นายสิทธิชัย เกษรสิทธิ์ ปลัดเทศบาลนครสมุทรปราการ ชี้แจงดราม่าตลาดท้ายบ้าน ย้ำเดินหน้าอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์ชาวปากน้ำ สาเหตุที่เปิดช้าเพราะกลัวนายทุนเข้ามาหาประโยชน์ในพื้นที่ ชาวสมุทรปราการที่แท้จริงจะถูกเอาเปรียบไม่ได้ประโยชน์
จากกรณี สื่อสังคมออนไลน์ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ตลาดเชิงท่องเที่ยว ศูนย์กลางการจำหน่ายผลิตการประมง และผลผลิตทางการเกษตร จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งตั้งอยู่ ถนนท้ายบ้าน อ.เมืองสมุทรปราการ ว่าตลาดดังกล่าวสร้างเสร็จมานานหลายเดือน และได้มีพิธีเปิดใหญ่โต ไปเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2566 โดยมี พล.เอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธาน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 2 เดือน ตลาดเนื้อที่กว่า 24 ไร่ กลับมีแต่ความว่างเปล่าไม่มีผู้เช่า ปล่อยให้เป็นตลาดร้าง สิ้นเปลืองงบประมาณ ที่ก่อสร้าง ระหว่างเทบาลนครสมุทรปราการ และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ กว่า 768,543,453 ล้านบาท กระทั่งได้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันจำนวนมาก
ข่าวน่าสนใจ:
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
- ค่ายรถยนต์ ผุดบูธเพิ่มช่องทางปั๊มยอดช่วงปลายปี หลังตลาดยังซบยาวต่อเนื่อง
- ชวนชิม 'ศรีบุญเรือน' ร้านข้าวต้มต้นตำรับ สืบทอดสามรุ่น เสน่ห์ร้านข้าวต้มยามค่ำคืน ที่รวมอาหารจีน อาหารเหลา อาหารใต้ไว้ในร้านเดียว
- สูงวัยตรัง ปลื้ม เตรียมตัวรับเงินหมื่น ฝันใช้ยามแก่-ต่อยอดอาชีพบั้นปลาย
ล่าสุดเมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 นายสิทธิชัย เกษรสิทธิ์ ปลัดเทศบาลนครสมุทรปราการ ได้ออกมาให้ข้อมูลถึงปัญหาดังกล่าวว่า สำหรับตลาดสร้างเสร็จแล้ว และได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจรับตามขั้นตอน สาเหตุที่ยังไม่เปิด เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการจัดหาประโยชน์ ซึ่งปัญหาที่ล่าช้าที่สุดคือ จะทำอย่างไรจะทำให้ชาวสมุทรปราการได้ประโยชน์มากที่สุด ถ้าเราเปิดให้มีการประมูลทั่วไปเลย และปล่อยให้นายทุนเข้ามาประมูลทั้งหมดกว่า 400 ยูนิต ตนเชื่อว่าชาวบ้าน ที่แท้จริงจะไม่ได้เข้ามาใช้พื้นที่ หรือหากเข้ามาใช้พื้นที่ ก็ต้องจ่ายค่าเช่าต่อจากนายทุน ที่มีราคาค่อนข้างสูง
นโยบายของผู้บริหาร ได้ฝากให้ดูความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ว่าจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีพื้นที่ขาย และบางส่วนต้องกันไว้ให้กับเยาวชน ที่จะเข้ามาเรียนรู้เพราะว่า ตลาดแห่งนี้เป็นเป็นตลาดส่งเสริมการท่องเที่ยว และเป้าหมายคือ ทั้งคนไทยต่างชาติ และชาวสมุทรปราการ รวมถึง ทาง อบจ.เองได้ทำบันทึกร่วมกับ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว ในการเข้ามามีส่วนร่วมสอนภาษาให้กับชาวบ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม วันนี้ในเรื่องอันตราค่าเช่าทางเทศบาลสามารถทำได้ แต่อย่างที่ได้เรียนไปคือ รอกันพื้นให้กับประชาชน และขอประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน พ่อแม่พี่น้องชาวสมุทรปราการ ที่มีสินค้าโอทอปก็ดี สินค้าผลิตในชุมชนก็ดี ถ้ามีความประสงค์จะนำสินค้ามาจำหน่ายที่นี้ ให้แจ้งผ่านช่องทางของเทศบาลนครได้ทุกช่องทาง เนื่องจากขณะนี้มีพ่อค้าแม่ค้าบางส่วนได้แจ้งความประสงค์เข้ามาบ้างแล้ว แต่ขณะนี้เทศบาลต้องรอว่าจำนวนพ่อค้าแม่ค้า ที่เป็นคนสมุทรปราการ จริงๆมีกี่ราย เพื่อเราจะได้กันพื้นที่ไว้ให้ ถ้าเรากำหนดพื้นที่ครบได้แล้ว ที่เหลือก็จะเป็นพื้นที่สำหรับเปิดการประมูล ซึ่งการเปิดประมูลก็ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยาก เวลามีกำหนดอยู่แล้ว สิ่งที่กังวงคือถ้าเปิดเลยชาวบ้านจะต้องไปเช่าต่อจากนายทุน ราคาค่าเช่าก็จะสูงขึ้นไปอีก
นายสิทธิชัย กล่าวอีกว่า สำหรับการเปิดประมูลผู้ที่เข้ามาบริหารตลาด เราต้องการผู้ที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินการ ที่จะทำให้ตลาด มีชื่อเสียง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่ให้ความสำคัญ กับคนสมุทรปราการ คนไทยจากพื้นที่อื่นๆ ไปจนถึงชาวต่างชาติ นี่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ของจังหวัด เราต้องเปิดให้บริการ แล้วมีงบไว้พัฒนาพื้นที่ ส่วนคนค้าขายในตลาดต้องมีกำไร ที่สำคัญ ประชาชน ยังได้ซื้อสินค้า ในราคาที่คุ้มค่า ไม่รู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ ต้องไม่ใช่โครงการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ กลับกัน จะเป็นโครงการที่ส่วนรวม ต้องได้ประโยชน์ นี่คือเป้าหมายของเรา นอกจากนั้น ยังมีรายละเอียดในการเช่าพื้นที่ จะต้องมีขั้นตอนและเรื่องอื่นที่ต้องคำนึงถึง อีกมากมาย เช่น การวางเงิน ทำสัญญา การตกแต่งเพิ่มเติม การประกันร้านค้าเป็นต้น
ดังนั้น ผู้ที่จะมาบริหารตลาด ต้องมีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ ซึ่งจะเข้ามาผ่านวิธีการที่โปร่งใส ถูกต้อง ขณะนี้ เราได้นำ ข้อมูล และเงื่อนไขต่างๆ เพื่อหาผู้จัดการตลาด ผ่านวิธีการประมูลแล้ว นี่ไม่ใช่กระบวนการที่ลำช้า กลับกัน ยังเป็นความรอบคอบ เพราะอย่าลืมว่า หากเราเร่งกำหนดขอบเขตไม่ละเอียดพอ แล้วได้ผู้ชนะประมูล เข้ามาจัดการตลาด โดยไร้ความสามารถ จะส่งผลเสียกับ ผู้ค้า ประชาชน วัตถุประสงค์ที่วางไว้ ไม่มีวันสำเร็จ งบหลายร้อยล้านบาทที่ลงทุนไป จะได้ผลลัพธ์กลับมาแล้วไม่คุ้มค่า และการจะแก้ไขเรื่องต่างๆ หลังจากนั้น จะสายเกินไป
ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจว่าเรา เทศบาลสมุทรปราการ และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องต้องการให้ประชาชนได้สิ่งที่ดีที่สุด ขอรับรองว่า เมื่อตลาดท้ายบ้านเปิดให้บริการแล้วที่นี่จะเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญในจังหวัดสมุทรปราการ ดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างมหาศาล และยังเป็นความภาคภูมิใจของชาวปากน้ำ เป็นตลาดที่ดำเนินการอย่างมั่นคง สร้างความสุขใจ ให้คนไทยต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: