ชาวบ้าน โวย อบต.แห่งหนึ่ง นำสิ่งปฏิกูลทิ้งลงบึงน้ำหมู่บ้าน จนปลาตายยกบึง ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วหมู่บ้าน ในวันนี้ชาวบ้านได้รวมตัวไปขอความช่วยเหลือจาก นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก่อนจะเดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับ นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ที่สำนักงานของ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีชาวบ้าน หมู่บ้านจามจุรี หมู่ 14 และ 15 ตำบลราชเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้รวมตัว ประมาณ 40 คน เข้ามามอบหนังสือร้องเรียน กรณี อบต.ราชาเทวะนำสิ่งปฏิกูลที่มาจากการลอกท่อระบายน้ำในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม มาทิ้งในบึงน้ำภายในหมู่บ้านทำให้ปลาตาย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งกลิ่นเหม็นเน่าทั่วบริเวณใกล้เคียงบึงน้ำ หลังรับเรื่อง นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ได้นำชาวบ้านเดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนกับ นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง โครอตายยกฝูง โรคปากเท้าเปื่อยระบาดหนักขยายวงกว้าง
- พะเยา ตร.รวบหนุ่มหัวขโมย สร้างวีรกรรม 7 คดี 2 อำเภอให้ร้อยเวรทุกนายทำแผนพร้อมกันวุ่นทั้งโรงพัก
- สืบชัยภูมิเร่งปูพรมขยายผลจับแก๊งขนยาบ้าฝ่าจุดสกัด ตร.หลบหนียึดยาบ้าได้อีกลอตใหญ่รวมกว่า 3.5 แสนเม็ด!
- ด่วน เกิดเหตุเพลิงไหม้ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์กลางชุมชนเมืองพังงา ระดมรถดับเพลิงเร่งควบคุมเพลิงหวั่นลุกลามร้านค้าข้างเคียง
นางนิรมล ศิริสมบัติ อายุ 61 ปี ลูกบ้านท่านหนึ่ง กล่าวว่า เรียนท่านผู้ว่าราชจังหวัดสมุทรปราการ ชุมชนจามจุรีมีความเดือนร้อน เราเคยอยู่กันอย่างสงบสุข มีระบบนิเวศสวยงาม อากาศดี แต่ตอนนี้ ทาง อบต.ราชาเทวะ ได้นำสิ่งปฏิกูลจากการขุดลอกคลองมาทิ้งในบึง ซึ่งทำให้ปลาในบึงตายทั้งหมด และก็ส่งกลิ่นเหม็นทั่วหมู่บ้าน เราก็ได้ประสานไปที่ อบต.ราชาเทวะ แล้ว แต่ทาง อบต. ก็ยังนิ่งเฉย ทั้ง ๆ ที่ทาง อบต. ได้รับปากแล้วว่าจะไม่ทิ้ง แต่สุดท้ายก็ทิ้ง จนชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน แล้วทาง อบต.ราชาเทวะ โดยนายก ได้บอกกับเราว่า ผู้ที่จะอนุญาตหรือไม่คือท่านผู้ว่าราชการจังหวัด หลังจากนั้นทาง อบต.ราชาเทวะ ก็นำสิ่งปฏิกูลมาทิ้ง พวกเราก็เลยสงสัยว่าทาง อบต.ราชาเทวะ ได้มาขออนุญาตท่านผู้ว่าหรืออย่างไรเขาถึงนำมาทิ้งบึงสาธารณะของหมู่บ้าน เดิมแล้วที่ดินตรงนั้นเป็นของบริษัทหนึ่งซึ่งเป็นผู้จัดสรร ก่อนจะมีการโอนเป็นที่สาธารณะ แต่ว่าเมื่อไปตรวจสอบที่กรมที่ดินแล้วเป็นการโอนโดยมิชอบ ซึ่งผู้จัดสรร ไม่ทำการโอนโดยกฎหมายของ ปง 286 ที่จะต้องมาถามความคิดเห็นของผู้ที่อยู่อาศัย ผู้ได้รับผลกระทบ ก่อน คือเขาทำการโอนโดยมิชอบ ตอนนี้ทางหมู่บ้านได้ทำหนังสือไปที่สำนักงานที่ดินบางพลีแล้ว เพื่อให้สำนักงานที่ดินเพิกถอนการโอนในครั้งนั้น เมื่อปี 2561 ถือว่าเป็นการโอนโดยมิชอบ
นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชาชนมาร้องทุกข์กับตนแล้วตนพามาพบท่านผู้ว่า เพราะว่า ท่านเป็นผู้บัญชาการในจังหวัด เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการสั่งการว่าที่ตรงนี้ เขาโอนให้กับ อบต.ราชาเทวะ จึงทำให้อำนาจในที่ดินตรงนี้เป็นของ อบต.ราชาเทวะ ดังนั้นถ้า อบต.ราชาเทวะ เอาขยะเอาสิ่งปฏิกูลมาเท ในที่ของเขาเอง แต่ความเดือดร้อนมันส่งผลกระทบกับชาวบ้าน ที่นี้ตนก็เห็นว่าไม่ถึงขนาดจะต้องไปดำเนินคดีถ้าพูดคุยกันรู้เรื่อง เอาความเป็นมิตร แล้วเจรจากันไว้ ว่าอย่ามาทิ้งอีก เพราะชาวบ้านเขาเดือดร้อน ปลาที่มาลงในบ่อสาธารณะนี้ ก็เป็นปลาที่กรมประมงนำมาปล่อยให้เมื่อปีที่แล้ว และชาวบ้านก็ใช้เป็นที่ออกกำลังกายด้วย ถือว่าเป็นกิจกรรมร่วมของคนในชุมชน เขาก็อยู่กันอย่างนั้นก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร อยู่กันอย่างมีความสุข ทีนี้เมื่อ อบต.นำสิ่งปฏิกูลมาทิ้งที่บึง ก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ไม่ว่าจะสิ่งแวดล้อมทุกอย่างเสียหายหมด ซึ่งในหมู่บ้านมีบ้านอยู่ประมาณ 700 กว่าหลังคาเรือน ฉะนั้นวันนี้ก็เลยมาขอความกรุณาจากท่านผู้ว่า ให้การสั่งการไปทางท่านนายก อบต.ราชาเทวะ ว่าอย่าเอาไปทิ้งตรงนั้นอีกเลย เพราะชาวบ้านเดือดร้อน จริงเรื่องการทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหายก็ผิดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ขออาศัยบารมีท่านผู้ว่า ที่ท่านเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในจังหวัดสมุทรปราการ ให้สั่งการหรือขอความร่วมมือกับท่านนายก อบต.ราชาเทวะ ชาวบ้านเขาไม่อยากที่จะมีคดีอะไรกับใครหลอก เขาถึงมาหาตนให้ช่วย
นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า อย่างแรก ก็คือ เมื่อได้รับหนังสือ เราก็จะสั่งให้หยุดดำเนินการเป็นอย่างแรก แล้วก็รื้อถอน ตอนนี้ประเด็นก็คือว่าตรงนี้เป็นที่สาธารณะ เป็นพื้นที่ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องของประชาชนฝ่ายเดียว เป็นเรื่องของทางราชการแล้ว ตอนนี้ คือ สั่งให้หยุด แล้วก็สั่งให้รื้อถอน มันเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอยู่แล้วก็คือทำเป็นหนังสือ ส่วนตัวเดียวก็ยกหูคุยได้ แต่ในกรณีที่ยกหูคุย มีอยู่ 2 ประเด็น คือ เขาเชื่อฟัง กับไม่เชื่อฟัง เพราะฉะนั้นตนต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ตนต้องแจ้ง ยังไงตนก็ต้องแจ้ง แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วก็ตามกระบวนการเหมือนเดิม อันแรกก็คือหยุดดำเนินการ อันที่สองก็คือจะต้องให้รื้อถอน ภายใน 15 วัน จะมีการแจ้งเตือนอีกหนึ่งครั้ง เพราะความผิดมันสำเร็จแล้ว ถ้ารื้อถอนแล้วไม่เป็นที่พอใจ ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการเหมือนเดิม ถ้าเขาไม่ยอมทำ อำเภอซึ่งมีหน้าที่ดูแลที่สาธารณะ ตาม พรบ.ที่สาธารณะ เขาก็จะโดน มาตรา 157 คือถึงแม้ชาวบ้านจะไม่เอาเรื่อง แต่ว่าอำเภอทำให้จบกระบวนการไม่ได้ อำเภอก็ต้องโดน มาตรา 157 คือละเว้นในการปกป้องดูแลที่สาธารณะ เพราะฉะนั้นพอเป็นเรื่องแล้วมันจะต้องไปให้สุด ถ้ารื้อถอนแล้วเป็นที่น่าพอใจของชาวบ้าน ก็จบ กฎหมายก็ไม่ต้องไปถึงการที่จะแจ้งความดำเนินคดี ขั้นตอนเป็นแบบนี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: