กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI ลงพื้นที่ตรวจสอบ บริษัท หมิงตี้ หลังชาวบ้านที่รับผลกระทบเข้าร้องเรียน ทั้งนี้หากบริษัทไม่สามารถชดใช้เงินตามจำนวนที่เหมาะสมได้ ภาครัฐสามารถเป็นตัวแทนในการยื่นเรื่องฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายให้กับชาวบ้านได้ทันที
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้ลงพื้นที่โรงงาน หมิงตี้ เคมิคอล จำกัด หลังจากที่กระทรวงยุติธรรมและกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับเรื่องร้องทุกข์จากชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งบางส่วนเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน สภ.บางแก้ว ไว้แล้วกว่า 1,000 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 400 ล้าน แต่ทางบริษัทที่เกิดเหตุทำประกันบุคคลภายนอกไว้เพียง 20 ล้านบาท ชาวบ้านเกรงจะไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจึงได้เข้าร้องขอให้ทาง กระทรวงยุติธรรม และ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้เข้ามาดูแลให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้านในเรื่องนี้ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ความเสียหายไม่ได้เกิดกับแค่ทรัพย์สินของประชาชนเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนอีกด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- ‼️เลือดหนึ่งหยด..มีค่า-ต่อลมหายใจให้ผู้ป่วย,บาดเจ็บ‼️
- หนุ่มวัย 21 นัดเคลียร์กับรุ่นน้องวัย 16 แต่คุยกันไม่ลงตัวเกิดชกต่อยกัน ก่อนชักมีดแทงรุ่นน้องดับ
- ตรัง สถาบันพระบรมราชชนกเตรียมผลิต 9 หมอรุ่นใหม่ นวัตกรรมสุขภาพไทยสู่ระดับโลก
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวว่า ต้องบอกอย่างนี้ว่าเราต้องแยกส่วนกันในส่วนที่มันเป็นคดีอาญาก็ต้องถูกดำเนินคดีกันไปในฐานะกระทำโดยประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและเสียชีวิต อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่จะต้องถูกดำเนินคดี แต่ในส่วนของทางแพ่งเองแม้ว่าจะมีวงเงินประกันกับบุคคลภายนอกเอาไว้แค่ 20 ล้านนั้น ไม่ได้ตัดสินว่าทางบริษัทต้องร่วมรับผิดชอบมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมากกว่าจำนวนเงิน เพราะฉะนั้นทางบริษัทเองอาจจะมีพื้นที่ดินหรืออาจจะมีทรัพย์สินอื่น ที่เราจะต้องให้ทางบริษัทนำมาเยียวยาให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญก็คือว่าเวลานี้ที่พี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ควรที่จะมาแจ้งต่อกับทางยุติธรรมจังหวัดก็ได้ หรือกับพนักงานสอบสวนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าตัวเองได้รับผลกระทบอะไรบ้างมีความเสียหายอะไรบ้าง แต่ก็อยากฝากพี่น้องประชาชนว่าอันนี้มันเป็นความเสียหาย ก็อยากจะให้มันเป็นความเสียหายที่แท้จริงไม่ใช่ของการหาประโยชน์หรือค้ากำไร อยากให้เป็นเรื่องของความเสียหายจริง ๆ เราจะได้ประเมินตัวเลขได้ถูกต้อง ในการพูดคุยกับทางบริษัท จะได้มีการพูดคุยกันอย่างชัดเจนว่ามีผลกระทบอะไรบ้างและทางบริษัทจะรับผิดชอบอย่างไร ต้องแสดงความรับผิดชอบตรงนี้ ก็ไม่อยากจะให้พี่น้องประชาชนเกิดความกังวลใจ ดีเอสไอ ลงมาสำทับอีกชั้นหนึ่งก็จะได้รู้ว่ากระทรวงยุติธรรมไม่ทอดทิ้งประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแน่นอน และมาตรการเชิงรุกของท่านรัฐมนตรีก็ยังคงดำเนินการตามที่ท่านมีนโยบายเอาไว้ให้ และในเรื่องนี้ก็ไม่ได้มีการซับซ้อนอะไรเพราะมันเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากความประมาทของทางบริษัทเอกชนเองพี่น้องประชาชนก็ไม่ต้องกังวล อย่างไรก็ตามอย่างวันนี้ก็ต้องลงมาดูเพราะว่ามันเป็นเรื่องของกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยที่มีการร้องเรียนมา แต่ท่าในด้านนิติอื่นที่มันเป็นปัญหา ดีเอสไอ ก็ไม่ปล่อยจะดำเนินการต่อไป
พันตำรวจโท อมร หงษ์ศรีทอง ผู้อำนวยการกองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ในเบื้องต้นก็ต้องดูในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปตรวจสอบดูก่อนว่าเหตุมันเกิดจากอะไรบ้าง และต้องให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเขาพิจารณาในเบื้องต้นก่อน หลังจากนั้นถ้ามันมีเหตุอะไรที่จะเป็นคดีพิเศษได้หรืออยู่ในอำนาจของ ดีเอสไอ ทางเราก็จะรับมาพิจารณา ว่ามันจะรับเป็นคดีพิเศษได้หรือไม่ ทั้งนี้หากบริษัทไม่สามารถชดใช้เงินตามจำนวนที่เหมาะสมได้ ภาครัฐสามารถเป็นตัวแทนในการยื่นเรื่องฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายให้กับชาวบ้านได้ทันที
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: