วัดใหม่บางปลากดเตรียมจัดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ ในวันที่ 13-16 เมษายน 2561 ซึ่งภายในงานได้จัดพิธีต่าง ๆ
วัดใหม่บางปลากด ต.ในคลองบางปลากด อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ เตรียมจัดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ประจำปี 2561 ซึ่งทางวัดใหม่บางปลากดได้กำหนดการจัดงานวันที่ 13-16 เมษายน 2561 ซึ่งภายในงานได้จัดพิธีทำบุญตักบาตร ก่อพระเจดีย์ทราย สรงน้ำพระ บังสุกุลอัฐิบรรพบุรุษ ถวายสังฆทานในส่วนวันที่ 16 เมษายน 2561 ตั้งแต่เวลา 07.00 น.ตั้งขบวนแห่หลวงพ่อมงคลนพคุณ หลวงปู่นาม ไปสรงน้ำพระในหมู่บ้านภูมิใจนิเวศน์และบริเวณโดยรอบ เวลา 15.00 น.เทศน์แจงรวมญาติ มาติกาบังสุกุล และเวลา 16.00 น.พิธีสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุ
ข่าวน่าสนใจ:
- เขาค้อผวา "ทริปน้ำไม่อาบ" นอภ.สั่งตั้งจุดตรวจ เกรงหลังเสร็จกิจกรรมภูทับเบิก แก๊งแว้นเตลิดเขาค้อ
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- “ไพเจน” ส่งจดหมายเปิดผนึกยุติลงชิงนายก อบจ.สงขลา
พระครูวิธานกิตติวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดใหม่บางปลากดกล่าวว่าสงกรานต์เป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของอินเดียต่อมาได้แพร่ขยายไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ได้แก่ ลาว เขมร พม่า จีน และไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนดัดแปลงให้ต่างไปจากเดิมบ้างทั้งการประกอบพิธีรูปแบบและพฤติกรรมในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มีประเพณีสงกรานต์มาตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ถือเอาวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ ประเทศไทยเรารับประเพณีขึ้นปีใหม่ ในวันที่ 13 เมษายนมาจากอินเดียฝ่ายเหนือช่วงเวลาดังกล่าวนี้ตรงกับการเปลี่ยนจากฤดูหนาวเป็นฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่าฤดูวสันต์ของอินเดียจัดเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่อากาศไม่หนาวจัดต้นไม้ผลิใบให้ความสดชื่นบังเอิญช่วงเวลานี้ตรงกับช่วงเวลาที่คนไทยเราในสมัยโบราณว่างจากการทำนาจึงเป็นการเหมาะสมสำหรับคนไทยที่จะฉลองปีใหม่ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
สำหรับกิจกรรมที่ดำเนินการในประเพณีสงกรานต์นั้นในช่วงเช้าประชาชนจะเดินทางเข้าวัดทำบุญตักบาตรเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและความเป็นสิริมงคลให้แก่ครอบครัว ก่อเจดีย์ทรายจะทำในวันใดวันหนึ่ง ของวันที่ 13-15 เมษายนก็ได้ ผู้ทำบุญจะช่วยกันขนทราย มาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่างๆ ในบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ให้ใช้ก่อสร้าง หรือถมพื้นที่ เป็นเรื่องที่ถือว่าได้บุญและสนุกสนาน การทำบุญอัฐิ เป็นเรื่องที่นิยมทำแบบนิมนต์พระชักบังสุกุลอัฐิของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ โดยนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หรือถ้าไม่มีอัฐิจะเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ เมื่อบังสุกุลแล้วจะเผากระดาษแผ่นนั้นเสียเหมือนเผาศพการทำบุญอัฐิจะทำในวันไหนก็ได้สุดแต่จะนัดหมายกันหรือบางท้องถิ่นอาจจัดรวมกันที่วัดก็ได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: