ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) หัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์พร้อมคณะเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน และ เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษประมง ร่วมกันคุมตัว 2 ไต๋กงเรือประมง ที่ร่วมกันค้ามนุษย์กลับมาดำเนินคดีที่ประเทศไทย
เมื่อเวลา 21.30 น.วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ที่อาคารผู้โดยสารขาเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ พล.ต.ท. จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) หัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์พร้อมคณะเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน และ เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษประมง (Special Arrest Team:SAT) ได้ร่วมกันคุมตัวนายคำรณ บินรัมย์ หรือไต๋อ้วน ผู้ควบคุมเรือเรือ CHOTPATTANA 51 และนายสุนัย พรหมบุตร หรือไต๋นัย ผู้ควบคุมเรือ CHOTPATTANA 55 ซึ่งเป็น 2 ผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์แรงงานกัมพูชาที่เป็นผู้เสียหาย เดินทางกลับจากมัลดีฟส์ เพื่อมาดำเนินคดีในประเทศไทย โดยเดินทางกลับมาด้วยสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ PG 712
ข่าวน่าสนใจ:
- ภาคธุรกิจเอกชนหอการค้าชัยภูมิชี้แนวทางรัฐบาลพลิกวิกฤตเศรษฐกิจไทยฝ่าวิกฤตโลก!
- หนุ่มวัย 21 นัดเคลียร์กับรุ่นน้องวัย 16 แต่คุยกันไม่ลงตัวเกิดชกต่อยกัน ก่อนชักมีดแทงรุ่นน้องดับ
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- เปิดพร่องระบายน้ำเพื่อเร่งไหลลงทะเล รับมืออีกระลอก
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษประมง (Special Arrest Team:SAT)ได้รับร้องเรียนจากนายกำไล แรงงานประมงชาวกัมพูชา ระหว่างที่เข้าตรวจสอบเรือCHOTCHAINAVEE 35 ที่ จ.สมุทรสาคร ว่า ถูกหลอกจากนายหน้าชาวไทยให้ไปทำงาน เป็นลูกเรือประมงซึ่งจะออกไปจับปลาในเขตน่านน้ำโซมาเลีย ระยะเวลาจ้าง 2 ปี โดยจะให้ทำงานเฉพาะกลางวัน และมีอาหารให้กินบนเรือวันละ 3 มื้อ นายจ้างยังอ้างว่าจะจัดหาซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือรวมถึงมีสัญญาณ WiFi ให้ใช้ฟรีระหว่างที่ไปถึงเขตน่านน้ำโซมาเลีย ตนจึงตัดสินใจมาทำงานพร้อมกับเพื่อนชาวกัมพูชา รวม 19 คน แต่ถูกแยกให้ทำงานในเรือประมง 2 ลำ แต่เมื่อไปถึงกลับไม่เป็นอย่างที่นายหน้าคนดังกล่าวได้บอกไว้ โดยระหว่างที่นายกำไล ทำงานอยู่ในเขตน่านน้ำโซมาเลีย ได้ถูกนายคำรณ และ นายท้ายเรือ บังคับให้ทำงาน ทั้ง ๆ ที่ตนเองป่วยหนักด้วยโรคนิ่วและปวดตาอย่างรุนแรง ทำให้ตัดสินใจหนีออกจากเรือลำดังกล่าว มาขึ้นเรืออีกลำที่เตรียมนำสัตว์น้ำมาขายยังฝั่ง เมื่อมาถึง จ.สมุทรสาคร จึงเข้าร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
พล.ต.ท. จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ศปมผ. กล่าวว่า จากการสืบสวน จึงทราบว่าผู้กระทำความผิดในคดีนี้ทำกันเป็นขบวนการ โดยมี 2 ผู้ต้องหาตามหมายจับ ที่จับกุมมาครั้งนี้เป็นผู้ต้องหาในคดีค้ามนุษย์ด้วยเช่นกัน โดยทางการมัลดีฟได้ประสานแจ้งว่าสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับที่ทางเราเคยประสานไปยังน่านน้ำสากล โดยทั้ง 2 คนทำผิดกฎหมายของมัลดีฟ เรื่องการนำเรือรุกล้ำน่านน้ำประเทศมัลดีฟโดยผิดกฏหมาย จึงนำหมายจับไปแจ้งข้อหาก่อนส่งตัวสองผู้ต้องหากลับมาสอบสวนและดำเนินคดีที่ประเทศไทย
เบื้องต้นผู้ต้องหาทั้ง 2 ยังไม่ให้การใด ๆ รับเพียงว่าเป็นบุคคลตามหมายจับเท่านั้น ทั้งนี้เมื่อวานทางเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษประมง (Special Arrest Team:SAT) ร่วมกับตำรวจสืบสวน จ.สุรินทร์ ยังได้เข้าจับกุมผู้ต้องหาในขบวนการนี้อีก 3 ราย ตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.439/61 ประกอบด้วย นายวุตธิชัยลักษวุธ อายุ 50 ปี นายณรงค์ ปรากฏรัตน์อายุ 51 ปี และนายธรรมรัตน์ ยิ่งได้ชม อายุ 36 ปี นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี เพื่อสอบสวน ส่วนแรงงานทั้งคนไทยและกัมพูชาประมาณ 60-70 คนได้นำตัวกลับมาไทยและได้ทำการสอบสวนเพื่อคัดแยกผู้ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้ก็จะดำเนินการสอบสวนผู้ต้องหาทั้ง 5 คนเพื่อนำตัวผู้สั่งการมาดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: