นายกิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมคณะผู้บริหารท่าอากาศสุวรรณภูมิ ได้ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนจังหวัดสมุทรปราการ เข้าเยี่ยมชมอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1 ) เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 งานสถาปัตยกรรมของตัวอาคารออกแบบให้เข้ากับอาคารผู้โดยสาร ที่ก่อสร้างได้รวดเร็วและใช้วัสดุที่ดูแลรักษาได้ง่าย อีกทั้งยังคำนึงถึงการออกแบบอาคารที่ยั่งยืน เพื่อช่วยให้อาคารประหยัดพลังงาน เน้นการใช้แสงจากธรรมชาติ ลดการเปิดไฟ ติดอุปกรณ์กันความร้อน ติดตั้งระบบนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ มีหลุมจอดประชิดอาคารทั้งหมด 28 หลุมจอด สามารถจอดอากาศยานขนาด Code F (เช่น A380 และ B747-8 เป็นต้น) ได้ 8 หลุมจอด และอากาศยานขนาด Code E (เช่น B747 และ A340 เป็นต้น) ได้ 20 หลุมจอด
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ที่ห้องประชุมโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ นายกิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) พร้อมคณะผู้บริหารท่าอากาศสุวรรณภูมิ ได้ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนจังหวัดสมุทรปราการ เข้าเยี่ยมชมอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1 ) เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 งานสถาปัตยกรรมของตัวอาคารออกแบบให้เข้ากับอาคารผู้โดยสาร ที่ก่อสร้างได้รวดเร็วและใช้วัสดุที่ดูแลรักษาได้ง่าย อีกทั้งยังคำนึงถึงการออกแบบอาคารที่ยั่งยืน เพื่อช่วยให้อาคารประหยัดพลังงาน เน้นการใช้แสงจากธรรมชาติ ลดการเปิดไฟ ติดอุปกรณ์กันความร้อน ติดตั้งระบบนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ มีหลุมจอดประชิดอาคารทั้งหมด 28 หลุมจอด สามารถจอดอากาศยานขนาด Code F (เช่น A380 และ B747-8 เป็นต้น) ได้ 8 หลุมจอด และอากาศยานขนาด Code E (เช่น B747 และ A340 เป็นต้น) ได้ 20 หลุมจอด
ข่าวน่าสนใจ:
- เสวนายามเช้า-ครอบคลุมทุกมิติ "สงบ มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดี"
- "ผู้ว่า"ลงดาบ! ประชาคม 9,000 ต้องโปร่งใส ไม่เข้าเกณฑ์แต่มีชื่อ เต้นทั้งหมู่
- ชวน” คลี่ปมขัดแย้งแก้พ.ร.บ.กลาโหม นักการเมือง-ทหาร ไม่ไวใจกันเอง สลับกันแก้หวังกระชับอำนาจ อ้างตัดไฟรปห.แค่ปลายเหตุ ต้นเหตุเพราะนักการเมืองโกง!
- 33 ปี ยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก 13-22 ธันวาคม 67
อาคาร SAT-1 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 216,000 ตารางเมตร ตัวอาคารมีความสูง 4 ชั้น และมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น โดยชั้น B2 เป็นพื้นที่สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover Station: APM Station) ชั้น B1 เป็นพื้นที่ห้องงานระบบ ชั้น G เป็นพื้นที่สำหรับระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระ และพื้นที่สำนักงาน ชั้น 2 เป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาเข้า รวมทั้งพื้นที่สำหรับผู้โดยสารเชื่อมต่อเที่ยวบิน ชั้น 3 เป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาออก มีพื้นที่พักคอยสำหรับผู้โดยสารรอขึ้นเครื่อง เป็นแบบ Open Gate และมีพื้นที่ร้านค้าตลอดแนวทางเดิน และ ชั้น 4 เป็นพื้นที่สำหรับร้านอาหารและเครื่องดื่ม
อาคาร SAT-1 เชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบันด้วยอุโมงค์ใต้ดิน โดยมีระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในอุโมงค์ประกอบไปด้วย ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ หรือรถไฟฟ้า APM จำนวน 4 ช่อง ระบบสายพานสายพานลำเลียงกระเป๋า จำนวน 2 ช่อง และถนนให้บริการเขตการบิน จำนวน 2 ช่อง ในการเดินทางจากอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบันไปยังอาคาร SAT-1 จะใช้รถไฟฟ้า APM ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าระบบล้อยางแบบไร้คนขับในการรับส่งผู้โดยสาร ใช้ระยะเวลาในการโดยสารรวมถึงระยะเวลาที่ผู้โดยสารรอบริการที่สถานีประมาณ 3 นาทีครึ่ง สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 179 คนต่อขบวน
สำหรับการตกแต่งภายในของอาคาร SAT-1 มีการออกแบบให้เข้ากับอาคารผู้โดยสารหลักเช่นกัน แต่ได้มีการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรม ศิลปะที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้กลมกลืนไปกับโครงสร้างอาคารที่ทันสมัย โดยมีผลงานการตกแต่งชิ้นเอกเป็นช้างคชสารตั้งอยู่บริเวณโถงกลางของชั้น 3 ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาออก ส่วนปลายอาคารทั้ง 2 ด้าน คือทิศตะวันออกและทิศตะวันตกติดตั้งสุวรรณบุษบก และรัตนบุษบก ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์ พระพุทธปฏิมา ปางมารวิชัย และ ปางเปิดโลก โดยถอดแบบมาจากวัดผาซ่อนแก้ว เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อสถานที่ เป็นขวัญและกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้เดินทาง
อีกหนึ่งงานออกแบบที่โดดเด่นภายในอาคาร SAT-1 คือ ห้องน้ำภายในอาคารที่ได้นำเอกลักษณ์หรือลักษณะเด่นของแต่ละภาคของประเทศไทยทั้ง 4 ภาค รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมของไทยมาใช้ออกแบบรูปลักษณ์ภายใน ขณะที่สุขภัณฑ์ทั้งหมดได้ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในการประหยัดน้ำ
ปัจจุบัน อาคาร SAT-1 ดำเนินการก่อสร้างเสร็จโดยรวมแล้วกว่าร้อยละ 98 โดยงานลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ทางขับเชื่อม และถนนเชื่อมต่อ รวมถึงงานภายในอาคารและงานระบบสาธารณูปโภคดำเนินการเสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ยังคงเหลืองานระบบรถไฟฟ้า APM และงานระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระขาออกที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งขณะนี้หลาย ๆ ระบบอยู่ระหว่างการทดสอบเพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการเปิดใช้งานภายในปี 2566
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิพร้อมทำหน้าที่เป็นประตูสู่ประเทศไทย ต้อนรับและสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนจากทั่วโลก รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการรองรับการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบินของประเทศ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย ให้มั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: