โครงการประตูระบายน้ำ กรงปินัง จ.ยะลา บรรเทาอุทกภัยและแก้ปัญหาน้ำแล้งในเขตเมืองยะลา
โครงการประตูระบายน้ำกรงปินัง ได้เริ่มต้นดำเนินการสำรวจตั้งแต่ปี 2560 สมัยนายดลเดช พัฒนรัตน์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา โดย กรมชลประทานได้ทำการศึกษาการพัฒนาลุ่มน้ำปัตตานี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 เพื่อบรรเทาปัญหาความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่โครงการช่วงฤดูฝนและในช่วงฤดูแล้ง จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ท้ายเขื่อนบางลาง แต่จากปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ก็ส่งผลกระทบแก่เกษตรในพื้นที่จังหวัดยะลาและตั้งแต่ปี 2558-2559 ภาวะขาดแคลนน้ำประปาในเขตชุมชนสร้างเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่ตลอดมา
การเปิดโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการประตูระบายน้ำ กรงปินัง จ.ยะลา จึงเกิดขึ้นเพื่อศึกษาความเหมาะสมและจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และจัดทำแผนปฎิบัติการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIMP )โดยการดำเนินการจากการมีส่วนร่วมของราษฎรที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่งานเป็นสำคัญ ซึ่งบ.พรี ดีเวลลอปเมนต์ ได้ทำการประชาพิจารณ์ จำนวน 2 ครั้งโดย มีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานปกครอง หน่วยงานความมั่นคง สถาบันการศึกษา อาทิ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา โดยเฉพาะตัวแทนจากตำบลต่างๆของอำเภอกรงปินัง ผู้สนใจ เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก
จากความคิดเห็นของพี่น้องราษฎรในพื้นที่มองเห็นว่าการสร้างประตูระบายน้ำกรงปินัง จ.ยะลา นั้นจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งกับพี่น้องทั้งในลุ่มน้ำปัตตานีและสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตจากการทำการเกษตรเป็นอย่างมาก และยังอยากทราบถึงการประชาสัมพันธ์ในการดำเนินโครงการฯ ในระยะต่างๆ ซึ่งทางบริษัทที่ปรึกษาการก็ได้รับปากในการดำเนินการจัดการประชุมชี้แจงแก่ราษฎร
ล่าสุด บ.พรี ดีเวลลอปเมนต์ ได้ส่งคุณ อุเทน เกตุแก้ว เข้าพบปะหารือและรายงานความคืบหน้าในการศึกษาสำรวจโครงการประตูระบายน้ำกรงปินังต่อ นายอมร ชุมช่วย นายอำเภอกรงปินัง พล.ต.อุทิศ อนันตนานนท์ ผบ.ฉก.ยะลา พร้อมฝ่ายปกครอง กำนันผู้ใหญ่บ้าน และ สจ.ในพื้นที่ โดย นายอำเภอกรงปินัง ได้กล่าวว่า การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ อ.กรงปินัง เป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะจะสามารถช่วยให้พื้นผลทางการเกษตรโดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งมีชื่อเสียงและสร้างรายได้แก่จังหวัดยะลาเป็นอย่างมากจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น พร้อมทั้งเป็นการบรรเทาภัยแล้งในหน้าแล้งและยังสามารถช่วยแหล่งเก็บกักน้ำ แก้มลิง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดน้ำปะปาในเขตเมืองของจังหวัดยะลาได้ อีกประการหนึ่ง พื้นที่ของโครงการประตูระบายน้ำกรงปินังจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของจังหวัดยะลาในการเป็นพื้นที่ท่องเที่ยงเชิงนิเวศและจัดกิจกรรมนันทนาการได้อีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: