X

“บัณฑูร”ชู”น่านโมเดล” เปิดทางชาวบ้านรักษาป่า”อยู่พื้นที่อนุรักษ์”

“บัณฑูร ล่ำซำ” เสนอ”น่านโมเดล” ประสบความสำเร็จกู้วิกฤตป่าไม้ในจังหวัดน่าน ลดการตัดต้นไม้ แลกกับการอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างถูกกฎหมาย เสนอรัฐบาลใช้เป็นต้นแบบไปยังพื้นที่อื่น

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริการของธนาคารกสิรกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวในช่วง luncheon talk ในหัวข้อ “Nan Sandbox : วิกฤตสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย”

นายบัณฑูร กล่าวถึงที่มาของ “น่านโมเดล”ว่าที่ผ่านมา จ.น่าน เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำชั้นดีของไทย ซึ่งก่อให้เกิดน้ำ 40% ของมวลน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีกับการรุกป่า และการทำเกษตรเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพด ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียป่าต้นน้ำในน่านถึง 28%

นายบัณฑูร มองว่าการรุกป่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาเท่านั้น เนื่องจากรากเหง้าที่แท้จริงคือความล้มเหลวของระบบของประเทศ ซึ่งต้องทำให้ประชาชนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในเขตป่ามีรายได้จากช่องทางอื่น ๆ โดยไม่ต้องรุกป่า หรือปลูกข้าวโพด

แม้ว่าทางรัฐบาลไทยจะพยายามแก้ปัญหามาอย่างเนิ่นนาน และในระยะหลังมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น ลงโทษผู้ที่บุกรุกป่า แต่ก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เพราะชาวบ้านยังคงยากจนและต้องพึ่งพาการปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกข้าวโพดเพื่อนำไปทำอาหารสัตว์

นายบัณฑูร ได้เสนอแนวคิดแก่รัฐบาล เริ่มต้นจากการเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาที่จังหวัดน่านและร่วมรับประทานอาหารกลางวัน พร้อมเสนอแนวความคิด “น่านโมเดล” เพื่อกระตุ้นให้มีการรักษาป่า ปลูกป่าเพิ่มเติมในน่าน ซึ่งจะนำไปสู่การช่วยการช่วยเหลือประชาชนที่อาศัยอยู่ในป่าได้

“รัฐบาลใช้เวลา 1 ปีในการตัดสินใจ และได้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ที่มีนายกฯ เป็นประธานเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยใช้น่านโมเดล”

ทั้งนี้ นายบัณฑูร เองได้รับแต่งตั้งเป็นประธานร่วมในคณะกรรมการะดับปฏิบัติการ และได้ลงไปทำความเข้าใจกับชาวน่านในพื้นที่เป้าหมาย ที่จะมีการลดการตัดต้นไม้ เพื่อปล่อยให้ต้นไม้เติบโตต่อไป โดยเสนอว่าหากชาวบ้านไม่ตัดไม้ทำลายป่า พวกเขาจะได้สิทธิ์ในที่อยู่เดิม ซึ่งเป็นเขตป่าอนุรักษ์ และยังสามารถทำกินได้อีกด้วย ซึ่งอาจจะเป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านกลุ่มนี้จะสามารถอยู่ในพื้นที่ได้อย่างถูกกฎหมาย โดยชาวบ้านยอมรับข้อเสนอดังกล่าว

นายบัณฑูร กล่าวเพิ่มเติมว่าเป็นแผนการที่จะทำให้ชาวบ้านมีรายได้ดีเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องตัดไม้ ไม่ต้องปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะข้าวโพดต่อไป โดยนำเรื่องนี้มาหารือกับรัฐบาล ซึ่งจะทำเป็นตัวอย่าง

“หากโมเดล น่านประสบความสำเร็จจะมีการเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป และนำไปใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาป่าไม้ของไทย”

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน