ตำรวจสมุทรปราการ ร่วมลงนาม MOU เจ็ดสถานอาชีวศึกษาแก้ไขปัญหานักเรียนตีกัน สร้างภาคีเครือข่ายเป็นหูเป็นตาแทนตำรวจคอยแจ้งเบาะแส ขณะที่อาจารย์ทั้ง 7 สถาบันจัดชุดลาดตระเวน
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 24 ธันวาคม 2564 ที่ห้องประชุมชั้น 5 กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ พ.ต.อ.สุรวุฒิ แสงรุ่งเรือง รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ พ.ต.ท.นาคพันธ์ โยธา รอง ผกก.ป.สภ.เมืองสมุทรปราการ ได้ร่วมกันจัดประชุมวางแผนการป้องกันนักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน ซึ่งเกิดเหตุมาหลายครั้งหลังจากที่เกิดขึ้นขึ้นมาหลายครั้งมีผู้บาดเจ็บสาหัสหลายรายตามที่มีข่าวนำเสนอตามสื่อต่าง ๆ โดยได้เชิญข้าราชการตำรวจ ระดับ รองผู้กำกับฝ่ายป้องกันและปราบปรามของสถานีต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาและพื้นที่ติดต่อที่เกิดเหตุขึ้นบ่อยครั้งทั้งจังหวัดสมุทรปราการเข้าร่วมประชุมวางแผน
ข่าวน่าสนใจ:
- ค่ายรถยนต์ ผุดบูธเพิ่มช่องทางปั๊มยอดช่วงปลายปี หลังตลาดยังซบยาวต่อเนื่อง
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- สูงวัยตรัง ปลื้ม เตรียมตัวรับเงินหมื่น ฝันใช้ยามแก่-ต่อยอดอาชีพบั้นปลาย
นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้บริหารสถานศึกษาระดับอาชีวะที่ก่อเหตุยกพวกทำร้ายกันจำนวน 7 แห่งในจังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่ติดต่อมาเข้าร่วมประชุมประกอบด้วย วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ (ชำนิ) วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก วิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ วิทยาลัยอาชีพพระสมุทรเจดีย์ และวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสาสน์ โดยได้มีการวางแนวทางให้คณะอาจารย์ของแต่ละสถานบันออกมาตระเวนช่วยสอดส่องดูแลนักเรียนของสถาบันของตัวเองทั้งในช่วงเช้าและช่วงเย็นหลังเลิกเรียน และสร้างภาคีเครือข่ายในการแจ้งเบาะแส จัดสร้างกลุ่มแอปพลิเคชั่นไลน์ในการติดต่อประสานงาน จัดทำประวัตินักเรียนกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งรถจักรยานยนต์และหมวกกันน็อกของกลุ่มนักเรียนที่เป็นเป๋าหมาย และทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ร่วมทั้งหาแนวร่วมรอบข้างในการแจ้งเบาะแสโดยการจัดตั้งกลุ่มไลน์พิเศษโอเอ ดึงเอาพ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายอยู่ในจุดประจำที่มักเกิดเหตุและใกล้เคียง รวมถึงรถจักรยานยนต์รับจ้าง และแก๊ป พนักงานร้านเซเวน ดึงเข้ามาในกลุ่มไลน์เดียวกัน เพื่อคอยเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยามที่มีนักเรียนรวมกลุ่มหรือจะก่อเหตุ ตามหลักการ ประชาชนคือตำรวจคนแรก เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน
ก่อนที่ผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 7 แห่งจะร่วมกันลงนามร่วมมือ MOU ในการร่วมกันป้องกันก่อเหตุของนักเรียนอาชีวะ ตามข้อตกลงว่าด้วย 1, สถานอาชีวศึกษาในพื้นที่ทั้ง 7 แห่ง จะช่วยกันตรวจตรา ดูแล ควบคุมความประพฤติของนักเรียนนักศึกษาในสถาบันของตนเอง และหาแนวทางแก้ไขปัญหาเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาร่วมกัน 2,มีการประสานความร่วมมือเพื่อวางแผนพัฒนาศักยภาพของนักเรียนนักศึกษา โดยถือเป็นภารกิจร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ และสถานศึกษาในพื้นที่ เพื่อดำเนินการควบคุมความประพฤติ และดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักเรียนนักศึกษา 3,ร่วมกันพัฒนา การติดต่อสื่อสาร การแจ้งเหตุการณ์ให้รวดเร็ว เพื่อระงับเหตุให้ทันท่วงที 4, ให้การสนับสนุนส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฎิบัติในระดับพื้นที่เพื่อให้การบริหารจัดการสามารถดำเนินการได้อย่างมีระบบ 5,ให้มีการประชาสัมพันธ์ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการปฏิบัติงาน โดยใช้สื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีและเครือข่ายทั้งสองฝ่ายอยางต่อเนื่อง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: