เกิดเหตุล้อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองได้หลุดจากขบวนขณะกำลังวิ่ง ก่อนจะหล่นลงมาใส่หน้ารถแท็กซี่ ที่ขับผ่านทางมาพอดี เคราะห์ดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ ต่อมา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้เดินทางลงพื้นที่เกิดเหตุเพื่อตรวจสอบ พร้อมพูดคุยกับโชเฟอร์รถแท็กซี่ และจะเรียกประชุมผู้ประกอบการในวันพรุ่งนี้
เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 2 มกราคม 2567 ร.ต.ท.ธิติวัฒน์ เกิดแก้ว รองสารวัตรสอบสวน สภ.สำโรงเหนือ สมุทรปราการ ได้รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (สำโรง-ลาดพร้าว) หลุดหล่นลงมาใส่รถแท็กซี่ บนถนนเทพารักษ์ หลักกิโลเมตรที่ 3 ก่อนถึงสถานีศรีเทพาประมาณ 100 เมตร ตำบลเทพรักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ หลังรับแจ้งจึงรายงาน พ.ต.อ.วิโรจน์ ตัดโส ผกก.สภ.สำโรงเหนือ พร้อมประสานเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินทางตรวจสอบ
ข่าวน่าสนใจ:
- รถจักรยานยนต์ตกหลุมกลางถนนยางหน้าระเบิดจนพลิกคว่ำบาดเจ็บ 2 ราย กู้ภัย เผย จุดดังกล่าวมีมอไซค์ล้มหลายครั้งแล้ว
- 'ออมสิน'โอนแล้ว 9,000 บาท 12,189 ครัวเรือน 109,701,000 บาท
- ตรัง ผู้ว่าฯ ตรังจับมือปุ้มปุ้ยมอบถังขยะการ์ตูนสุดคิวท์ 14 ร.ร.หวังปลูกจิตสำนึกรักษ์โลก
- ทีม “นายกบุ่นเล้ง” เบอร์ 1 ขยับก่อน ยกพลหาเสียงเกาะสุกร เช็คอินถนนสีรุ้ง ดันนโยบาย เปิดมิติใหม่ อบจ.ตรังหนุนท่องเที่ยว…
ในที่เกิดเหตุริมฟุตบาท พบล้อรถไฟฟ้า องอยู่บนพื้นถนน จำนวน 1 ล้อ ที่บริเวณกลางถนน พบลูกปืนของล้อรถไฟฟ้า กระจายเกลื่อนพื้นถนน ห่างออกไปไม่ไกล พบรถแท็กซี่ ยี่ห้อ โตโยต้า อัลติส สีเหลือง-เขียว ทะเบียนป้ายเหลือง 1 มข 7631 กรุงเทพมหานคร จอดอยู่ สภาพบริเวณด้านหน้าฝั่งขวายุบ ไฟหน้าขวาแตก เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงทำการปิดกั้นการจราจร 1 ช่องทางซ้าย ส่วนรถไฟฟ้าที่ล้อหลุดได้วิ่งไปที่สถานีต้นทางแล้ว เบื้องต้นจากการตรวจสอบไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด
หลังเกิดเหตุ พบว่ามีเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่อยู่ใกล้สถานีศรีเทพา รีบลงมาดูที่เกิดเหตุพร้อมเข้าพูดคุยเบื้องต้นกับทางด้าน นายวิรัตน์ คุ้มทรัพย์ อายุ 73 ปี คนขับรถแท็กซี่คันดังกล่าว ส่วนสาเหตุคงต้องรอให้ทางผู้เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงและแถลงในเรื่องนี้อีกครั้ง
นายวิรัตน์ คุ้มทรัพย์ อายุ 73 ปี โชเฟอร์รถแท็กซี่ เล่านาทีระทึกว่า ตนเองขับมาจากสำโรงมุ่งหน้าบางพลีตามปกติ มาในเลนขวามีผู้โดยสาร 1 คน มาถึงจุดเกิดเหตุล้อรถไฟฟ้าหล่นมาโดนตรงฝากระโปรงด้านขวาจนเสียหาย แต่โชคดีตนเองและผู้โดยสารไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด
ต่อมา เมื่อเวลา 20.30 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้เดินทางลงพื้นที่จุดเกิดเหตุ พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ รฟม. และ นายวิรัตน์ คุ้มทรัพย์ อายุ 73 ปี โชเฟอร์รถแท็กซี่ที่ประสบเหตุ ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานได้ทำการเก็บหลักฐาน และถ่ายภาพ ในที่เกิดเหตุ
โดยก่อนกลับ นายสุริยะ ยังได้สอบถามพูดคุยกับ นายวิรัตน์ คุ้มทรัพย์ อายุ 73 ปี โชเฟอร์รถแท็กซี่ที่ประสบเหตุ ด้วยความเป็นห่วง พร้อมมอบเงิน จำนวน 5,000 บาท ให้เป็นค่าเสียเวลา พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลค่าเสียหาย และ ซ่อมแซมรถที่เสียหาย
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สาเหตุที่ยางล้อรถไฟฟ้าหลุดแล้วหล่นลงมา ในขณะนี้ทางผู้ว่า รฟม. ก็สันนิฐานน่าจะเกิดจากตัวลูกปืนแตกซึ่งตรงนี้เองก็เป็นการสันนิฐานเบื้องต้น ที่ตนกับรัฐมนตรีสุรพงษ์ มาเนื่องตนรู้สึกมีความเป็นห่วงใยในเรื่องของความปลอดภัยของประชาชนโดยเฉพาะในช่วงหลังเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้หลายครั้ง สิ่งที่ทางตนคิดว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนพรุ่งนี้ตนจะเรียกผู้ประกอบให้ทำรีเซดเข้ามาชี้แจง แล้วก็ ตนถามผู้ว่า รฟม. ว่า กรณีที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้มีบทลงโทษอะไรกับผู้สัมปทานเดินรถบีทีเอสบ้าง ก็ปรากฏว่า สามารถให้เฉพาะเรื่องของให้หยุดเดินเท่านั้น แต่บทบาทในสัญญาบอกว่าไม่มี เพราะฉะนั้นเลยกำลังมองว่าถ้าเป็นลักษณะนั้นก็คงเป็นเรื่องที่ตนเคยให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่า เราจะมีสมุดพกที่เอาไว้ดูผลประกอบการของบริษัทเดินรถหรือบีทีเอส ในงวดหน้าถ้ามีสกอร์ไม่ดี การประมูลในงานต่อ ๆ ไปที่บีทีเอสเกี่ยวข้องนี้เราก็อาจจะตัดสิทธิ์ในการประมูล นั้นคือสิ่งที่ตนเชื่อในมาตรการที่ใช้แล้วน่าจะทำให้ผู้ประกอบการตื่นตัวมากกว่าเดิม ประเด็นสำคัญ ตนคิดว่าในขณะนี้เรื่องของการบำรุงรักษามันน่าจะหย่อนยานถ้ามีการบำรุงรักษา เขาเรียก พรีเวนทีฟ เมนเทนแนนซ์ (Preventive Maintenance) ตัวเนี่ย น่าจะค่อนข้างหย่อนยาน มันคงไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมา ในกรณีปีใหม่ที่ว่ารางรถตกลงมา มันเป็นเรื่องที่เกิดอุบัติเหตุลักษณะนั้น เป็นเหตุการณ์ซึ่งมันเกิดขึ้นแต่ก็ยังไม่รุนแรงเหมือนเคสนี้ เนื่องจากเคสนี้มันเป็นรถที่วิ่งอยู่ตามปกติอยู่แล้ว แล้วมันตกลงมา ตนคิดว่าการจะแสดงความมันใจให้กับประชาชนในเรื่องนี้ ตนคิดว่าในพรุ่งนี้จะรีบเรียกผู้ประกอบการเข้ามาแล้วก็หาสาเหตุที่แท้จริง แล้วก็จะต้องมีมาตรการอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เคสรถไฟสายสีเหลือก็เป็นเคสคลละแบบกับเคสรถไฟสายสีชมพู แต่ว่าเคสนี้ก็น่าเป็นห่วง ก็เดี๋ยวพรุ้งนี้เหมือนที่ท่านว่าการกล่าวต้องเชิญผู้ประกอบการ อันนี้ตนมองว่าเป็นที่ระบบ รถไฟสายสีเหลืองเป็นแบบรถไฟโมโนเรล ล้อจะอยู่ข้างนอก เดี๋ยวคมนาคมเราก็ต้องมาดูว่าระบบนี้ ถ้ามันเกิดลักษณะนี้ มันต้องเอาเป็นเคสสตาสดี้ แล้วมาดูทั่ว ๆ ไป อันนึงตนคิดว่าเดี๋ยวต้องดูเช็คลิสต์ เรื่องแผนพีเอ็มเรื่องอะไร เดี๋ยวเราคงต้องใช้ของตัวสัญญากับตัวกติกา พรบ. หลาย ๆ อัน มาช่วยกันดูว่า เหตุป้องกันในเชิงรุก มันจะต้องเป็นยังไง วันนี้ ตนคิดอย่างเดียวว่าคงต้องป้องกันในเชิงรุกไม่ให้เกิดซ้ำ แต่อันนี้ก็ต้องหาสาเหตุให้ได้ อันที่แน่ ๆ ต้องมีคำตอบที่ชัดเจน เพราะรถมันวิ่งอยู่ทุกวัน แต่ว่าคนอยู่ข้างล่างแล้วเจอเหตุการณ์แบบนี้ มันก็เป็นที่วิตกกังวล เพราะฉะนั้นกระทรวงคมนาคม โดยท่านว่าการให้ตนกำกับดูแล ก็ต้องหาสาเหตุ และป้องกันเชิงรุกให้ได้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เหตุการณ์เกิดซ้ำขึ้นอีก สาเหตุวันนี้สันนิฐานว่าตัวแบริ่งมันแตก พอแบริ่งแตก มันทำให้มันเกิดการสลัดแล้วหลุดออกมา ซึ่งมันไม่ควรจะเกิด ที่นี้เดี๋ยวคงต้องหาดูว่ามันเกิดอะไร มันมีระบบเรคคอร์ด ของเซนเซอร์ต่าง ๆ ว่ามันทำงานครบไม เดี๋ยวของตรวจสอบแล้วจะรายงานผลให้ทราบ ปกติแผนพีเอ็ม แต่ละอันจะมีชั่วโมงการใช้งาน อันนี้ครบกี่พันชั่วโมง กี่ร้อยชั่วโมง ต้องเช็คเล็กเช็คใหญ่หรือเปลี่ยน มันจะมีคู่มือของเขาอยู่แล้ววันนี้เราต้องย้อนกลับไปดูว่าตามคู่มือหรือเปล่า หรือว่าสุดวิสัย หรือว่าทำตามคู่มือแล้วยังเกิดก็ต้องมาดูต้องหาให้ได้ เมื่อสักครู่ตนก็ได้เดินไปดูรถที่เสียหายแล้ว คือวันนี้โชคดีที่มันไม่มีคนบาดเจ็บเสียชีวิต ถ้าเกิดมีตรงนั้นมันน่าจะเป็นที่น่าวิตกกังวล น่าเสียใจมากกว่านี้ แต่อันนี้แค่ทรัพย์สินเสียหาย แต่จริงถ้าใบสัญญาของ รฟม. ผู้เดินรถต้องมีประกันภัย แบบ ออริส อยู่แล้ว คือ คุ้มครองทั้งหมด ทั้งผู้โดยสาร ทุกอย่างอยู่แล้ว อันนี้ตนไม่ได้ห่วง แต่ตนห่วงตรงทำยังไงไม่ให้เกิดอีก อันนี้คือเป่าหมายที่ต้องดู คืนนี้หลังจากหยุดรถ เดี๋ยวก็สั่งการปิดแล้วเช็คให้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จากที่ตนสอบถามทราบว่า เขามีขบวนรถอยู่ 40 ขบวน เพราะฉะนั้นหลังจากปิดออเช็ค เช็คร้อยที่ละขบวน แล้วก็ปล่อย แล้วก็รีริชตัวเองของกรมราง รฟม. ต้องไปรีริช พร้อมกับผู้ประกอบการ รีริช ปล่อยขบวน ต้องทำ เป็นออเช็ค เช็คร้อย วันนี้เราต้องเอาเชิงรุกอย่างนี้ก่อน หลังจากนี้จะมีการเอาผิดตามกระบวนการ 1.ต้องดูในข้อสัญญาว่ามีข้อผูกพันอะไรบ้าง 2.ความเสียหายโคฟเวอร์อะไรใครบ้าง 3.สาเหตุเกิดจากอะไร ไล่ไปทีละสเต็ป อันนี้พอตนไม่ได้ไปอ่านในข้อสัญญาไว้ตนไม่กล้าฟันธงอะไรขนาดนั้น แต่ว่าจะบังคับใช้สัญญาตามที่ได้ไซคอนแทคไว้เหมือนนั้นทุกประการ การที่จะพิจารณาการประมูลครั้งต่อไปอันดับแรกอย่างที่ท่าว่าการเรียนไว้ว่าไม่ใช่เฉพาะเคสนี้ เคสการก่อสร้างทางหลวง เคสของรถไฟ เคสของทุกเคส ถ้าผู้ประกอบการหรือผู้รับเหมา ทำให้การเกิดความประมาทเสียหาย หลายเคสเราก็จะมีมาตรการลดเกรดอยู่แล้ว ส่วนวันนี้สิ่งที่เราควรจะมาทบทวนคือระบบโมโนเรล รางเบา ที่มีล้ออยู่ข้างนอก กับอีกแบบที่มีล้ออยู่ในราง อันไหนเหมาะกับชุมชนแบบกรุงเทพมากกว่ากัน อันนี้ต้องเชิงวิเคราะห์เดี๋ยวต้องให้อธิบดีกรมรางกับทางรองผู้ว่า รฟม. เป็นดำเนินการตรงนี้ วันนี้ดับไฟก่อน เดี๋ยวค่อยหามือเพลิง ให้มันผ่านไปทีละสเต็ป
นายสุมิตร ศรีสันติธรรม ผอ.ใหญ่สายปฏิบัติการ รฟม. กล่าว่า รถไฟฟ้าสายสีเหลือ และ รถไฟฟ้าสีสีชมพู เป็นระบบโมโนเรล ล้อยาง มี 4 ตู้ วิ่งอยู่บนทางปูน เราเรียกว่าเป็นรถรางเดี่ยว จะมีล้อยางที่รับน้ำหนัก และ ล้อยางที่ใช้ไว้ประคอง จะต่างจาก บีทีเอส ที่วิ่งอยู่บนรางเหล็ก ส่วนการตรวจระยะนั้นปกติจะตรวจเดือนละครั้ง ส่วนรายละเอียดนั้นต้องไปดูว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ซึ่งตัวนี้ก็ใช้งานกันอยู่ในหลายประเทศ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: