เราจะพบ ต้นหางนกยูง ในแคมปัสมหาวิทยาลัยเนชั่น
หรือรอบ ๆ บ้านของ ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ [link] และ แพทย์หญิงเพชรินทร์ จิวะสันติการ
ทุกเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่ต้นหางนกยูงออกดอกบานสะพรั่ง
แล้ว พฤษภาคม ปีนี้ (2561)
ท่านก็ถ่ายภาพต้นไม้งามรอบอ่างตระพังดาว สนามกีฬา และอีกหลายมุม
แล้วอัพลงเฟสบุ๊ค พร้อมโพสต์ข้อความประกอบภาพว่า
“ดอกหางนกยูงเบ่งบาน เดินออกกำลังกายรอบแคมปัสเช้านี้
ต้องเถลไถลแวะชมความสวยงามที่ตื่นหูตื่นตาที่สุด
ในรอบสามสิบปีของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย
Can’t help making detour during our morning
walk to enjoy the full bloom of Royal poinciana on campus“
เมื่อ 8 พฤษภาคม 2561 คุณนิเวศน์ อินติ๊บ [link]
เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ได้แชร์ภาพนักศึกษา
ถ่ายกับต้นหางนกยูง และโพสต์ข้อความประกอบในกลุ่มของ ม.เนชั่น ว่า
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง แม่ค้าร้านดังถูกหลอก อ้างเป็นเลขานายกฯสั่งข้าวกล่องช่วยน้ำท่วมสูญเงิน 3 พัน
- DSI ร่วมบริจาคน้ำดื่มให้ท่านจุฬาราชมนตรี เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
“ต้นหางนงยุง ชูช่อ สวยงามอร่ามตา ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง
หางนกยูงฝรั่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Delonix regia (Bojer) Raf.
อยู่ ในวงศ์ถั่ว (Leguminosae) เช่นเดียวกับนนทรี ขี้เหล็ก ประดู่แดง ชงโค คูน กาหลง กัลปพฤกษ์ และก้ามปู
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา
ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2367 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรเลีย
ในประเทศไทยมีผู้นำเข้ามาปลูกเพื่อความสวยงาม
โดยปัจจุบันมีต้นหางนกยูงสองชนิด คือ หางนกยูงฝรั่ง และ หางนกยูงไทย
ที่เป็นไม้พุ่มและดอกสีสดใสหลากสี เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ต้นโตเต็มที่สูงราว 12 – 18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างทรงกลมคล้ายร่ม
แผ่กิ่งก้านออกคล้ายก้ามปู แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำต้นเกลี้ยง
เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมขาวถึงสีน้ำตาลเข้ม โคนต้นเป็นพูพอน
มักมีรากโผล่พ้นดินออกโดยรอบเมื่อโตเต็มที่
ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับ และมีใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน
ขนาดใบย่อยใกล้เคียงกับใบย่อยของมะขาม แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายกลมโคนเบี้ยว ผิวใบเกลี้ยง
เป็นพืชผลัดใบ ในประเทศไทยมักผลัดใบในฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน
ต้นหางนกยุงออกดอกดกและทิ้งใบทั้งต้น เหลือแต่ดอกบานสะพรั่งดูงดงามเป็นพิเศษ
ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ
และเกสรตัวผู้ยาวงอนออกมาเหนือกลีบดอก กลีบดอกหางนกยูงความจริงประกอบด้วยสี 2 สี
คือ สีแดง และสีเหลือง แต่ส่วนใหญ่จะมี 2 สีนี้อยู่ด้วยกันจึงเห็นเป็นสีแสด
ดอกใดที่สีเหลืองมากกว่าก็เป็นสีแสดออกเหลือง ดอกใดสีแดงมากกว่าก็เป็นสีแสดออกแดง
แต่ก็มีหางนกยูงบางต้นออกดอกสีแดงแท้ๆ และบางต้นออกดอกสีเหลืองบริสุทธิ์ซึ่งหาได้ยาก
โดยทั่วไปจึงพบแต่หางนกยูงฝรั่งสีแสด
ทั้งนี้ผลของหางนกยูงฝรั่งเป็นฝักแบนโค้งรูปดาบ และเมล็ดเรียงตามขวาง
การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดเป็นหลัก และสามารถใช้วิธีติดตา ต่อกิ่ง
เสียบยอด (ที่จะทำให้ไม่กลายพันธุ์) และขึ้นได้ดีในดินทั่วไป”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: