ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการและแกนนำภาคเอกชนในพื้นที่ ลงเรือเดินทางเข้าสำรวจพื้นที่ทะเลสาบฮาลาบาลา บริเวณอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ซึ่งอยู่ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและอุตสาหกรรมบริการเพื่อสร้างโอกาสการท่องเที่ยวสู่ “เบตง 10,000 ล้าน” (อ่านรายละเอียดโครงการ กดที่นี่)
ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา บอกว่าในครั้งนี้ได้ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและผู้นำภาคเอกชนในพื้นที่ เช่น หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบางลาง รองนายกเทศมนตรีเมืองเบตง ปลัดอบต.อัยเยอร์เวง นายกสมาคมผู้ประกอบการโรงแรมเบตง นายกสมาคมพ่อค้าเมืองเบตง นายกสโมสรไลอ้อนเบตง ประธานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนบ้านบุญเต็ม เดินทางมาสำรวจพื้นที่จริง หลังจากได้พูดคุยกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วพบว่า พื้นที่จังหวัดยะลา มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวมากมาย ที่จะสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเบตง ที่จะกำลังจะมีสายการบินนกแอร์ ที่จะบินตรงจากดอนเมืองมายังเบตง ในเดือนมีนาคมนี้ ก็จะทำให้มีนักท่องเที่ยวจากนอกพื้นที่ เดินทางเข้าเบตง กันเป็นจำนวนมากแน่นอน
ข่าวน่าสนใจ:
- ลำปางแถลงจับยาบ้าล๊อตใหญ่ 6 ล้านเม็ด
- ตรัง เกษตรกรเลี้ยง 3 สัตว์เศรษฐกิจ ปูดำ-ปูหน้าขาว-กุ้งกุลา รายได้ดีมีตลาดรองรับ ปลดหนี้ 6 ล้านได้ในเวลาปีกว่า
- นครพนม : นักวิ่งกว่า 3,000 คน ร่วมการแข่งขัน ‘นครพนม-คำม่วน มาราธอน ซีซั่น 6’ เชื่อมสัมพันธ์สองฝั่งโขง ชมสวยที่สุดที่นครพนม
- 35 ปีแก่งเสือเต้น นักวิชาการยกย่องต้านเขื่อนขนาดใหญ่ด้วยสิทธิชุมชน
“ศักยภาพของอำเภอเบตง เป็นอำเภอใต้สุดของประเทศไทย มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง รวมถึงมีหมอกตลอดทั้งปี อำเภอเบตงเป็นเมืองการค้าชายแดนและเมืองท่องเที่ยวที่มีความสวยงามของทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศ เพื่อสร้างเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้โดดเด่นและเกิดความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องอาศัยสิ่งดึงดูดเชิงอัตลักษณ์ของเบตง ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว หรืออาหารพื้นถิ่น ที่เป็นอัตลักษณ์ ก็จะส่งผลทำให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวที่มีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น” ดร.ณพพงศ์ กล่าว
ดร.ณพพงศ์ ยังกล่าวอีกว่า ส่วนบริเวณทะเลสาบฮาลาบาลา ที่อำเภอธารโต นั้น ต้องยอมรับว่าพื้นที่นี้ มีศักยภาพเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสูงมาก เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่า ที่เชื่อว่าป่าฮาลาบาลา เป็นป่าที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และควรที่จะต้องดูแลรักษาเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ศักยภาพของพื้นที่ ที่มีสูงมากสำหรับการท่องเที่ยวนั้น จึงได้มีการพูดคุยกับภาคเอกชนในพื้นที่ ถึงแนวทางการเพื่อพัฒนาการรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่ให้ดีขึ้น ให้คนในพื้นที่ได้มีช่องทางการประกอบอาชีพ นำเสนอของดีของอร่อยและงานบริการในพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวได้ลิ้มลอง และให้เกิดรายได้กับคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง และให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความเป็นธรรมชาติ วิถีชีวิต ของพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ของบ้านเรา การพัฒนาเหล่านี้จะไปควบคู่กับการรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ร่วมกันอีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: