หลังจากที่มีฝนตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่จังหวัดยะลา ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ทั้ง 8 อำเภอของจังหวัดยะลา มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก ซึ่งทางหน่วยงานราชการต่างๆ ได้เข้าทำการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากในหลายพื้นที่มีน้ำท่วมสูง
ล่าสุดเช้าวันนี้ (29 พย) สภาพอากาศในช่วงเช้ายังคงมีฝนตกลงมาในพื้นที่บ้างเล็กน้อย จากการตรวจสอบพื้นที่ในหลายแห่ง โดยเฉพาะพื้นที่ ตำบลสะเตงนอก ตำบลสะเตง ตำบลท่าสาป ตำบลหน้าถ้ำ และในเขตเทศบาลนครยะลา ที่เป็นพื้นที่น้ำท่วมหนัก พบว่าในหลายพื้นที่ระดับน้ำยังทรงตัว และในบางพื้นที่น้ำเริ่มลดระดับลงบ้างเล็กน้อย ซึ่งคาดว่าหากไม่มีปริมาณน้ำฝนลงมาในพื้นที่เพิ่มมากกว่านี้ ก็มีแนวโน้มว่าน้ำน่าจะลดระดับลงภายใน 1-3 วันนี้
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ชาวบ้านร้องตรวจสอบทน.ตรังทำถนนรวดเดียว 65 สาย วิจารณ์หนักเปลืองงบประมาณ
- ธารน้ำใจป่อเต็กตึ๊ง,เมตตาธรรม-สงเคราะห์ผู้ประสบภัย14จังหวัด ซับน้ำตาผู้ประสบอุทกภัย
- เชียงราย ชวนเที่ยวป่าส้มแสง สัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิต ป่าชุ่มน้ำอัตลักษณ์หนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน
- หนุ่มขับคอกขนส่งจอดหลับยาว 3 วัน พบเป็นศพคามอเตอร์เวย์
สำหรับพื้นที่เศรษฐกิจในกลางเมืองยะลา บริเวณถนนพิพิธภักดี ตั้งแต่หน้าสถานีรถไฟ เช้าวันนี้ ระดับน้ำลดลงเล็กน้อย โดยชาวบ้านในพื้นที่ให้ข้อมูลว่า น้ำเริ่มลดลงตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนที่ผ่านมา จนถึงเช้านี้ ก็ลดลงไปประมาณ 10 ซม. แต่ภาพรวมก็ยังคงมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง
โดยมีข้อมูลว่าพื้นที่ในเขตเทศบาลนครยะลา ขณะนี้ถูกน้ำท่วมไปประมาณ 80 เปอร์เซนต์ มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนนับพันครัวเรือน ส่วนการช่วยเหลือก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากในหลายพื้นที่มีน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร แต่อย่างไรก็ตามทางหน่วยงานต่างๆ ได้เร่งเข้าให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน อย่างเร่งด่วนแล้ว
แต่ปัญหาหลักในการให้ความช่วยเหลือคือ การติดต่อสื่อสาร เนื่องจากในพื้นที่น้ำท่วม ทางไฟฟ้าได้ตัดไฟเพื่อความปลอดภัยมาเป็นวันที่สามแล้ว ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ติดต่อสื่อสารขอความช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากไม่สามารถชาร์จโทรศัพท์มือถือได้
ในขณะที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดยะลา ได้รายงาน สถานการณ์อุทกภัย และผลกระทบในพื้นที่จังหวัดยะลา ตั้งแต่วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567 มีพื้นที่ได้รับ ผลกระทบ จำนวน 8 อำเภอ 58 ตำบล 344 หมู่บ้าน 29 ชุมชน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 32,830 ครัวเรือน 131,685 คน เสียชีวิต 1 ราย อพยพ 1,446 ครัวเรือน 5,012 คน (ยะหา รามัน และเมืองยะลา) ถนน 158 สาย สะพาน 10 แห่ง และเสาไฟฟ้า 13 ต้น ส่วนแนวโน้มสถานการณ์ยังมีฝนตกต่อเนื่อง ระดับน้ำในแม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำปัตตานีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ทางการเกษตร
ทางด้านจังหวัดยะลา ได้สรุปเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) จังหวัดยะลา (ห้วงวันที่ 20 – 26 พฤศจิกายน 2567) จำนวน 3 อำเภอ 31 ตำบล 148 หมู่บ้าน 23 ชุมชน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 พ.ย. 67) อ.เมืองยะลา จำนวน 14 ตำบล 81 หมู่บ้าน 23 ชุมชน อำเภอรามัน จำนวน 15 ตำบล 64 หมู่บ้าน และ อ.บันนังสตา จำนวน 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: