามีบางโรงเรียนที่ไม่ยอมทำตามคำแนะนำของทางบริษัทในการจัดเก็บกล่องนม ทำให้ยังมีนมตกค้างหรือนมบูดติดมาด้วย ซึ่งมีปริมาณค่อนข้างมาก เมื่อเข้ามาถึงบริษัทผ่านขั้นตอนขบวนการคัดแยกและบีบนมบูดออกทำให้มีปริมาณของน้ำเสียภายในโรงงานค่อนข้างมากบวกกับปริมาณขยะกองนมและน้ำผลไม้ที่เข้ามาในแต่ละวันมีจำนวนมากไม่ทันต่อขบวนการรีไซเคิล อีกทั้งช่วงนี้มีฝนตกลงมาในพื้นที่อย่างหนักทำให้ชะล้างกล่องนมต่างๆไหลลงสู่คลองธรรมชาติส่วนเรื่องกลิ่นยอมรับว่ามีจริงและที่ผ่านมาทางบริษัทพยามปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดทั้งการติดตั้งสเปร์น้ำยาดับกลิ่นและฆ่าเชื้อ
ด้านนาย สมเกียรติ ภักดี ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน ได้ออกมาโต้ตัวแทนบริษัท ที่กล่าวอ้างสาเหตุต่าง ๆ กับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวแทนชาวบ้าน ได้ระบุว่าไม่เกิดความยุติธรรมต่อชุมชนและชาวบ้านถึงปัญหาความเดือดร้อนอย่างหนักซึ่งเป็นปัญหามานานเกือบ 10 ปี ที่ทางบริษัทไม่เคยแก้ไขอย่างจริงจังจึงอยากวอนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กำกับดูแลและแก้ไขปัญหานี้ต่อโรงงานทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว
ขณะที่นาย สุรชัย แซ่จิว อายุ 59 ปี ประธานศูนย์การเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพรราชดำริ อำเภอบางเสาธง และยังเป็นปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเปิดศูนย์การเรียนรู้ภาคการเกษตรและการใช้ชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีบ้านพักและศูนย์การเรียนรู้ติดกับโรงงานแห่งนี้ ได้ออกมาระบุในที่ประชุมถึงปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องนี้เช่นกันทั้งกลิ่นและน้ำที่เน่าเสีย โดยเฉพาะกลิ่นเหม็นเน่าจากกองขยะกล่องนม ซึ่งสร้างความเดือดร้อนไปเป็นวงกว้างจนทำให้นักเรียนนักศึกษาหรือแม้แต่ชุมชนที่เดินทางมาศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียง ต่างพากันออกปากเป็นเสียงเดียวกันถึงกลิ่นที่เน่าเหม็นอย่างหนัก จนมาในระยะหลังแทบจะไม่มีกลุ่มใดเข้ามาดูงานเพราะทราบว่าที่นี่มีกลิ่นขยะรบกวน อีกทั้งตนเองและเพื่อนบ้านเลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้งไม่ค่อยได้เนื่องจากไม่สามารถดึงน้ำจากคลองธรรมชาติเข้ามาใส่บ่อเลี้ยงได้
ขณะที่นาย ปิติกร ประทุมชาติ วิศวกร อุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ออกมาระบุให้คำแนะนำต่อตัวแทนบริษัทถึงแนวทางการแก้ไขทั้งแบบเร่งด่วนและในระยะยาวพร้อมทั้งจะบังคับใช้กฎหมายหลังจากนี้ ซึ่งภายหลังจากที่ประชุมร่วมกันนานกว่า 1 ชั่วโมง จึงให้ทางโรงงานยื่นข้อเสนอในที่ประชุมถึงแนวทางการแก้ไขพร้อมทั้งทำบันทึกข้อตกลงทุกฝ่าย ดังนี้ 1 หลังจากประชุมแล้วเสร็จตัวแทนบริษัทจะกลับไปประชุมทางบริษัทอย่างเร่งเด่น พร้อมทั้งเตรียมนำแผนการประชุมของทางบริษัทในการแก้ไขปัญหานี้มาชี้แจงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกลุ่มของชาวบ้าน ซึ่งในแผนการปรับปรุงจะมีแนวทางในการป้องกันไม่ให้น้ำชะล้างไหลลงสู่ลำรางสาธารณะ และจำนำน้ำนมที่กักเก็บในบ่อพักด้านหลังอออกส่งไปบำบัดทั้งหมดโดยเร็ว เพื่อปรับปรุงบ่อกักเก็บไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็นและน้ำไหลลงสู้แหล่งน้ำธรรมชาติในระยะยาว พร้อมทั้งเร่งทำแนวกั้นและกำแพงโดยรอบของโรงงานให้ได้มาตรฐานเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำภายในโรงงานไหลลงสู่ลำรางสาธารณะ อีกทั้งจะทำการปกคลุมกองวัสดุต่างๆไม่ให้ปลิวกระจายไปสู่ชุมชน ซึ่งจะใช้เวลาในการแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยเร็ว ส่วนระยะเวลาตัวแทนของทางบริษัทไม่สามารถตัดสินใจระบุยืนยันได้ว่ากี่วัน ต้องขอกลับไปประชุมกับทางบริษัทก่อนและจะแจ้งให้กลุ่มชาวบ้านทราบ ซึ่งหลังจากที่มีการบันทึกแผนและข้อตกลงนี้ออกมาทำให้ชาวบ้านพอใจและรอการแก้ไขให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงใจต่อชุมชนแต่หากไม่มีการแก้ไขอย่างจริงใจเหมือนเช่นที่ผ่านมาชาวบ้านก็จะยกระดับการประท้วงต่อไปในอนาคต
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: