บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น จัดแถลงข่าวโครงการเซ้นทรัล วิลเลจ พร้อมออกมายืนยันการก่อสร้าง เซ็นทรัล วิลเลจ ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่รุกล้ำพื้นที่ใคร และพร้อมเปิดให้บริการ ในวันที่ 31 สินหาคม 2562 ที่จะถึงนี้
เมื่อเวลา 11.30 น.วันที่ 28 สิงหาคม 2562 ที่ห้องinformation center โครงการเซ็นทรัล วิลเลจ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น จัดงานแถลงข่าวความพร้อมโครงการเซ็นทรัลวิลเลจ ที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 31 สิงหาคม 2562 โดยมีนายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในการแถลงข่าว พร้อมยืนยันการก่อสร้างได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายไม่รุกที่ใคร วอนให้ ทอท.ถอนกำลังออกจากพื้นที่
ข่าวน่าสนใจ:
- ชมคลิป-เตรียมเที่ยวงาน 10 ชาติพันธุ์ ยิ่งใหญ่กว่าเดิมในรูปแบบใหม่ ชมขบวนแห่กลุ่มชาติพันธุ์อลังการ
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- ชวนชิม 'ศรีบุญเรือน' ร้านข้าวต้มต้นตำรับ สืบทอดสามรุ่น เสน่ห์ร้านข้าวต้มยามค่ำคืน ที่รวมอาหารจีน อาหารเหลา อาหารใต้ไว้ในร้านเดียว
- นครพนม : กองทัพบก ร่วมกับ Kubota มอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน มอบเสื้อกันหนาวให้ชาวนครพนม ตามโครงการ "คูโบต้า พลังใจ สู้ภัยหนาว" ปี 2567
นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวยืนยันว่า โครงการ เซ็นทรัล วิลเลจ จะเปิดให้บริการภายในวันที่ 31 สิงหาคม นี้อย่างแน่นอน ส่วนประเด็นที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ อาจจะสร้างความสับสนให้กับประชาชน บริษัทขอยืนยันว่า ได้ดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง และได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจรับผิดชอบโดยตรง และขอชี้แจงใน 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1: พื้นที่โครงการมีการเชื่อมทางเข้าออกอย่างถูกต้อง ไม่มีการรุกล้ำที่ดินของภาครัฐ (ที่ราชพัสดุ ลำรางสาธารณะ) และไม่ได้เป็นที่ดินตาบอด โดยที่ดินโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ ตั้งอยู่บนที่ดินที่ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของ ทอท. ซึ่งทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 เดิมเป็นที่ราชพัสดุ ต่อมากรมทางหลวงได้พัฒนาเป็นทางหลวงแผ่นดิน โดยได้ขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินแล้ว จึงมีสถานภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทำให้ไม่มีสถานะเป็นที่ราชพัสดุตามมาตรา 7 (2) พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 และเป็นพื้นที่คนละบริเวณกันกับที่ภาครัฐเวนคืนมาเพื่อสร้างสนามบินที่ ทอท. ดูแล
โครงการได้รับอนุญาตเชื่อมทางอย่างถูกต้องจากกรมทางหลวง ซึ่งเป็นผู้ซึ่งมีอำนาจเต็มในการอนุมัติการเชื่อมทางแต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ พื้นที่ทางหลวงหมายเลข 370 หมายรวมถึง เขตทาง และไหล่ทาง ซึ่งติดกับที่ดินของเอกชน 2 ข้างถนน ซึ่งที่ดินของโครงการมีแนวเขตแนบสนิทต่อเนื่องกับเขตทางของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 ดังนั้น ที่ดินของโครงการจึงไม่ใช่ที่ดินตาบอด ดังนั้นรายละเอียดในส่วนของการโต้แย้งสิทธิในที่ดินหน้าโครงการ ระหว่าง กรมทางหลวง ทอท. และกรมธนารักษ์ ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า ที่ดินนี้อยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 และมีป้ายเริ่มต้นและสิ้นสุดอย่างชัดเจน โดยทางหลวงแผ่นดิน 370 ซึ่งเคยเป็นที่ราชพัสดุ และมอบให้กรมทางหลวงสร้างและเป็นผู้ดูแล ซึ่งเป็นพื้นที่คนละส่วนกับพื้นที่ดินเวนคืนของสนามบินสุวรรณภูมิที่ ทอท ดูแล อีกทั้ง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 ถือเป็นทางหลวงสาธารณะ ที่ใช้เงินภาษีอากรของประชาชน ไม่ใช่ขององค์กรเอกชนใดที่จะมากล่าวอ้างเป็นเจ้าของได้
โดยในปี 2511-2513 ภาครัฐได้จัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างถนน ปี 2544 ครม. มีคำสั่งให้กรมทางหลวงสร้างทางเข้าออกด้านใต้ของสนามบิน ซึ่งคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 ปี 2550 กรมขนส่งทางอากาศทำบันทึกมอบพื้นที่ให้กรมทางหลวงดูแลรักษาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 ซึ่งประกาศใช้เป็นถนนสาธารณะและให้กรมทางหลวงรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว กรมทางหลวงจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและมีสิทธิอนุญาตในการให้ใช้ประโยชน์จากทางหลวงแผ่นดิน 370 ได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2554 โดยมีป้ายแสดงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดทาง ทำให้ชี้ได้ว่า สิทธินี้เป็นของกรมทางหลวง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้ประโยชน์เข้าออกได้ต่อเนื่องมาโดยตลอดแล้วจำนวน 88 ราย โดยแบ่งเป็น ผู้ที่ยื่นขออนุญาตเชื่อมทางกับกรมทางหลวงจำนวน 37 ราย
แม้กระทั่ง ทอท. เองก็ได้ขออนุญาตจากกรมทางหลวงในการใช้ประโยชน์ เช่น จากหลักฐานล่าสุดเมื่อ 14 พ.ค. 2562 ได้มีหนังสือจากกรมทางหลวงอนุญาตให้ ทอท. เดินท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินและบ่อพัก ทั้งนี้ ไม่มีผู้ใช้ประโยชน์รายใด เคยยื่นขออนุญาตเชื่อมทางจาก ทอท. เลย สำหรับพื้นที่อีกส่วนหนึ่งที่เกิดจากการจัดหาที่ดินตาม พ.ร.บ. เวนคืน เพื่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิในปี 2516 ได้มีประกาศ พ.ร.บ. เวนคืนที่ดินจำนวน 19,251 ไร่ เพื่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 เพื่อชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่ ทอท. กล่าวอ้างสิทธิการดูแลและครอบครองที่ดินไหล่ทางหน้าโครงการ ไม่น่าจะเป็นกล่าวอ้างที่ถูกต้องนัก เพราะ เป็นทางหลวงที่เปิดใช้เป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่ปี 2548 และกรมทางหลวงได้รับมอบจาก ทย. แล้วเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2550 โดยได้ขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแล้ว จึงมีสถานภาพเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้งล่าสุดเมื่อ 14 พ.ค. 2562
ประเด็นที่ 2: บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามกฎหมายผังเมืองอย่างเคร่งครัด โครงการนี้ได้ปฏิบัติตามกฎหมายผังเมืองและได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องในการก่อสร้างในพื้นที่สีเขียว บริเวณ ก 1-10 ไม่เกินร้อยละ 10 ของที่ดินพื้นที่สีเขียวบริเวณดังกล่าว โดยโครงการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายผังเมืองและไม่ได้มีการขอปรับผังเมืองแต่อย่างใด
ประเด็นที่ 3 คือ บริษัทได้ขออนุญาตก่อสร้างในบริเวณพื้นที่เขตปลอดภัยในการเดินอากาศ จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย อย่างถูกต้อง โครงการมีความปลอดภัยต่อการบิน ไม่ได้ละเมิดกฏใด ๆ ทั้งด้านความสูง และไม่มีกิจกรรมใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานสนามบิน หรือรบกวนการบินแต่อย่างใด โดยแบบมีความสูงที่ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จึงไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับการติดธงแดงตามที่มีการกล่าวอ้าง และเราจะปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดต่อไป
โดยหลังจากนี้คงต้องรอคำตัดสินของศาลปกครองว่าจะมีคำตัดสินอย่างไร โดยวันนี้ทางศาลปกครองได้นัดไต่สวน ทั้งนี้ทางบริษัทก็ได้มีการแจ้งความร้องทุกข์ไว้ที่สถานีตำรวจเรียบร้อยแล้วก่อนหน้านี้ แต่อย่างไรก็ดี ทางบริษัทก็ยินดีเจรจากับทุกฝ่ายเพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยหลังจากเปิดให้บริการคาดว่า จะมีการจ้างงานพนักงานร้านค้าที่เช่าพื้นที่ กว่า 1,000 คน และคาดว่า จะสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในประเทศกว่า 30,000 ล้านบาท
ขณะเดี่ยวกันที่ด้านหน้าโครงการก่อสร้างดังกล่าว เจ้าหน้าที่ ทอท.ได้มีการนำป้ายซึ่งเป็นเอกสารประชาสัมพันธุ์ของ กรมธนารักษ์ ฉบับที่ 13 / 2562 วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 ซึ่งมีข้อความว่า กรณีเอกชนรุกล้ำที่ราชพัสดุบริเวณถนนทางเข้าออก สนามบินสุวรรณภูมิ ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอประเด็นข่าวกรณีบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้ดำเนินการตรวจสอบพบว่า พที่บางส่วนของการก่อสร้างโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล วิลเลจ ของบริษัทเซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN มีการรุกล้ำเข้ามาในที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ และเป็นเขตพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ ทอท.ในฐานะหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ดังกล่าว ไม่สามารถอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างได้และขอให้บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ดำเนินการรื้อถอนและเคลื่นย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่ภายใน 15 วัน ปัจจุบันบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)ได้ดำเนินการถอยร่นออกจากบริเวณพื้นที่แล้ว กรมธนารักษ์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลแล้วปรากฏว่า พื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นที่ราชพัสดุ ซึ่งได้มาโดยกรมท่าอากาศยาน (กรมการบินพาณิชย์เดิม) จัดซื้อจากราษฎร์ด้วยเงินงบประมาณในช่วงปี 2511 – 2513 เพื่อใช้ในราชการของกรมท่าอากาศยาน ได้ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ จำนวน 26 ทะเบียนรวมเนื้อที่ประมาณ 184-13-26 ไร่ และอยู่ในความครอบครองของกรมท่าอากาศยาน ปัจจุบันใช้ประโยชน์เป็นทางเข้าออกของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งด้านทิศใต้เชื่อมต่อกับทางพิเศษบูรพาวิถี จากกรณีที่เป็นประเด็นข่าวว่า มีเอกชนรุกล้ำเข้ามาในที่ราชพัสดุนั้น กรมท่าอากาศยานในฐานะผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ จึงมีหน้าที่ดูแลและระวังรักษาแนวเขตที่ราชพัสดุตามกฎหมาย โดยจะต้องแจ้งให้เอกชนดำเนินการรื้อถอน ขนย้ายทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกจากที่ราชพัสดุตามกฎหมาย ดังนั้น กรณี ทอท. ในฐานะผู้ดูแลแทนกรมท่าอากาศยาน ได้ดำเนินการให้เอกชนรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ราชพัสดุบริเวณดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการที่เป็นไปตามกรอบอำนาจเจ้าหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนดไว้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุวรรณภูมิส่งฝ่ายกฎหมายแจ้งความดำเนินคดีสถานที่ก่อสร้างเซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่ เอาท์เล็ต ฐานบุกรุก
คืบหน้า สุวรรณภูมิแจ้งความบุกรุกโดยการวางท่อประปาในทางเท้า แต่ยังไม่มีการระบุคู่กรณี
สหภาพแรงงาน ทอท.ออกโรง ยันให้เซ็นทรัล วิลเลจ ชี้แจ้งหลายประเด็นให้ชัดเจน
ศาลปกครอง สั่ง ทอท. เปิดทางเข้าออก เซ็นทรัล วิลเลจ 31 ส.ค. เปิดห้างได้ตามปกติ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: