ความคืบหน้าจากกรณีญาติสงสัยการเสียชีวิตของบุตรชาย หลังเข้ารักษาแล้วเสียชีวิตและมีคนแอบปลอมลายเซ็น เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ญาติของผู้เสียชีวิต ได้เดินทางเข้าแจ้งความที่โรงพัก ก่อนเดินทางเข้ารับฟังคำชี้แจงจากทาง ผอ.โรงพยาบาล ช่วงบ่ายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว
ความคืบหน้าในกรณีที่ทางญาติของนาย อดิศร จิตต์มั่น อายุ 22 ปี ที่เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลบางบ่อ สมุทรปราการ หลังจากประสบอุบัติเหตุจากและได้รับบาดเจ็บในช่องท้องและกระดูกขาหัก และเกิดเสียชีวิต ในขณะที่แพทย์โรงพยาบาลดังกล่าวนำตัวเข้าผ่าตัดกระดูกขาและเกิดเสียชีวิตลง ทำให้ญาติของผู้ตายคาใจในเรื่องกระบวนการและขั้นตอนการรักษาของแพทย์ ร่วมทั้งรายเซ็นยินยอมให้รักษาของญาติที่เชื่อว่าเป็นรายเซ็นปลอม
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง การแข่งวิ่งสุดสยองชวนขนหัวลุก "วิ่งหนีเมรุ" ทำถึงธีมผีจัดเต็ม นักวิ่ง 300 คนร่วมวงหลอน
- หลากหลายบรรยากาศ สีสันวันลอยกระทงแปดริ้ว
- วธ.จังหวัดนครปฐมส่งเสริมประเพณี “ลอยกระทง วิถีไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ประจำปี 2567 “คืนจันทร์เพ็ญงามอร่ามตา สืบสานรักษาคลองเจดีย์บูชา…
- ตรัง "บุญกฐิน-ตักบาตรขนมโค" หนึ่งเดียวในไทย ชาวตรังแห่ร่วมงานทอดกฐินออกโรงทานคับคั่ง
ล่าสุดเมื่อช่วงสายของวันนี้ที่ 15 ธันวาคม 2563 น.ส.รัชนก จิตต์มั่น อายุ 32 ปี พี่สาวของผู้ตายได้เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์และลงบันทึกประจำวันกับ ร.ต.อ.จักร์ทอง คำมาพล รองสารวัตรสอบสวน สภ.บางบ่อ สมุทรปราการ เนื่องจากเชื่อว่ามีการปลอมรายเซ็นของบิดา ในการยินยอมให้ผ่าตัดรอบที่สองจนเป็นเหตุให้นายอดิศร ผู้เป็นน้องชายเสียชีวิต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ก่อนที่ ร.ต.อ.จักร์ทอง คำมาพล รองสารวัตรสอบสวน สภ.บางบ่อ สมุทรปราการ จะได้พา น.ส.รัชนก พี่สาวผู้ตายเดินทางไปพบนายแพทย์ วีโรจน ศิรประภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางบ่อ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงในเรื่องที่เกิดขึ้น โดยไม่ยอมให้ผู้สื่อข่าวเข้าบันทึกภาพทำข่าวแต่อย่างใด โดยใช้เวลาในการชี้แจ้งนานกว่า 2 ชั่วโมงก่อนที่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลดังกล่าวจะออกมาแจ้งกับผู้สื่อข่าวว่า ในเรื่องดังกล่าวต้องให้ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้ชี้แจ้งรายละเอียดในเรื่องที่เกิดขึ้น
ขณะที่ น.ส.รัชนก พี่สาวของผู้ตายได้ออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ทำได้เพียงอย่างเดียวคือรอผลการชันสูตร ส่วนในประเด็นที่ตนและญาติสงสัยเขาได้ชี้แจงแต่ก็ยังมีอะไรที่คาใจอยู่ ก็คือต้องรอผลชันสูตร คือเขาเรียนแจ้งว่า ตามกระบวนการเขาก็ทำเต็มที่ตามกระบวนการรักษาในหลักวิชาชีพมาตรฐานทั่วไป ส่วนเรื่องรายเซ็นเขาก็ยืนยันว่าพยาบาลบอกว่าพ่อของตนเป็นคนเซ็น แต่ทางพ่อบอกว่าเมื่อวานที่ผ่าตัดไม่ได้เซ็น แต่เหมือนว่ามีให้เซ็นไปก่อนหน้านั้น แต่เท่าที่ตนเห็นมันไม่เหมือนรายเซ็นของคุณพ่อ ส่วนที่บอกว่ามีการเซ็นก่อนหน้านั้น ก็คือก่อนวันที่จะผ่าตัดและเขาก็บอกว่ามีการอธิบาย แต่คุณพ่อไม่ได้ฟังหรือดูเรื่องรายละเอียด ก็มีเพียงบอกแค่ว่าให้เซ็นตรงนี้เท่านั้นก็คือเอกสารวันก่อนหน้านั้น แต่ไม่ใช้เมื่อวานซึ่งเป็นวันที่ 14 ธันวาคม คุณพ่อก็เข้าใจว่าในวันที่ 14 ธันวาคม พ่อไม่ได้เซ็นทำให้พวกตนและญาติคนอื่น ๆ ก็ยังคาใจกันอยู่และรอผลชันสูตรและคนที่ออกมาอธิบายในวันนี้ก็คือตัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางบ่อ เองเลย และก็ไม่ได้เจอทีมแพทย์ที่ดำเนินการกับน้องชายตนเลย ก็เลยยังไม่ได้รับคำชี้แจงจากแพทย์ที่ดำเนินการในวันนั้น และในวันนี้คุณพ่อตนได้เดินทางไปรับศพของน้องชายตนที่โรงพยาบาลตำรวจและนำมาตั้งสวดพระอภิธรรมที่วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะทำการสวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 5 วัน ซึ่งวันนี้เป็นการสวดคืนแรก
ต่อมาในเวลา 15.00 น. ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ นายแพทย์นนท์ จินดาเวช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ได้ออกมาชี้แจงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้กล่าวสรุปว่า เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ที่คนไข้เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลบางบ่อ เนื่องจากประสบอุบัติเหตุทางด้านการจราจร การบาดเจ็บหลัก ๆ ของคนไข้ที่ตรวจเจอก็คือการบาดเจ็บในช่องท้องมีเรื่องของลำไส้ฉีกขาด และการบาดเจ็บอันที่ 2 คือเป็นเรื่องของกระดูกขาที่หัก ส่วนเรื่องที่เกิดเหตุขึ้นเมื่อวานนี้ช่วงบ่าย ๆ ที่ทางคุณหมอกระดูกของโรงพยาบาลบางบ่อ จะเข้าไปทำการผ่าตัดกระดูกขาที่หัก และขณะที่รับเข้าไปในห้องผ่าตัดแล้ว คุณหมอดมยาก็ได้ทำการบล๊อกหลัง ก่อนที่จะเริ่มทำการผ่าตัด ตอนที่ทำการบล๊อกหลังก็ปรากฎว่าคนไข้ความดันตกลงและมีเรื่องของหัวใจหยุดเต้นก็เลยทำการช่วยปั๊มหัวใจ แต่สุดท้ายคนไข้ก็เสียชีวิต อันนี้เป็นรายงานเบื้องต้นที่ได้มีการพูดคุยกับทางโรงพยาบาลบางบ่อ อันนี้ก็อาจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต ซึ่งอันนี้เราก็ยังบอกไม่ได้จริง ๆ ว่ามันเกิดอะไรขึ้น เพราะปกติเรื่องของกระดูกขาที่หัก อย่างกรณีคนไข้รายนี้ คือถ้าจะผ่าตัดเพื่อเข้าไปดามกระดูก โดยส่วนใหญ่คุณหมอก็จะเลือกวิธีบล็อกหลังอยู่แล้ว แสดงว่ารายนี้น่าจะมีปัญหาอะไรสักอย่างหนึ่ง เป็นให้ความดันตกลง และก็หัวใจหยุดเต้น ส่วนในในเรื่องที่ญาติของคนไข้ต้องการให้ดมยามากกว่าการบล๊อกหลังนั้น จากที่โรงพยาบาลรายงานมาว่า ก่อนที่จะมีการผ่าตัดทุกครั้งโดยเฉพาะรายนี้ก่อนที่จะทำการผ่าตัดดามกระดูกขาที่หักมีทีมขึ้นไปคุยกับคนไข้และญาติแล้วว่า หลัก ๆ ก็คือต้องมีการดมยา หรือการบล็อกหลัง อยางข้อดีในการบล็อกหลังก็อย่างที่ตนบอกไปแล้วว่าคนไข้ยังรู้สึกตัวอยู่และถามตอบอาการได้ จะชาเฉพาะในจุดที่ผ่าตัดเท่านั้น ฉะนั้นแล้วในกรณีกระดูกขอหักคุณหมอดมยาจะเลือกใช้วิธีการบล๊อกหลังเป็นหลัก แต่ทางญาติอ้างว่าได้แจ้งไปแล้วว่าต้องการให้คนไข้ดมยา ไม่ใช้บล๊อกหลังนั้น ซึ่งตรงนี้ตนคิดว่ามันอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ คือคนที่เชี่ยวชาญที่สุดก็คือคุณหมอดมยา โดยหลักการเข้าจะเลือกวิธีที่ดีที่สุดให้สำหรับคนไข้ ซึ่งตรงนี้ตนเองก็ยังไม่แน่ใจว่ามันเป็นช่องว่างของการสื่อสารหรือเปล่า ในประเด็นว่า ทีมที่ขึ้นไปคุยก่อนที่จะมีการผ่าตัด ว่าให้เลือกวิธีการบล็อกหลังหรือวิธีการดมยาสลบ ได้มีการให้ข้อมูลคนไข้หรือญาติมากน้อยแค่ไหน ตอนนี้ทางโรงพยาบาลเขากำลังดูข้อมูลอยู่ก็คงต้องถามกับผู้ที่ขึ้นไปให้ข้อมูลกับญาติ ซึ่งตรงนี้ตนรับไว้เพื่อนำไปสืบสวนข้อเท็จจริง ส่วนในเรื่องที่คนไข้เสียชีวิตรายนี้นี้นั้น เป็นการเสียชีวิตก่อนทำการผ่าตัด เพราะเท่าที่ได้รับรายงานมาว่าหลังจากทำการบล๊อกหลังเรียบร้อยแล้วความดันคนไข้ก็ตกและหัวใจหยุดเต้นโดยที่ยังไม่มีการเริ่มผ่ากระดูกขาที่หักแต่อย่างใด ในส่วนของใบเซ็นยินยอม เรื่องของการรับเข้ารักษาของโรงพยาบาล รวมทั้งใบเซ็นยินยอมที่จะรับการผ่าตัดหรือว่าทำหัถการอะไรในโรงพยาบาล ยืนยันว่าไม่มีในเรื่องของการปลอมรายเซ็นแต่อย่างใด และก็ตัวผู้เสียชีวิตเองก็เป็นผู้ที่เซ็นยินยอมรับการรักษาในโรงพยาบาลรวมทั้งรับการผ่าตัดทั้งสองครั้งเอง โดยที่มีญาติก็คือคุณพ่อเซ็นเป็นพยานทั้งสองใบ ส่วนในเรื่องของการตรวจสอบอันแรกที่เราต้องตรวจสอบก็คือประเด็นในเรื่องของการสื่อสาร ในเรื่องของวิธีการเลือกในการที่จะดมยาสลบหรือบล๊อกหลังในการผ่าตัดครั้งที่สอง อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม อีกเรื่องหนึ่งก็คือสาเหตุการเสียชีวิต เราก็คงต้องรอผลการชันสูตรจากสถาบันนิติเวช สวนในเรื่องที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นเรายังไม่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนแต่อย่างใด แต่เนื่องจากว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำนักงานสาธารณสุขดูแลอยู่แล้ว ซึ่งเคสทำนองนี้ก็ไม่ได้เป็นเคสแรก แต่ถ้าพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องของข้อผิดพลาดทางการแพทย์ ก็อย่างที่บอกไปแล้วว่าปัจจัยใดบ้าง สมมุติว่าเป็นเรื่องของข้อผิดพลาดของตัวบุคคลหรืออะไรใด ๆ ก็ดีมันก็มีขั้นตอนกระบวนการอยู่แล้ว ในการตั้งคณะกรรมการในการสอบสวนข้อเท็จจริงเขามากระบวนการของเขาอยู่แล้ว แต่ก่อนที่เราจะไปถึงจุดนั้นเราก็ต้องดูเป็นขั้นตอนไป ก่อนที่จะไปโทษว่าใครผิดหรือข้อผิดพลาดมันอยู่ตรงไหน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: