สมุทรปราการ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยติดตามการบริหารจัดการขยะที่สมุทรปราการ พร้อมเดินเข้าเยี่ยมชมขบวนการและขั้นตอนการแปลงขยะมูลฝอย ให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงใช้ป้อนให้กับเครื่องจักรในการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบไร้มลพิษ
เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 12 กุมภาพัน 2561 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ เดินทางมาที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อติดตามการดำเนินงานในการบริหารจัดการขยะของจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้บรรยายสรุปข้อมูลการดำเนินการ ใช้เวลาในการบรรยายสรุปข้อมูลความคืบหน้าประมาณ 1 ชั่วโมง
หลังจากนั้นพลเอกอนุพงษ์และคณะ ได้เดินทางไปที่บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เพื่อติดตามกระบวนการการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการ มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ทำให้มีประชากรอพยพเข้ามาทำงานจำนวนมาก ในแต่ละวันจะมีขยะเกิดขึ้นประมาณ 2 พันตันต่อวัน
โดยมีแหล่งกำจัดขยะเพียง 1 แห่ง ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ ซึ่งขยะจะถูกนำมากำจัดที่บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส นั้นเป็นขบวนการนำขยะในพื้นที่ไปเป็นเชื้อเพลิงความร้อนในการผลิตกระแสไฟฟ้า และได้เข้าเยี่ยมชมขบวนการและขั้นตอนการแปลงขยะมูลฝอยให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงใช้ป้อนให้กับเครื่องจักรในการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบไร้มลพิษ
พลเอกอนุพงษ์ กล่าวว่า เนื่องจากปัญหาขยะมันเป็นปัญหาที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้อยู่หลายพื้นที่ด้วยกัน สิ่งหนึ่งในขณะนี้ทางผู้รับผิดชอบ อยากได้ความรู้มากที่สุดคือเรื่องของเทคโนโลยี่หรือขั้นตอนและขบวนการในการกำจัดขยะ ซึ่งมีหลายเทคโนโลยี ทางกระทรวงมหาดไทย ได้ไปดูมาหลายเทคโนโลยีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำ อาร์ดีเอฟ การฝังกลบ หรือแม้กระทั่งการเผาตรง แต่ละเทโนโลยีก็ยังมีปัญหาอยู่ ซึ่งพูดง่าย ๆ ว่า ไม่อยากให้ลงทุนไปโดยที่ท้องถิ่นลงทุนไปแล้ว และทำไม่ได้หรือเกิดปัญหา
ซึ่งทางจังหวัดสมุทรปราการ มีประสบการณ์ โดยเอกชนเป็นผู้ทำ ประสบการณ์ที่มีคือนำขยะไปเผาตรงและรองรับขยะทั้งจังหวัดเลย ในปริมาณมากในแต่ละวัน ด้วยการบริหารจัดการ ก็เลยมาดูการบริหารจัดการในเรื่องนี้ ที่มาในวันนี้คือมาดูเทคโนโลยี ที่สำคัญไม่ใช้เทคโนโลยีอย่างเดียว เพราะเราดูที่หนองแขมเราก็ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน แต่เรื่องของขบวนการ น่าจะมีความแตกต่างของการดำเนินการต่อขยะก่อนที่จะเข้าเผา อยากดูเทคโนโลยีตรงนี้ว่าเขาทำอย่างไร
ในส่วนที่แตกต่างคือการเตรียมการขยะซึ่งเรายังไม่เคยเห็นที่ไหน ว่าทำอย่างไรก็อยากดูก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งอันนี้เอกชนทำ เราก็อย่างรู้ว่าถ้าท้องถิ่นทำเองคลอสมันจะเป็นเท่าไหร่อย่างไรในเรื่องค่าใช่จ่าย มันต้องคิดถึงการลงทุนด้วยอยากรู้ว่ามันทำได้อย่างไร และนำไปเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มี อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ถือว่าเป็นความรู้ที่ทางกรมส่งเสริมท้องถิ่นจะได้ใช้เป็นข้อมูลที่จะให้คำแนะนำ หรือกำกับการดำเนินการของท้องถิ่นโดยทั่วไป เพราะท้องถิ่นทั่วประเทศ เขาเป็นนิติบุคคลเขาสามารถดำเนินการอย่างไรก็ได้ ตามที่ไม่ผิดกฎหมายเขาทำได้หมด เราไม่สามารถที่จะไปบอกเขาได้นอกจะให้คำแนะนำเขาเท่านั้น แต่เราก็มีอำนาจหน้าที่ ที่จะไปกำกับดูว่าการทำนั้นต้องไม่เกิดผลเสียหรือว่าได้ประโยชน์สูงสุดกับท้องถิ่น
แต่ว่าเท่าที่ดูอยู่ในขณะนี้การลงทุนรัฐคงจะไม่สามารถที่จะไปสร้างโรงกำจัดให้ได้ เพราะโรงงานขนาดนี้การลงทุนเกิน 4 พันล้านบาท ซึ่งรัฐบาลคงไม่สามารถทำให้ได้ นี่เพียงรับขยะจากจังหวัดเดียว ยังเผาไม่หมด รับวันละ 4 พันตันเผาได้เพียงวันละ 500 ตันเท่านั้น และยังมีขยะที่ต้องฝังกลบอีกส่วนหนึ่ง การลงทุนมันสูงมาก เพราะฉะนั้นท้องถิ่นเองไม่สามารถทำเองได้ น่าจะเป็นการร่วมทุนซะมากกว่า คือภาคเอกชนต้องมาร่วมทำเพราะรัฐเองไม่สามารถทำได้ ก็เลยมาดูเพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นๆ ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: